‘ดร.กิตติ’ ตอบรับแล้ว เผยเบื้องหลังแจก 10,000 บาท ที่แท้”เศรษฐา”คนเคาะ หลังชงให้เลือกห้าพันกับหนึ่งหมื่น หนุนออกเป็นพรก.ไปเลย ถ้าติดล็อกข้อกฎหมาย
22 ต.ค.2566-ดร.กิตติ ลิ่มสกุล อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยและหนึ่งในคณะทำงานขับเคลื่อนโยบายพรรคเพื่อไทย ที่ร่วมคิดนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ตอนหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา ให้สัมภาษณ์ว่า ทางสำนักงานป.ป.ช.จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการ โดยให้มีบุคคลจากหลายฝ่ายมาร่วมเป็นอนุกรรมการ ทั้งที่เห็นเหมือนกันและเห็นแตกต่างกัน ในเรื่องดิจิทัลวอลเล็ตได้มาพูดคุยกันด้วยหลักวิชาการ และจะให้มีการใช้เทคโนโลยีแบบจำลองข้อมูลจริง เท่าที่ทราบสำนักงานป.ป.ช.จะเรียกหลายคนมาที่มีความรู้เรื่องนี้ แล้วก็ทำแพลตฟอร์มออกมาโดยมีข้อเสนอในเรื่องนี้ โดยจะมีการเปิดเผยข้อมูลข้อเสนอดังกล่าวต่อประชาชนด้วย เพื่อให้ประชาชนรับรู้-รับทราบเช่นข้อเสนอว่ารัฐบาลควรทำอย่างไร หรือการทำเรื่องนี้มีจุดดี จุดบอดอย่างไร ที่จะทำให้ประชาชน-นักวิชาการ-ชนชั้นกลาง รู้สึกคลายใจ
“อย่างผมที่เห็นด้วยกับดิจิทัลวอลเล็ตร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็ได้รับการติดต่อจากสำนักงานป.ป.ช. แต่ผมไม่ได้เป็นตัวแทนพรรค เพราะเขาไม่ได้เชิญมาในนามพรรค ตอนที่ป.ป.ช.ติดต่อมา ผมถามเขาไปว่า ผมยังเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ผมจะไปร่วมได้หรือ เขาบอกว่าอยากให้มา เพราะเข้ามาได้ แต่พรรคไม่ได้แต่งตั้งผมเข้าไป ก็ต้องขออนุญาต หากไม่มีใคร ผมก็จะไป แต่หากมีคนอื่น พรรคก็ส่งไปแทนได้ แต่ผมจะเข้าไปให้ข้อมูลทางวิชาการเท่านั้น”
ถามว่า หากรัฐบาลจะเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ตต่อไปจะมีปัญหาอะไรในอนาคตหรือไม่ เพราะองค์กรอิสระต่างๆ เช่น สำนักงานป.ป.ช.ก็จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาติดตามตรวจสอบ รวมถึงก็มีกลุ่มบุคคลต่างๆ ไปยื่นเรื่องให้องค์กรอิสระเช่นผู้ตรวจการแผ่นดินเข้ามาตรวจสอบ และมีอดีตป.ป.ช.บางคนก็บอกว่าอาจจะซ้ำรอยจำนำข้าว จนอาจมีคนโดนเอาผิดคดีอาญา นายกิตติ กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวของผม ในการทำดิจิทัลวอลเล็ต ที่เสนอให้แบ่งการโอนเงินเป็น 2-3 งวด ไม่ใช่โอนรอบเดียว 10,000 บาท หากทำตามที่เสนอดังกล่าว จะใช้งบประมาณหลักที่มาจากภาษีอากร ที่เป็นเงินแผ่นดิน ซึ่งก็คือเงินที่เก็บจากประชาชน ในรูปรายรับภาษีอากร และทำในรูปแบบของ Income Transfers หรือการโอนทางการคลังให้กับประชาชน ที่รัฐบาลต่างๆ ก็ทำอยู่แล้วเช่น การโอนเงินช่วยเหลือคนตาบอด -โอนให้กับประชาชนคนยากจน หรือการทำโครงการต่างๆ ก่อนหน้านี้เช่น คนละครึ่ง ดังนั้น ยืนยันว่าทำได้ ไม่ได้มีปัญหาอะไร ไม่ได้ทำผิดรัฐธรรมนูญ
นายกิตติ กล่าวว่า หากจำเป็นต้องใช้งบประมาณมาก ก็ใช้ตามช่องทางมาตรา 28 แห่งพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 แต่ไม่ต้องใช้ทันที ตั้งเรื่องให้รัฐบาลเป็นผู้ให้คนสุดท้าย ทำไว้เป็นปีก็ได้แล้วค่อยมาแลกเป็นเงินสด การหมุนเงินจากรายรับภาษีอากรมันทำได้ และไม่เป็นหนี้สาธารณะเพราะเป็นการนำภาษีมาแล้วก็หมุนเข้าหมุนออก แต่ระหว่างดำเนินการอาจต้องมีการยืมบ้างหากเกิดภาวะติดขัด แต่ก็ตั้งบัญชีไว้เฉยๆ แล้วก็ยืมมาเล็กน้อย พอถึงรอบที่เงินจากการจัดเก็บภาษีเข้ามาก็คืนไป เป็นเรื่องของการบริหารเงินสด Cash flow จึงไม่ถือเป็นหนี้สาธารณะ
การที่บางฝ่ายออกมาค้าน คงเพราะเขาเป็นห่วง ที่ก็รับได้ แต่ขอให้ดูข้อเท็จจริง ว่าหลักปรัชญาของดิจิทัลวอลเล็ต มันคือการกระตุ้นเศรษฐกิจ มันไม่ใช่การอยู่ดีๆ เอาเงินทุ่มลงไป เรื่องนี้เป็นนโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภามาแล้ว รัฐบาลก็ดำเนินการตามที่แถลงต่อรัฐสภา โดยหากรัฐบาลเขาเชื่อผม คือให้ใช้เงินจากภาษีอากร แล้วให้ทยอยโอนให้ประชาชนเป็นงวดๆ มีเท่าไหร่ใช้เท่านั้น เหมือนกับตอนรัฐบาลชุดที่แล้วทำหกครั้ง (โครงการคนละครึ่ง) แต่ดิจิทัลวอลเล็ต ให้ทำสามครั้ง ก็จะไม่มีปัญหา เพียงแต่ต้องใช้เงินจากรายรับภาษีอากร และรายรับรัฐบาลอื่นๆที่ไม่ผิดกฎหมาย
หากสุดท้าย ถ้าดิจิทัลวอลเล็ต ทำไม่ได้ด้วยติดขัดข้อกฎหมาย ก็อาจต้องมาพิจารณาว่า จะสามารถออกเป็นพระราชกำหนดได้หรือไม่ เพราะตามกฎหมายการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฯ การที่ดิจิทัลวอลเล็ตให้ใช้ โทเคนดิจิทัล หรือสิทธิที่เหมือนกับเป็นคูปอง เช่นผมไปที่ห้างสรรพสินค้า ห้างเขาออกคูปองให้ผม ผมก็นำคูปองไปแลกเป็นของ แต่ต้องตีความว่า เมื่อผมรับคูปองมาแล้วผมนำไปซื้ออย่างอื่นต่อไป การที่มันหมุนไปหมุนมา มันทำได้แค่ไหนอย่างไร หากทำได้ หรือทำไม่ได้อย่างไร ให้ตีความออกมา เลยทำให้สำนักงานป.ป.ช.เขาจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่ามันได้หรือไม่ได้ หากมันไม่ได้ก็ต้องเป็นพระราชกำหนด เหมือนที่สมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์เคยออกเป็นพระราชกำหนด จากนั้นก็เอาพรก.เข้าสภาฯ ออกมาเป็นพรบ.ต่อไป ซึ่งถ้ามันจะไปจบแบบนั้นก็เอา ก็เป็นเรื่องที่ดีหากป.ป.ช.จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาติดตามเรื่องนี้แล้วก็มาคุยกัน
โดยหากป.ป.ช.ตั้งคณะทำงานขึ้นมาได้ หลังจากนั้นก็เสนอให้สำนักงานป.ป.ช.เปิดเวที ให้ประชาชนเข้ามาร่วมเสนอความเห็นเรื่องดิจิทัลวอลเล็ต แต่ไม่ใช่ให้คนมาตีกัน แต่ให้มาแสดงความเห็นกันว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยโดยคุยกันด้วยเหตุผล พูดด้วยหลักวิชาการ เพราะเศรษฐกิจประเทศไทยตอนนี้ยังไม่ได้คลายตัว ยังเติบโตไม่ค่อยดี ยัง growth แค่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง 3 เปอร์เซ็นต์ดังกล่าว ยังจ่ายหนี้ไม่ได้ แล้วจะปล่อยไว้แบบนี้หรือจึงต้องกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยดิจิทัลวอลเล็ต และต้องให้คนไทยทุกคน อีกทั้งพรรคเพื่อไทย คิดไปถึงเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอยากให้ลงไปถึงระดับฐานราก
“แล้วแบบนี้ดิจิทัลวอลเล็ตไม่ดีตรงไหน ประชาชนส่วนหนึ่งที่เป็นอนุรักษ์นิยม หรือคนที่เขาห่วงใยประเทศ และอาจอยู่ในยุคอนาล็อก ที่เขาอาจไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้ การที่เขาแสดงความเป็นห่วง แสดงความเห็นออกมาเป็นเรื่องถูกต้องแล้ว แต่ข้อมูลที่ออกมามันไม่ถูก หากเป็นมืออาชีพ ฟังแล้วจะรู้สึกขัดๆ”
นายกิตติ กล่าวว่า ก่อนเลือกตั้งตอนที่เริ่มคิดนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ทางพรรคเพื่อไทย เห็นสภาพเศรษฐกิจทั้งระบบและมองไปข้างหน้า พยากรณ์แล้ว เศรษฐกิจประเทศไทยต้องมีการกระตุ้น จึงเกิดแนวคิดกระตุ้นด้วยดิจิทัลวอลเล็ต
“ตอนที่เริ่มทำนโยบาย ผมไปคำนวณภาพรวมทั้งระบบไปเสนอคณะทำงานของพรรคเพื่อไทย ว่าหากโอนให้ทีเดียว 10,000 บาท กับให้ 5,000 บาท ผลจะออกมาอย่างไร ก็พบว่า ถ้าทำออกมา ไม่ว่าจะเป็น 10,000บาทหรือ 5,000 บาท ต่างทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจทั้งสองออฟชั่น แต่ว่าหากไม่ต้องใช้เงินเยอะ 5,000 บาทก็เพียงพอ แต่ตอนนั้น นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ก็ตัดสินใจเลือกเคาะมาที่ตัวเลข 10,000 บาท”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' สื่อสารถึง 'สนธิ' : 'การทำอย่างเดิม ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิม'
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เหลี่ยมจัด! 'หัวเขียง' ขอปรับแก้ 24 จุด กม.สกัดรัฐประหาร ก่อนดันเข้าสภาฯอีกรอบ
นายประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมสส. พรรคถึงเรื่องการเตรียมถอนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ว่า ตนมีปัญหาสุขภาพมาตั้งแต่ช่วงเดือนเม.ย. ถึงต.ค. 67
'ณัฐวุฒิ' ดับกลางอากาศ! 'เจี๊ยบ-สาวกส้ม' แห่แชร์คลิปตาสว่างหลงเชื่อ 'ไอ้เต้น' มา 20 ปี
นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล หรือ “เจี๊ยบ” อดีตสส.ก้าวไกล โพสต์คลิปวิดีโอความเห็นของผู้ที่เคยสนับสนุน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกฯ
'ทักษิณ' การันตีไม่มีรัฐประหารแล้ว เบ่งใส่ภูมิใจไทยหล่อช้าๆ ไม่ต้องรีบจะดีกว่านี้
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีนายประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ว่า พรรคเพื่อไทยจะคุยกันพรุ่งนี้ (12 ธ.ค.)
'ทักษิณ' ขึ้นปราศรัย ช่วยหาเสียงนายก อบจ.อุบลฯ คุยลั่นชนะแน่
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงให้ นายกานต์ กัลป์ตินันท์ ผู้สมัครนายก อบจ.อุบลราชธานี ตามคำเชิญของ นายเกรียง กัลป์ตินันท์ อดีตรมช.มหาดไทย
ครม. แจกเค้กลูกหลานนักการเมืองเพื่อไทยล็อตใหญ่ นั่งข้าราชการการเมือง
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ โดยแต่งตั้งนายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง