แห้ว! สภาฯตีตกญัตติทำประชามติของพรรคก้าวไกล

25 ต.ค.2566 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล(ก.ก.) เป็นผู้เสนอ

เวลา 11.10 น. ที่ประชุมเปิดโอกาสให้สส.อภิปรายแสดงความเห็น โดยสส.ฝ่ายรัฐบาล อภิปรายเห็นด้วยให้ทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ แต่ต้องมีความรอบคอบในการทำประชามติ ควรรอความชัดเจนจากคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เป็นประธาน อีกทั้งการยกร่างใหม่ โดยไม่กำหนดกรอบใดๆ อาจเกิดการตีเช็กเปล่า แก้ไขหมวดที่เกี่ยวกับสถาบันได้ อาทิ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐมีจุดยืนชัดเจนจะไม่ร่วมแก้ไขหมวด1และ2 ขณะนี้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ควรให้เวลารัฐบาล และคณะกรรมการชุดนี้ทำงานก่อน ควบคู่กับการแก้ปัญหาปากท้องประชาชน เชื่อว่าในอนาคตเรื่องรัฐธรรมนูญจะถูกแก้ไขแน่นนอน

ขณะที่นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าววว่า มั่นใจคณะกรรมการศึกษาแนวทางประชามติที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา จะไม่ซื้อเวลาแก้รัฐธรรมนูญ คงใช้เวลาเกินปีใหม่ไปไม่มาก คณะกรรมการชุดนี้เปิดให้ทุกภาคส่วนมาศึกษาแนวทางทำประชามติ จะทำให้การแก้รัฐธรรมนูญมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด มั่นใจรัฐบาลนี้จะร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด จะทำรัฐธรรมนูญได้ดีกว่าปี 2540

ด้านสส.ก้าวไกลอภิปรายไปแนวทางเดียวกัน สนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.)ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อาทิ นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า อย่าไปสร้างจินตนาการสูงว่า เราจะไปแก้หมวด 1 และ 2 ที่น่าตกใจคือ การไม่เห็นด้วยกับการเลือก สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ไม่น่าเชื่อมาจากความคิดเห็นของคนเป็นสส. และการไม่เชื่อแนวทางของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ เราไม่เชื่อคนไม่มีสัจจะ เราผิดตรงไหน ไม่มีเหตุผลที่พรรคเพื่อไทยจะไม่สนับสนุนญัตตินี้ ทำให้กระบวนการทำประชามติล่าช้าไป ดูอย่างไรประชาชนก็ไม่สับสนกระบวนการทำประชามติ ถ้าประชาชนจะสับสนคือ ทำไมพอได้เป็นรัฐบาลจึงเปลี่ยนจุดยืน พูดกันตามตรงอย่างน้อยขอให้พรรคก้าวไกลได้เดินหน้าเรื่องนี้ และให้ฝ่ายรัฐบาลงดออกเสียง อย่าคว่ำในชั้นสภาฯเลย อย่างน้อยถ้าไม่ผ่านก็ให้ถูกคว่ำในวุฒิสภา เพื่อรักษาเกียรติที่หาเสียงมา

กระทั่งเวลา 15.30น. หลังจากสส.อภิปรายจนครบถ้วนแล้ว ที่ประชุมลงมติไม่เห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว ของพรรคก้าวไกล ด้วยคะแนน262 ต่อ 162 งดออกเสียง 6 เสียง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สว.พิสิษฐ์' เตรียมจัดเวทีชำแหละร่างแก้รธน. หั่นเสียงวุฒิสภา ขัดปชต.-การถ่วงดุล

นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256

'วราวุธ' ย้ำแก้รธน. ไม่แตะหมวด 1,2 ตั้ง ส.ส.ร. ต้องสะท้อนถึงสังคมปัจจุบัน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคยังยืนยันจุดเดิมคือ การได้มาซึ่ง ส.ส.ร. โดยเฉพาะหมวด 1 หมวด 2 ที่

รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?

ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา

'ธนกร' เห็นด้วยเลื่อนถกแก้รธน. ออกไป 1 เดือน แนะแก้ปัญหาประชาชนเป็นอันดับแรก

นายธนกร วังบุญคงชนะ  รองหัวหน้าพรรคและสส.บัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวว่า จากการประชุมของคณะกรรมการประสานงาน (วิป 3 ฝ่าย) มีมติให้เลื่อนการพิจารณา การประชุมร่วมรัฐสภา

'เพื่อไทย' ยื่นร่างแก้รัฐธรรมนูญ ประกบฉบับ 'พรรคประชาชน' 8 ม.ค.นี้

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่า ในวันที่ 8 ม.ค. พรรคเพื่อไทยจะยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ต่อรัฐสภา จะเสนอประกบไปกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256