'เพื่อไทย' ยันประชุมรื้อรัฐธรรมนูญจะวางกรอบประชามติ-รับฟังความเห็น

'ชนินทร์' เผยวงประชุม 25 ต.ค. วางกรอบการทำประชามติ-แนวทางรับฟังความเห็นประชาชนครอบคลุมทุกกลุ่ม จ่อหารือส่งหนังสือเชิญ 'ก้าวไกล' พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็น

25 ต.ค.2566 - นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กล่าวถึงความคืบหน้ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า พรรคเพื่อไทย (พท.) ยืนยันหลักการสำคัญคือเราจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในครั้งแรกก็ได้มีการมอบหมายให้มีการเดินหน้าเกี่ยวกับเรื่องการทำประชามติเพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง

นายชนินทร์ กล่าวว่า พรรค พท.ยืนอยู่บนความเป็นจริง เพราะเรามีบทเรียนมาแล้วจากการเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ก่อนหน้านี้มาแล้วหลายครั้งแต่สุดท้ายก็ไม่สามารถแก้ไขได้ จึงเชื่อมั่นว่าแนวทางการทำประชามติโดยพี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมนั้นจะเป็นหนทางที่รวดเร็วที่สุดและทำให้ไปถึงเป้าหมายในการสร้างประชาธิปไตยได้จริงมากที่สุด โดยคณะกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติฯ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ แล้ว 2 ชุด คือ 1.คณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ และ 2. คณะอนุกรรมการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ ได้มีการดำเนินการต่อเนื่องและมีความคืบหน้าต่อเนื่อง และในวันที่ 25 ต.ค. คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 2 ชุดจะมีการประชุมกัน โดยมีวาะสำคัญในการพิจารณากำหนดกรอบในการทำประชามติและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้ครอบคลุมที่สุด

นายชนินทร์ กล่าวต่อว่า โดยคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ จะมีการประชุมในเวลา 10.00 น. เพื่อหารือกันเกี่ยวกับกรอบการจัดการจัดทำประชามติ 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1.ศึกษาจำนวนครั้งในการจัดการออกเสียงประชามติ โดยอ้างอิงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และ 2.ศึกษากรอบระยะเวลาดำเนินการของรัฐบาลทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มทำประชามติครั้งแรก ไปจนถึงการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้ง พ.ร.ป.พรรคการเมือง และ พ.ร.ป. เลือกตั้ง เพื่อให้เมื่อได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว สามารถบังคับใช้ได้จริงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป สำหรับคณะอนุกรรมการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ จะมีการประชุมในเวลา 13.00 น. เพื่อกำหนดกรอบและแนวทางสำคัญๆ ในการรับฟังความคิดเห็นประชาชนกลุ่มต่างๆ ให้มากที่สุด โดยจะมีการหารือแนวทางและสรุปกรอบการรับฟังเสียงพี่น้องประชาชนกลุ่มต่างๆ ว่าจะมีการพูดคุยกับกลุ่มไหนบ้างและอย่างไร โดยอาจมีการกำหนดเวลาว่าแต่ละกลุ่มจะไปพูดคุยในช่วงไหน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่จะให้จบภายในสิ้นปี 2566 ซึ่งเบื้องต้น จำแนกกลุ่มต่างๆ ได้เป็น 3 กลุ่ม

“กลุ่มแรกคือกลุ่มสมาชิกรัฐสภา ทั้ง สส. สว. และคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ โดยคาดว่าจะมีการเสนอส่งหนังสือถึงหัวหน้าพรรคก้าวไกล เพื่อให้มีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างอนุกรรมการฯ กับพรรคก้าวไกล เนื่องจากพรรคก้าวไกล ได้ตัดสินใจไม่เข้าร่วมในคณะกรรมการประชามติ เราจึงเปิดแนวทางนี้ไว้เพื่อให้ได้ความคิดเห็นของพรรคก้าวไกลมาประกอบกับความคิดเห็นประชาชนกลุ่มต่างๆ ด้วย ต่อมาคือ กลุ่มนักศึกษา จะมีการกำหนดกรอบการพูดคุยว่าจะไปพูดคุยกับกลุ่มไหนและอย่างไร โดยจะมีการมอบหมายการประสานงานอย่างชัดเจน และกลุ่มของพี่น้องประชาชนทั่วไป จะประกอบไปด้วยภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ รวมไปถึงกลุ่ม iLaw (ไอลอว์) กลุ่มผู้สื่อข่าวและตัวแทนภาคธุรกิจ เป็นต้น”นายชนินทร์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กูรูอัจฉริยะฟันธงปมเรื่อง 'ต้นอ้อ' แค่สร้างคอนเทนต์

'อัจฉริยะ'โว รู้หมดใครเป็นอย่างไร หลัง 'ต้นอ้อ เป็นหนึ่ง' ถูกแฉแอบอ้าง 'รองเลขาฯนายกฯ' อัดเบื้องหลังสกปรกทุกคน อวยตัวเองทำงาน 15 ปี ไม่มีคดีฉ้อโกง บอกสมัยนี้การสร้างคอนเทนต์ ตีฟูกระแสจนเวอร์เกิน

'อนาคตไกล' ชี้ตัวแปรทำ 'ชาญ' ชนะเลือกตั้งนายกอบจ.ปทุมธานี

“อนาคตไกล” ชี้ตัวแปร ทำให้ชาญ ชนะการเลือกตั้ง นายกอบจ.ปทุมธานี แม้ ปปช.ชี้มูลและศาลประทับรับฟ้อง ก็ไม่ขาดคุณสมบัติสมัครนายกอบจ.

เหนื่อยแน่! เพื่อไทย รับต้องปรับยุทธศาสตร์ หลังผลโพลตามหลังก้าวไกล

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลนิด้าโพลเปิดผลโพลในไตรมาส 2 ที่ ปรากฏว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ พรรค

‘สรรเพชญ’ เบรก รบ.อย่าคิดขายชาติ ย้อน ‘พท.’ อย่าถ่มน้ำลายรดหน้าตัวเองซ้ำอีก

นายกรัฐมนตรีที่ได้รับสมญานามว่าเป็น เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ ที่มีความต้องการดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้สังคมเกิดความสงสัยเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือต้องการเอื้อผลประโยชน์ให้กับใครหรือไม่