17 ต.ค.2566- ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา มีการเสนอรายงานการดำเนินงานของคณะยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2565 โดยนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอแนะยุทธศาสตร์สร้างความสามารถในการแข่งขันใน 3 ประการ คือ ประการแรก ต้องรักษาเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นของการทำยุทธศาสตร์นี้ คือ 1. ต้องให้มีการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 5 2. ต้องมีผลิตภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity) เฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 2.5 3. ลำดับความสามารถในการแข่งขันของสถาบันระหว่างประเทศ ว่าด้วยการพัฒนาการจัดการ หรือ IMD ต้องอยู่ในลำดับ 1-20
นายสถิตย์ กล่าวอีกว่า เพื่อทำให้การก้าวไปสู่ยุทธศาสตร์ความสามารถในการแข่งขันเป็นไปได้ดียิ่งขึ้นจึงอยากจะเสนอเป้าหมายเพิ่มเติมอีก 2 เป้าหมาย คือ ควรเพิ่มเป้าหมายงบประมาณด้านการลงทุน อย่างน้อยต้องมีงบประมาณการลงทุน ร้อยละ 20 ของงบประมาณประจำปี และควรมีงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.5 ของงบประมาณประจำปี ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 0.
ส.ว.ผู้นี้ กล่าวว่า ประการที่2 การดำเนินการตามยุทธศาสตร์จะต้องดำเนินการตามแนวคิดภาคปฏิบัติเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Pracmatism) ถ้าหากดำเนินการตามแนวคิดนี้ จะทำให้การปฏิบัติทั้งหมด ทั้งแผนแม่บท แผนงาน โครงการ ยึดโยง เหนียวแน่นอยู่กับยุทธศาสตร์ เพราะถ้าไม่ดำเนินการเช่นนี้นานไปก็จะกลายเป็นงานประจำ และลืมไปแล้วว่างานประจำแท้จริง คือ ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุยุทธศาสตร์ เพราะฉะนั้นการดำเนินการเราจะต้องยึดถือแนวคิดการปฏิบัติเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งในการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ความสามารถในการแข่งขันนั้นมีอยู่ 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ ในแต่ละประเด็นควรจะจัดลำดับความสำคัญ หรือเพิ่มน้ำหนักแตกต่างกัน เพื่อที่สนับสนุนให้การเติบโตตามเป้าหมายเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
ในประเด็นยุทธศาสตร์ด้านเกษตรเพิ่มมูลค่า ควรจะให้ความสำคัญและน้ำหนักกับเกษตรอัจฉริยะ และเกษตรแปรรูป เพราะ 2 เรื่องนี้จะทำให้ผลิตผลทางด้านการเกษตรที่เกิดจากเกษตรอัจฉริยะดีขึ้น จะทำให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรจากการแปรรูปเพิ่มมูลค่าขึ้น ส่งผลให้ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเกษตรเพิ่มมูลค่าประสบความสำเร็จมากเพิ่มขึ้น
ส่วนประเด็นยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต นายสถิตย์ กล่าวว่า ควรให้ความสำคัญและเพิ่มน้ำหนักกับการแพทย์ครบวงจร เพราะไทยได้ตั้งเป้าไว้แล้วว่าเราจะเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจร การให้น้ำหนักในเรื่องนี้จะทำให้เจตจำนงเป็นความจริง และทำให้การเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมและบริการด้านนี้เพิ่มขึ้น ส่วนประเด็นอุสหากรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมและบริการของปัจจุบันและอนาคต ก็ต้องวางรากฐานให้เข้มแข็ง สร้างความเติบโต เพิ่มมูลค่าทางรายได้ขึ้นมา
นายสถิตย์ เผยว่า ด้านประเด็นยุทธศาสตร์การสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ควรเพิ่มน้ำหนักให้กับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมสร้างสรรค์หรือ Soft Power ซึ่งจะนำความเป็นไทยหรือวัฒนธรรมภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ต่างๆ ให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจขึ้นมาทั้งในระดับประเทศ รวมถึงการส่งออกทุนทางวัฒนธรรม
ในประเด็นยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานเชื่อมไทย เชื่อมโลก ควรให้ความสำคัญอย่างมากกับการเพิ่มพื้นที่เมืองและเศรษฐกิจ ในปัจจุบันประเทศไทยความเจริญกระจุกตัวอยู่ที่ 15 จังหวัด เดิมกระจุกตัวอยู่ที่กทม.ที่เรียกกันว่า “เมืองไทย คือ กรุงเทพฯ” “กรุงเทพฯ คือ เมืองไทย” แต่ในปัจจุบันนี้ได้ขยายมา 15 จังหวัด คือ กทม. ปริมณฑล 5 จังหวัด คือ สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี เขตพิเศษภาคตะวันออก ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี
