'รองฯ อ๋อง'แจงยิบ เหตุยังเซ็นรับมอบอาคารรัฐสภา ไม่ได้ ติดมาตรการงดเว้นค่าปรับจาก 2 รัฐบาล ทำให้ไม่สามารถคิดค่าปรับได้ ย้ำต้องสมบูรณ์ 100% จึงจะส่งมอบได้
4 ต.ค.2566 - ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฏรคนที่ 1 แถลงความคืบหน้าในการตรวจรับอาคารรัฐสภา ว่า ก่อนอื่นตนไม่ใช่คนมีอำนาจโดยตรง หรืออำนาจเซ็นรับ เนื่องจากผู้จ้างกับผู้ว่าจ้างคือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับทางบริษัทที่รับจ้างโดยตรง ตนขอย้อนไปที่ไทม์ไลน์ในช่วงเวลาของการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.56 ที่มีการลงนามในสัญญาเลขที่ 116 / 2556 ซึ่งจะต้องมีการส่งมอบที่ดินในวันที่ 7 มิ.ย. 56 และมีกำหนดระยะเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเวลา 900 วัน หรือคือภายในวันที่ 24 พ.ย. 58 แต่ติดปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า จึงมีการขยายระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมด 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 1864 วัน โดยไม่มีการคิดค่าปรับ ซึ่งการขยายสัญญานี้ จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธ.ค. 63 หลังจากนั้นเมื่อผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานตามระยะเวลาที่กำหนดได้ สำนักงานเลขาธิการสภาฯ จึงสามารถคิดค่าปรับได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 เป็นต้นมา จนมาถึงวันที่ 18 ก.ย. 66
ทั้งนี้ ตนได้รับข้อมูลจากคณะกรรมการตรวจการจ้างว่ามีการประชุมหารือเพื่อการรับมอบงานจากผู้รับจ้างและขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการพิจารณา ดังนั้น ระยะเวลารวมที่ก่อสร้างล่าช้าคือ 990 วัน โดยค่าปรับตามสัญญากำหนดให้คำนวณค่าปรับเป็นรายวัน วันละ 0.1% จากราคาตามมูลค่าของสัญญา หรือวันละ 12,280 ล้านบาท
ประการที่หนึ่ง ผู้รับจ้างได้ขอใช้สิทธิ์ในตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่หน่วยงานรัฐได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ โดยให้คิดค่าปรับเป็นศูนย์ เป็นเวลา 827 วัน ทั้งนี้ จากการที่คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกรมบัญชีกลาง โดยคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา (กวพ.รส.) ซึ่งได้นำมาปรับใช้กับสัญญาก่อสร้าง ซึ่งมีการขยายเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 15 ให้เป็นไปตามแนวทางของรัฐบาลในสมัยนั้น โดยมีการงดหรือลดค่าปรับเต็มจำนวนถึง 10,155,560,000 บาท ทำให้เราไม่สามารถคิดค่าปรับขั้นต่ำกับทางผู้รับจ้างได้
ประการที่สองคือ จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้นำมาตรการช่วยเหลือกรณีค่าแรง 300 บาท ตามมาตรการการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ในลดค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างเป็นเวลา 150 วัน ซึ่งหากมีการแก้ไขสัญญาการก่อสร้างจริง จะถือเป็นการงดเว้นค่าปรับให้ผู้รับจ้างอีก 1,842 ล้านบาท โดยทั้งสองกรณีที่กล่าวมาข้างต้น ผู้รับจ้างจะได้รับการยกเว้นค่าปรับรวมทั้งหมด 11,997,560,000 บาท ที่ทำให้เราไม่สามารถคิดค่าปรับได้
นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมงาน และที่ปรึกษาบริหารโครงการ วันละ 332,140 บาท เป็นเวลา 990 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 ถึง 18 ก.ย. 66 รวมเป็นยอดสุทธิ 328,818,600 บาท เนื่องจากผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จภายในเวลากำหนด ทำให้ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ควบคุมงาน และที่ปรึกษาบริหารโครงการ
"จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดภายใต้การนำของเลขาธิการสภาฯ คนเดิม เราจึงยังไม่สามารถตรวจรับงาน และยังไม่มีการเซ็นรับอาคารรัฐสภาแห่งนี้ ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องดำเนินการต่อในส่วนของรักษาการเลขาธิการสภาฯ ว่าจะมีจัดการเรื่องนี้อย่างไร โดยความเห็นของเสียงข้างน้อยนั้น ผู้รับจ้างจะสามารถแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร จะมีการเริ่มคิดค่าปรับจากการที่ไม่สามารถทำให้ตรงตามแบบเริ่มต้นหรือไม่ ตั้งแต่เมื่อไหร่ อย่างไร และฝ่ายกฎหมายของสภาฯ จะสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่สิ่งที่เราต้องติดตามต่อไปคือเรื่องของการแก้ไขสัญญา และเรื่องของมาตรการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่มีมูลค่ากว่า 1,824 ล้านบาท"
เมื่อถามว่า การเปลี่ยนเลขาธิการสภาฯ จะทำให้การตรวจสอบสะดุดหรือล่าช้าหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจรับยังคงเป็นชุดเดิม ถึงอย่างไรการลงนามท้ายสุด เพื่อส่งมอบอาคารรัฐสภายังคงต้องใช้อำนาจของเลขาธิการสภาฯ โดยรักษาการเลขาธิการสภาฯ สามารถทำแทนได้
เมื่อถามถึงกรณีของค่าปรับงวดที่ 2 จะต้องมีการแก้ไขสัญญาหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ผลจากมาตรการของรัฐบาลในอดีต สืบเนื่องจากปี 57 ทั้งเรื่องการก่อสร้างล่าช้า และการย้ายพื้นที่ เรื่องเหล่านี้มีหลายภาคส่วนเกี่ยวข้อง ต้องทำประเด็นให้ชัดเจน และคณะกรรมการต้องใส่รายละเอียดทั้งหมดในรายงาน
เมื่อถามว่า จากข้อมูลที่มี ประเมินไว้ว่าจะสามารถตรวจรับอาคารรัฐสภาได้ภายในช่วงเวลาใด นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ในคณะกรรมการยังคงมีความเห็นแย้งกันอยู่ รวมถึงสัญญาก็ระบุว่า อาคารรัฐสภาต้องมีความสมบูรณ์ 100% เท่านั้น จึงจะสามารถส่งมอบได้
เมื่อถามถึง อีก 6 จุดของรัฐสภา ที่ยังมีความไม่สมบูรณ์ตามแบบ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า หากยืนตามคณะกรรมการเสียงข้างมาก จะต้องไปแก้ในสัญญา ถ้ายืนตามคณะกรรมการเสียงข้างน้อย ผู้รับเหมาจะต้องไปแก้ไขจุดเหล่านั้นให้ถูกต้องตามแบบ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องใช้เหตุใช้ผลกัน เนื่องจากเวลาผ่านมานาน จะปรับแก้ให้สมบูรณ์ตามแบบเมื่อ 10 ปีที่แล้ว คงค่อนข้างยาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปัดเตะถ่วง! นายกฯแพทองธาร ยันค่าแรง 400 บาท จะขึ้นภายในปีนี้
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความชัดเจนในเรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทที่ดูเหมือนจะเลื่อนการจ่ายเงินจากวันที่ 1 ต.ค. 2567 ออกไป
ขึ้นค่าแรง 400 สะดุด! ไม่ทัน 1 ต.ค. 'บอร์ดไตรภาคี' เลื่อนยาว
'ปลัดแรงงาน' รับขึ้นค่าจ้าง 400 สะดุด ไม่ทัน 1 ต.ค. นี้ เหตุต้องรอ ธปท. ส่งตัวแทนคนใหม่ ร่วม คกก. ไตรภาคี
ถกค่าแรง 400 บาทล่ม ประชุม 3 ฝ่ายสะดุด!
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 เป็นประธานการประชุมบอร์ดค่าจ้าง ครั้งที่ 9/2567 ที่กระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาปรับอัตรา
พิพัฒน์ เรียกร้องนายจ้าง เห็นใจลูกจ้าง ขึ้นค่าแรง 400 บาท วอนเข้าร่วมประชุมไตรภาคี พรุ่งนี้ 13.30 น. แย้ม ก.คลัง เห็นด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบนายจ้าง
วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นค่าแรง 400 บาทว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.67) เวลา 13.30
ได้ฤกษ์! สภาย้ายป้ายพรรค พปชร.มาอยู่ซีกฝ่ายค้านแล้ว
'ป้าย พปชร.' เขยิบไปอยู่ฝ่ายค้านแล้ว จากเดิมอยู่หน้าบัลลังก์ประธาน ขณะ 'สุวรรณา สส.บึงกาฬ ภูมิใจไทย' หยุดปฏิบัติหน้าที่ หลังศาลฎีการับคำร้อง กกต. ทำ สส. เหลือแค่ 492 คน
พิพัฒน์ ย้ำ 1 ต.ค.ค่าแรง 400 บาท เผยมีข้อเสนอ 7 มาตรการ ช่วยบรรเทาผลกระทบทั้งนายจ้าง-ลูกจ้าง
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงข้อเสนอจากกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือนายจ้างกรณีขึ้นค่าแรง 400 บาทในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ว่า กระทรวงแรงงานได้รับข้อหารือจากผู้ประกอบการ