โทรโข่งรัฐอุ้ม 'จุลพันธ์' 3 ทางเลือกแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท

นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

28 ต.ค.2566 - นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีกระแสโจมตี นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อันเนื่องมาจากนายจุลพันธ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ได้นำข้อสรุปจากการประชุมครั้งล่าสุดของคณะอนุกรรมการดังกล่าวออกมาเปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติออกมาว่าให้เสนอทางเลือกอื่น ๆ อีก 3 ทางเลือกในการแจกเงิน 10,000 บาท จากทางเลือกเดิมที่กำหนดให้แจกแบบถ้วนหน้าทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป จำนวนราวๆ 56 ล้านคน เป็นเงินที่ต้องใช้รวม 560,000 ล้านบาท นั้น

ขอชี้แจงว่า ทางเลือกที่เสนอมาใหม่ทั้ง 3 ข้อนั้น ไม่ใช่เป็นความเห็นหรือข้อเสนอส่วนตัวของนายจุลพันธ์แต่อย่างใด นายจุลพันธ์เพียงเป็นผู้รวบรวมมติจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อนำไปเสนอต่อบอร์ดใหญ่คือ คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เท่านั้น เหตุไฉนจึงมีคนจับประเด็นคลาดเคลื่อน แล้วพยายามปั่นกระแสเป็นทำนองว่า นายจุลพันธ์พยายามจะหาทางบิดพลิ้วไปจากนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทแบบถ้วนหน้าตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่าเมื่อทางเลือกทั้ง 3 ข้อถูกนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดใหญ่แล้ว ก็ยังไม่แน่ว่าที่ประชุมใหญ่จะเห็นด้วยกับทางเลือกข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ หรืออาจจะยังคงยืนยันในทางเลือกเดิมคือแจกแบบถ้วนหน้าตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป จำนวน 56 ล้านคน ใช้งบประมาณ 560,000 ล้านบาทก็เป็นได้ ดังนั้น จะต้องรอข้อสรุปจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ก่อน

“ในทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลนี้ยึดมั่นในแนวทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ด้วยการเปิดรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เห็นต่างอย่างรอบด้าน และพร้อมพิจารณาทางเลือกต่างๆ อย่างรอบคอบด้วยกลไกการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ได้มติสุดท้ายออกมาจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ก็ควรจะถือว่าเป็นข้อยุติ โดยรัฐบาลจะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่ออกมา” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว

ทั้งนี้ 3 ทางเลือกที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เสนอนั้น มีดังนี้

1. ให้เฉพาะกลุ่มที่เคยลงทะเบียนคนจน จำนวน 15-16 ล้านคน ต้องใช้งบประมาณราว 150,000-160,000 ล้านบาท

2. กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน จำนวน 43 ล้านคน ต้องใช้งบประมาณราว 430,000 ล้านบาท

3. กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน จำนวน 49 ล้านคน ต้องใช้งบประมาณราว 490,000 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกรัฐบาล เผยปี 2568 นายกฯอิ๊งค์ จะทำให้ประเทศไทยเจริญทุกตารางนิ้ว!

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจความคิดเห็นของนอร์ทกรุงเทพโพล มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ ในประเด็น “ท่านเห็นว่าบุคคลใดที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นนักการเมืองแห่งปี 2567 ” พบว่า ประชาชนชื่นชมและชื่นชอบ

เช็กที่นี่! ครม.ไฟเขียว 'ทางด่วนฟรี' ช่วงปีใหม่ รวม 8 วัน

นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคม กำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)

'เผ่าภูมิ' เผย 'แจกเงินหมื่น เฟส 2' เข้าครม. 24 ธ.ค.นี้ ทันไทม์ไลน์ก่อนตรุษจีนปีหน้า

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่มีวาระการแจกเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาทในระยะที่ 2  ที่จะแจกให้ผู้สูงอายุ 4 ล้านคน โดยคาดว่าจะเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ในวันที่ 24 ธ.ค.

เตือนคุกรออยู่! ระวัง 'บ้านเพื่อคนไทย' ซ้ำรอย 'บ้านเอื้ออาทร'

นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า ฟังนโยบาย “บ้านเพื่อคนไทย” นึกถึงนโยบาย “บ้านเอื้ออาทร” นโยบายดี แต่มีปั