15 จังหวัดนี้มีสัดส่วนความเจริญเติบโตถึงร้อยละ 70 ส่วนอีก 62 จังหวัดที่เหลือมีสัดส่วนความเจริญเติบโตเพียงร้อยละ 30 ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มพื้นที่เมืองเศรษฐกิจให้กับ 62 จังหวัดดังกล่าว อย่างเป็นระบบ และเป็นขั้นตอน เพื่อให้ 62 จังหวัดนี้ได้เจริญเติบโต เป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจโดยรวมให้เติบโต และเป็นการเติบโตอย่างทั่วถึงหรือ Inclusive Growth จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเข้มแข็ง และสอดคล้องกับการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นที่จะเป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป
นายสถิตย์ กล่าวอีกว่า ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะขึ้นมา ให้เป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่มีความรู้ในเรื่องการประกอบธุรกิจในยุคปัจจุบันและยุคอนาคต เพื่อที่จะพลิกจากผู้ประกอบการแบบเดิมๆ มาเป็นผู้ประกอบการที่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถที่จะใช้เครื่องมือในการบริหารใหม่ๆ มาทำให้การประกอบการประสบความสำเร็จ และที่สำคัญจะต้องทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ เข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงบริการทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือสถาบันการเงินของ รัฐซึ่งปัจจุบันถึงแม้ว่าจะได้พยายามที่จะให้บริการอย่างถึงที่สุดแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถจะตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายย่อย หรือผู้ประกอบการ SME จึงจำเป็นที่จะต้องเน้นในเรื่องของการดำเนินการการเข้าถึงแหล่งทุน
ประการที่ 3 การดำเนินการที่จะทำให้เป้าหมายการดำเนินการประสบความสำเร็จได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อเอายุทธศาสตร์เป็นตัวตั้งและงบประมาณมาตอบสนองต่อยุทธศาสตร์นั้น และจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์จะต้องมองไกลไปถึงยุทธศาสตร์ทั้ง 20 ปี เริ่มต้นจากการจัดทำยุทธศาสตร์รายปี ราย 5 ปี ในแต่ละช่วง และ 5 ปีถัดไป ต้องวางทั้งระยะประจำปี ระยะกลาง ระยะยาว ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในเชิงแข่งขันที่ได้ตั้งไว้
“เพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงของการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อทำให้ประเทศไทย พ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลาง ไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว” นายสถิตย์ กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มติ 153 สว. ยืนประชามติ 2 ชั้น! อบรม 'ไอติม' พูดได้ไงจะมีผู้รณรงค์ให้ปชช.นอนหลับทับสิทธิ์
สว. ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่านกม.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น ก๊วนสว.พันธุ์ใหม่ โวยดัดจริต สองมาตรฐาน โธ่! "ไอติม" โชว์กึ๋นนักเรียนนอก บอกสองชั้นเปิดช่องรณรงค์ให้ประชาชนนอนหลับทับสิทธิ์ สว.สีน้ำเงิน สวนทันควันใครจะกล้าทำแบบนั้น
'ดิเรกฤทธิ์' จี้องค์กรอิสระเร่งเครื่องคดีการเมือง
ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
สว.ปฏิมา กังวลกระบวนการยุติธรรมไทยกำลังถูกสั่นคลอนหนัก!
นายปฏิมา จีระแพทย์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ปัจจุบันนี้ เราต่างทราบดีว่า การรักษาความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศคื
กกต. ยื้อ 'หมอเกศ' เลื่อนถกคุณสมบัติจบดอกเตอร์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้มีการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบกรณีพ.ญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ถูกร้องว่ากระทำการหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถหรือชื่อเสียงเกียรติคุณ
กระจ่าง! ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้กรณีคุณสมบัติ 'สว.หมอเกศ'
“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ กรณี สว.หมอเกศ ปริญญาเอกและตำแหน่งศาสตราจารย์ หากไม่จริง เป็นการโชว์เหนือ หลอกลวงเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร สว.ด้วยกัน เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของตนเอง
'สว.ชิบ' เค้นรัฐบาล! ใครสั่งโยกคดี 'ดิไอคอน' ให้ดีเอสไอ หวั่นบอสรอดคุก
'สว.ชิบ' ตั้งกระทู้ถามนายกฯ ข้องใจคำสั่งจากใคร ทำให้รัฐบาลโยกคดี 'ดิ ไอคอน' ใส่มือดีเอสไอ หวั่นสรุปคดีไม่ทันเวลา เปิดโอกาสบรรดา 'บอส' รอดคุก