“วิษณุ” ชี้ช่องแก้ไขมาตรา 256 ลดขั้นตอนทำประชามติเหลือ 2 ครั้ง หวังลดงบประมาณ แก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมชงเลือกแก้มาตราเฉพาะหน้า เว้นเรื่องยุ่งยาก หมวดคุณสมบัติ-หน้าที่องค์กรอิสระ
24 ก.ย. 2566 – นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯ กล่าวแสดงความเห็นแนวทางการแก้รัฐธรรมนูญ ว่า เรื่องนี้ตนเองตอบไม่ถูก แต่ให้เขาคิดกันเองเอง เพราะว่ามันยุ่งยากซับซ้อน แต่ข้อสำคัญหากจะใช้วิธีไหนก็ตามก็ควรจะหลบหลีกการทำประชามติหลายครั้งและตนเองเห็นด้วยกับแก้ไขเป็นรายมาตรา ทีละหลายๆมาตรา ก็ได้เพราะรัฐธรรมนูญห้ามไว้แต่เพียงว่า ในกรณีที่เป็นการแก้ไขหมวด 1 ทั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หมวด 15 เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องการแก้ไขอำนาจและหน้าที่ขององค์กรอิสระ และการแก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามขององค์กรอิสระ โดยเรื่องเหล่านี้ เมื่อแก้เสร็จวาระ1 วาระ2 และ วาระ3 ก่อนที่จะนำขึ้นต้องทำประชามติ
นายวิษณุ กล่าวว่า การแก้ไข ที่ควรทำคือ ถ้าต้องการแก้เกี่ยวกับองค์กรอิสระ และไปกระทบกับเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ ตรงนี้ต้องทำประชามติ เพราะฉะนั้นเก็บไว้ทำคราวหลังได้ไหม ตอนนี้ถ้าอยากแก้ไปก่อนคือหมวด 3 เรื่องสิทธิเสรีภาพ ซึ่งประชาชนต้องการและ หมวด 4 หน้าที่ของรัฐ หมวด 5 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ หมวด 7 รัฐสภาซึ่งแก้ได้ตามใจชอบไม่ต้องทำประชามติ หมวด 8 ครม. หมวด 9 ผลประโยชน์ขัดแย้งกันหมวด10 เรื่องศาล หมวด 11 องค์กรอิสระ ซึ่งเรื่องเหล่านี้แก้ได้หมด แต่พอไปถึงองค์กรอิสระอำนาจหน้าที่ และคุณสมบัติต้องห้ามมันจะไปเจอเรื่องทำประชามติคืออย่าพึ่งไปทำ
เมื่อถามว่าการทำประชามติควรทำครั้งเดียวตอนเสร็จแล้วใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ที่ต้องทำประชามติเพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 256 กำหนดไว้ ถ้าคุณแก้มาตรา256 ว่าการแก้รัฐธรรมนูญไม่ต้องทำประชามติ มันก็ไม่ต้องทำประชามติ แต่การจะแก้หนแรกในเรื่องมาตรา256 ต้องทำประชามติเสียทีหนึ่งก่อนและจะลบล้างเรื่องประชามติไปได้
เมื่อถามย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ต้องทำประชามติ 3-4 ครั้งใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวย้ำว่าก็ต้องแก้ไขมาตรา 256 เสียก่อน พอเสร็จวาระ 1-3 ก็นำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไปจะไม่ได้เจอเรื่องทำประชามติ แต่ถ้าแก้ตามแนวทางของรัฐบาลก็ต้องทำประชามติ 1.คุณก็ต้องทำประชามติแก้ทั้งฉบับว่าเห็นด้วยหรือไม่ 2.ต้องตั้งสสร. และ 3. ถ้าสสร. ต้องไปทำประชามติทั้งประเทศอีก ซึ่งการทำประชามติครั้งหนึ่งประมาณ 3 พันล้านบาท ฉะนั้นก็แก้ที่มาตรา256 แต่การแก้มาตรา256 หากพูดกันไม่ดีเพราะอาจไม่ผ่าน เพราะต้องผ่านความเห็นของสว.หรือไม่เขาก็กลัวว่าจะไปแก้อะไรต่อมิอะไรกัน อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยการทำประชามติควรทำ 2 ครั้งก็ยังดี คือต้องเริ่มแก้ไข และตอนจบที่จะไปประกาศใช้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วันนอร์' ลุยถกแก้รธน. 14-15 ม.ค. ถือเป็นข่าวดีปีใหม่ หวังทันเลือกตั้งปี 70
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่า ได้คุยกับวิป 3 ฝ่ายไปแล้วว่าเรามีร่างรัฐธรรมนูญที่แก้รายมาตรา 17 ฉบับ และยังมีร่างที่แก้ทั้งฉบับของพรรคประชาชน(ปชน.)
‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก
ขวากหนามแก้รัฐธรรมนูญ คนกันเอง...เล่นเกมต่อรอง
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบกับ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับคณะ กมธ.ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
พรรคร่วมรบ.เห็นต่างไร้ปัญหา
เปิดผลโหวต กม.ประชามติ ภท.งัดมติวิป รบ.ไฟเขียวฉบับ กมธ.ร่วมฯ ผงะ รทสช. 25 คนล่องหน
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
'เอกนัฏ' มั่นใจไม่กระทบเอกภาพรัฐบาล ปมโหวตต่างกฎหมายประชามติ
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ให้สัมภาษณ์กรณีพรรคร่วมรัฐบาลโหวตแตกต่างร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติว่า สส.พรรครทสช.