'ภูมิธรรม' ตั้ง 2 คณะอนุกรรมการฯ รับฟังความเห็น-ศึกษาแนวทางทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ

16 ต.ค.2566 - นายนิกร จำนง ในฐานะโฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 เปิดเผยว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ ได้ลงนามคำสั่งที่ 1/2566 เรื่องแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

ทั้งนี้เพื่อให้การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นายกรัฐมนตรีจึงได้ ให้ความเห็นชอบต่อการตั้งคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว มีองค์ประกอบ ได้แก่ นายนิกร จำนง ประธานอนุกรรมการฯ และอนุกรรมการ ประกอบด้วย นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ , พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม ,พล.ต.อ.วินัย ทองสอง , พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา,นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ , นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท , นายวิเชียร ชุบไธสง , นายวัฒนา เตียงกูล , นายยุทธพร อิสรชัย , นายธงชัย ไวยบุญญา , นายชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์ ,นายเจือ ราชสีห์ ,นางสิริพรรณ นกสวนสวัสดี , นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ , นายธัชพงษ์ วงษ์เหรียญทอง ,พ.ต.ท.ประวุธวงศ์สีนิล ,นายชนินทร์ รุ่งธนะเกียรติ , นายมงคลชัย สมอุดร , เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 1คน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ , เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 2คน เลขานุการเป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

สำหรับหน้าที่และอำนาจของคณะอนุกรรมการชุดรับฟังฯ คือ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติฯ ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ในการออกกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตยทันสมัย ร่วมกันและเป็นที่ยอมรับร่วมกันตลอดจนสอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ หารือแนวทางจัดทำและธรรมนูญในรัฐสภา เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญ ที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นที่มากขึ้น ประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง รวมทั้ง เป็นไปตามคำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2566, และให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงาน ของรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็น เอกสารหลักฐานใดที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา และสามารถแต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการตามที่คณะอนุกรรมการมอบหมายได้ตามความจำเป็น , โดยให้คณะอนุกรรมการรายงานผลดำเนินงานต่อ นายภูมิธรรม ประธานกรรมการศึกษาประชามติฯ

นอกจากนั้นนายภูมิธรรม ลงนามในคำสั่งที่ 2/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประขามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2566 มีนายวุฒิสาร ตันไชย เป็นประธานอนุกรรมการ และมีอนุกรรมการประกอบด้วย นายนิกร จำนง, นายพิชิต ชื่นบาน, พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, นายศุภชัย ใจสมุทร, นายวิรัตน์ วรศสิริน, นายยุทธพร อิสรชัย, นายไพบูลย์ นิติตะวัน, นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา, นายประวิช รัตนเพียร, นายเทวัญ ลิปตพัลลภ, นายชวลิต วิชยสุทธิ์, นายเจือ ราชสีห์, นายกฤช เอื้อวงศ์, นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี, นายรัฐภูมิ คำศรี, นายนิยม เติมศรีสุข, นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ, นายมงคลชัย สมอุดร, นายนพดล เภรีฤกษ์, เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 1คน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 คน เป็น อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และ เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จำนวน 1คน เป็น อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

โดยหน้าที่และอำนาจของคณะอนุกรรมการชุดนี้ คือ ศึกษาแนวทางการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการออกกฎ กติกา ที่เป็นประชาธิปัตย์ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกันและเป็นที่ยอมรับร่วมกันและสอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นที่มากขึ้น
ประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง รวมทั้ง เป็นไปตามคำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2566 และให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็น หรือเอกสารหลักฐานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา นอกจากนั้นให้แต่งตั้งคณะทำงาน หรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการตามที่คณะอนุกรรมการมอบหมายได้ตามความจำเป็น ทั้งนี้ให้คณะอนุกรรมการรายงานผลดำเนินงานต่อประธานกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล

ที่บริเวณ​หน้าศาลรัฐธรรมนูญ​ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว

ดิ้นสุดซอย! 'ชูศักดิ์' ชี้ช่องยื่นตีความ พรบ.ประชามติ เป็นกฎหมายการเงิน ไม่ต้องรอ 180 วัน

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการตีความร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ ว่าเป็นกฎหมายการเงินหรือไม่

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ

จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก