ตามคาด ‘ก้าวไกล’ มีมติขับ ‘ปดิพัทธ์’ พ้นสมาชิกพรรค

28 ก.ย.2566 - พรรคก้าวไกล ออกแถลงการณ์กรณีให้ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา พ้นจากสมาชิกภาพ โดยมีเนื้อหาดังนี้

เรียนพี่น้องประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุดในประเทศ

นับจากนี้ไป พรรคก้าวไกลจะมุ่งมั่นเดินหน้าทำงานเต็มที่ในฐานะ “ฝ่ายค้าน” เราจะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา พร้อมกับผลักดันวาระการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้า และเตรียมความพร้อมในการเป็นรัฐบาลที่ดีของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งถัดไป

ในวันนี้ (28 ก.ย. 2566) คณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่และผู้แทนราษฎรของพรรคก้าวไกลจึงได้ประชุมร่วมกัน เพื่อวางแนวทางการทำงานที่รองรับเป้าหมายของพรรค ดังต่อไปนี้:

1. ที่ประชุมร่วมฯ เห็นตรงกันว่า พรรคก้าวไกลควรเดินหน้าเป็น “ฝ่ายค้านโดยสมบูรณ์” ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยให้หัวหน้าพรรคคนใหม่ นายชัยธวัช ตุลาธน รับตำแหน่ง “ผู้นำฝ่านค้านในสภาผู้แทนราษฎร” เพื่อกำกับทิศทางการทำหน้าที่ในสภาฯ ของฝ่ายค้าน

2. ที่ประชุมร่วมฯ เข้าใจว่า การตัดสินใจดังกล่าวจะทำให้ สส. จากพรรคก้าวไกล ไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 106

3. ที่ประชุมร่วมฯ รับทราบจากหัวหน้าพรรคว่า ทางคณะกรรมการบริหารพรรคได้หารือประเด็นดังกล่าวกับ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกลแล้ว โดย นายปดิพัทธ์ ได้แสดงความประสงค์ว่าต้องการทำหน้าที่ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎรต่อไป เพื่อผลักดันให้สภา มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น ตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ก่อนหน้า รวมถึงเพื่อช่วยผลักดันให้กระบวนการตรวจรับอาคารรัฐสภา ซึ่งมีสัญญาก่อสร้างมูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท มีความโปร่งใส

4. ที่ประชุมร่วมฯ เห็นด้วยว่าภารกิจที่นายปดิพัทธ์ ตั้งใจขับเคลื่อนจะนำไปสู่การยกระดับการทำงานของสภา และเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน แต่ที่ประชุมร่วมฯ ยังคงยืนยันถึงความสำคัญของการทำหน้าที่เป็น “ฝ่ายค้านโดยสมบูรณ์” ซึ่งจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หาก นายปดิพัทธ์ ยังคงดำรงสถานะเดิมในฐานะรองประธานสภา จากพรรคก้าวไกล

5. ที่ประชุมร่วมฯ จึงมีมติว่า ในเมื่อ นายปดิพัทธ์ ยังคงยืนยันความประสงค์จะทำงานในฐานะรองประธานสภาต่อ พรรคก้าวไกลจึงจำเป็นต้องให้นายปดิพัทธ์ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคของพรรคก้าวไกล ตามบทบัญญัติแห่งข้อบังคับพรรคก้าวไกลและรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พรรคก้าวไกลสามารถทำหน้าที่เป็น “ฝ่ายค้านโดยสมบูรณ์” ได้ อันเป็นเงื่อนไขที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของพรรคหลังจากนี้

6. ที่ประชุมร่วมฯ หวังว่า แม้ นายปดิพัทธ์ จะไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคก้าวไกลอีกต่อไป แต่เขาจะยังขับเคลื่อนนโยบายตามที่ได้เคยให้คำมั่นสัญญาไว้ก่อนถูกรับเลือกโดยสภาผู้แทนราษฎร และต้องวางตนเป็นกลางต่อทุกพรรคการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญ มาตรา 80

พรรคก้าวไกลขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกคน มาร่วมกับเราในการเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ไปด้วยกัน .

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'เศรษฐา' อย่าสับสน! โพลวัดผลงาน ไม่ใช่เรตติ้งนายกฯ

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน !!! ระหว่างผลงาน กับการเลือกนายกฯ คนต่อไป

'วิโรจน์' บอก 7 ส.ค. ผลออกมา ต้องมีคำอธิบายที่ปชช.เข้าใจได้

'วิโรจน์' บอกตามตรง 7 ส.ค. ก็แค่วันปกติ ยัน ไม่ตื่นตระหนก แต่ไม่ประมาท 'คดียุบก้าวไกล' หากผลเป็นลบ ก็ต้องตอบสังคมให้ได้ภายใต้กรอบนิติรัฐ-นิติธรรม