'สามารถ' เสนอแนวทางจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ปมที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อหลีกเลี้ยงวงวจอุบาทว์
20 ก.ย.2566 - นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า รัฐบาลมีนโยบายจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้ากล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ขอเสนอให้ปรับเปลี่ยนกระบวนการเลือกตั้ง สส. และ สว. ดังนี้
กระบวนการการเข้าสู่อำนาจของตัวแทนประชาชน หรือ สส. ต้องยอมรับความจริงว่า กระบวนการเข้าสู่อำนาจของตัวแทนประชาชนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีปัญหา
1.ไม่ได้คนดีเป็นที่ประจักษ์ ประชาชนไม่มีทางเลือกอื่น ถ้าไปใช้สิทธิ นอกจากกาไม่เลือกผู้ใดแล้ว ก็ต้องเลือกตัวแทนจากพรรคการเมืองภายใต้บงการของกลุ่มทุน หรือเลือกตามกระแสนิยมที่ถูกสร้างขึ้น มีการใช้เงิน อามิสสินจ้างต่างๆมากมาย
เมื่อได้รับเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ ส่วนใหญ่ก็เข้าไปใช้อำนาจที่ได้มาจากประชาชนเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนเจ้าของพรรค หรือทำตามผู้ชี้นำบงการ แทนที่จะทุ่มเททำงานให้ประชาชนและบ้านเมืองอย่างแท้จริง
2.ปัญหาจากข้อ 1 มีผลต่อการจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute Majority) หรือจากพรรคการเมืองหลายพรรคมารวมกันเป็นรัฐบาลผสม (Coalition Government) เมื่อลงทุนในการเลือกตั้งไปมาก รัฐมนตรีที่รับผิดชอบแต่ละกระทรวงก็มักจะเข้าไปถอนทุนคืน ด้วยการทุจริตคอรัปชั่น หรือทำนโยบายที่สุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายของบ้านเมือง เพื่อเปิดช่องให้มีการทุจริตเชิงนโยบาย
ในที่สุดจะเป็นเงื่อนไขนำไปสู่ข้ออ้างก่อการรัฐประหารล้มล้างระบอบการปกรรองประชาธิปไตย วนเวียนเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ซ้ำซาก
ข้อเสนอกระบวนการเข้าสู่อำนาจของตัวแทนประชาชน หรือ สส.แทนกระบวนการเลือกตั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับผิดชอบดำเนินการ ดังนี้
1.กำหนดจำนวน สส.ที่พึงมีทั้งประเทศ
2.กำหนดจำนวน สส.ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี โดยเฉลี่ยตามจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัด
3.เมื่อเฉลี่ยจำนวน สส.แล้ว จังหวัดใดมี สส.มากกว่า 1 คน ให้แบ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้ตำบลเป็นพื้นที่หลัก
4.ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็น สส.ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด ไปยื่นสมัคร ณ ตำบลที่ตนมีภูมิลำเนา โดยจะลงสมัครในนามพรรคหรือสมัครอิสระก็ได้
5.จัดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละตำบลเลือกผู้สมัครในตำบลที่ตนมีภูมิลำเนา ผู้ได้รับเลือกตั้งคือ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดและได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
6.จัดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง เลือกผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากแต่ละตำบลในเขตเลือกตั้ง เพื่อให้ได้ผู้ที่จะเป็น สส.ซึ่งคือผู้ที่ได้คะแนนเสียงสูงสุด และมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น
ภายหลังการเลือกตั้ง ในการจัดตั้งรัฐบาล ให้ผู้ที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
วุฒิสภา ให้มีวุฒิสมาชิก จำนวน 200 คน ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
สมาชิกวุฒิสภา มาจากตัวแทนของกลุ่มอาชีพที่ได้รับการคัดเลือกตามกระบวนการที่กฎหมายบัญญัติไว้ และ/หรือมาจากพระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิอีกส่วนหนึ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอ๊ะ! อดีตรองหัวพรรค พท. เห็นด้วย มีหลายคนกำลังจะฉิบหายเพราะปาก
สามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โพสต์เห็นด้วย อดิศร เพียงเกษ ร่ายกลอนล่าสุด 'ฉิบหายอยู่ที่ปาก'
แสวงเซ็ง! ชี้ กม.ออกแบบดีแต่เจอคนเห็นแก่ประโยชน์ชิงลาออกทำเลือก อบจ.ซ้ำซ้อน
'แสวง' ชี้นายกฯ อบจ.ลาออกก่อนครบวาระ ทำเปลืองงบฯ – คน ต้องจัดเลือก 2 รอบ ระบุกฎหมายออกแบบมาดี แต่คนอาศัยช่องว่างชิงความได้เปรียบ มองสนามอุดรฯ เดือด คนมีชื่อเสียงแห่ลงพื้น
กกต. ยื้อ 'หมอเกศ' เลื่อนถกคุณสมบัติจบดอกเตอร์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้มีการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบกรณีพ.ญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ถูกร้องว่ากระทำการหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถหรือชื่อเสียงเกียรติคุณ
กระจ่าง! ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้กรณีคุณสมบัติ 'สว.หมอเกศ'
“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ กรณี สว.หมอเกศ ปริญญาเอกและตำแหน่งศาสตราจารย์ หากไม่จริง เป็นการโชว์เหนือ หลอกลวงเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร สว.ด้วยกัน เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของตนเอง
สอน 'เพื่อไทย' หัดเอาอย่าง 'อภิสิทธิ์' นักการเมืองรักษาสัจวาจา
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เพื่อไทย ไม่นิรโทษ มาตรา 112 ไม่แคร์มวลชน แต่แคร์พรรคร่วม
'นิกร' รับสภาพกฎหมายประชามติไม่ทันเลือกตั้งครั้งหน้าใช้ รธน.เดิม!
'นิกร' ระบุ พ.ร.บ.ประชามติ ไม่ทันเลือกตั้งท้องถิ่นต้นปีหน้า พ้อเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า ยังใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน