'จุรินทร์' เตือนอย่าใช้ รธน.40 เป็นตัวตั้ง เดี๋ยวเกิดรัฐบาลกินรวบ

“จุรินทร์” เตือนรัฐบาล! อย่าใช้ รธน.40 เป็นตัวตั้ง เพราะเป็นบ่อเกิดนายกตรวจสอบไม่ได้ จนได้รัฐบาล”กินรวบ”มาแล้ว

24 ก.ย. 2566- นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการศึกษาการทำประชามติและกำหนดแนวทางการแก้ไข รธน. ของรัฐบาลว่า หลักการในเรื่องของการไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 เป็นเรื่องที่ทั้งตนและพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุน และล่าสุดตนก็ได้แสดงจุดยืนในการประชุมรัฐสภาตอนแถลงนโยบายของรัฐบาลอีกครั้งชัดเจนแล้ว แต่ที่ต้องทักท้วงไว้เสียแต่ต้นคือหลักคิดในเรื่องของการที่รัฐบาลจะใช้รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นต้นแบบนั้น ตนขอให้คิดให้รอบคอบ เพราะรัฐธรรมนูญปี 40 เป็นรัฐธรรมนูญที่ออกแบบให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป จนบางยุคทำให้การตรวจสอบรัฐบาลโดยเฉพาะผู้นำรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีทำได้ยากมากจนทำให้ไม่สามารถตรวจสอบหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้เลยถ้านายกรัฐมนตรีตั้งรัฐบาลด้วยเสียงเกินกว่า 3 ใน 5 คือเกินกว่า 300 เสียงขึ้นไป เพราะ รธน.40 ระบุว่าจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ ฝ่ายค้านต้องมีเสียงเกินกว่า 200 เสียงหรือ2ใน 5 ขึ้นไปเท่านั้น ทำให้บางยุคไม่สามารถตรวจสอบนายกรัฐมนตรีได้เลยตลอดอายุรัฐบาล นำไปสู่การมีรัฐบาล”กินรวบ”ดังที่เคยประสบในบางยุค เพราะนายกรัฐมนตรีอาศัยช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญตั้งรัฐบาลเกิน 300 เสียงเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบตั้งแต่ต้น อีกทั้ง รธน.40 ก็ยังให้อำนาจฝ่ายบริหารเข้าไปมีบทบาทในการสรรหากรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ จนนำไปสู่การใช้ช่องว่างของรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของฝ่ายบริหารเกิดรัฐบาล”กินรวบ” จนต้องแก้ไขในปี 2550 ในที่สุด

นายจุรินทร์กล่าวอีกว่า ถ้าใช้รัฐธรรมนูญปี 40 มาสวมในสถานการณ์ปัจจุบันการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเศรษฐาจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยเพราะรัฐบาลมีเสียงเกิน 3 ใน 5 นั่นคือมีถึง 314 เสียง ฝ่ายค้านมีไม่ถึง 200 เสียง ก็จะไม่สามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ ถ้านายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด ล้มเหลวและเกิดการทุจริตคอรัปชั่นขึ้นมาในอนาคต จะเท่ากับพาประเทศย้อนยุคกลับไปสู่ปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตได้อีก จึงควรคิดกันให้รอบคอบ

นายจุรินทร์ยังกล่าวอีกว่าที่พูดนี้ไม่ได้แปลว่าจะตั้งธงอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกแล้ว ซึ่งตนขอพูดเสียก่อนเลยว่าไม่เกี่ยวกันและยังไม่ใช่เวลา เพราะรัฐบาลเพิ่งเริ่มต้น ตนเพียงแต่ต้องการทักท้วงไว้เพราะ รัฐธรรมนูญเป็นกติกาสำคัญของประเทศและหากแก้แล้วต้องใช้ต่อไปในอนาคต จะได้ไม่พาประเทศย้อนยุคกลับไปสู่ปัญหาที่เคยเกิดในอดีตที่เราไม่อยากเห็นอีก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก

'พริษฐ์' เข้าทำเนียบ ฝากนายกฯโน้มน้าว สส.-สว.ทำประชามติ 2 ครั้ง ให้ทันเลือกตั้งปี 70

นายพริษฐ์ วัชรสินธ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนหารือกับนายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

'พริษฐ์' ยันต้องแก้รธน.ทั้งฉบับ เพราะขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ระบุ หากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เร็ว ต้องแก้รายมาตรา ว่า เป็นความเห็นของนายวิษณุ สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ 

ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