'สังศิต' ชี้เหตุการณ์'สารวัตรแบงค์' ถูกยิงเสียชีวิต สะท้อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกำนันกับตร. เสนอรัฐบาลต้องมีความกล้าและภาวะความเป็นผู้นำสูงถึงจะปฏิรูประบบตำรวจได้สำเร็จ
15ก.ย. 2566 - นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เผยแพร่ความเห็นเรื่องปฏิรูปตำรวจ ว่า
สว.สังศิตเสนอรัฐบาลต้องกล้าปฏิรูปตำรวจ !!?
โอกาสที่จะเห็นตำรวจปฏิรูปตัวเอง เกิดขึ้นได้ยากมาก การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีรัฐบาลที่มีภาวะความเป็นผู้นำสูงจึงจะปฏิรูประบบตำรวจได้สำเร็จ
กรณีใช้อาวุธปืนยิง “พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว” หรือ “สารวัตรแบงค์” สว.ส.ทล.1 กก.2 บก.ทล. เสียชีวิตกลางงานเลี้ยงภายในบ้าน “กำนันนก” (นายประวีณ จันทร์คล้าย อดีตกำนันตำบลตาก้อง อ.เมืองนครปฐม) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566
เป็นข่าวที่ประชาชนฉงนสนใจอย่างกว้างขวาง สร้างแรงสั่นสะเทือนให้วงการตำรวจทุกระดับ เนื่องจากในงานเลี้ยงดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 20 นาย ตั้งแต่ระดับผู้กำกับลงมาอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์ที่ “สารวัตรแบงค์” ถูกยิงฟุบไปต่อหน้าต่อตา !!
ภาพนายตำรวจร่วมโต๊ะงานเลี้ยงรายล้อม “กำนันนก” วัย 35 ปี ราวกับสมุนบริวาร จนเกิดเหตุฆาตกรรม สร้างความอดสู ส่งผลต่อศรัทธา และศักดิ์ศรีแวดวงสีกากีครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกวุฒิสภา และประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้ว่า “เหตุการณ์ยิงสารวัตรสะท้อนถึงปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ใช่ธุรกิจสีเทาหลายประการ คือ
ประการแรก สะท้อนถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกำนันนกกับตำรวจในพื้นที่
ประการที่สอง สะท้อนถึงความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ที่ใช้เงินแลกเปลี่ยนกับการใช้อำนาจตามกฏหมายในทางที่ผิดของตำรวจ
ประการที่สาม สะท้อนถึงอำนาจของกำนันนกว่าน่าจะมีธุรกิจสีเทาอยู่เป็นจำนวนมากและมีผลกำไรเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละปี จนกระทั่ง อิทธิพลของกำนันนกสามารถไปบิดเบื่อนการบังคับใช้กฎหมายของตำรวจในพื้นที่ได้ การกระทำความผิดยังไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย กำนันนกต้องเชื่อว่ามีตำรวจที่อยู่ในพื้นที่ให้การคุ้มครองตนเองได้
วิสามัญฆาตกรรมในครั้งนี้ยัง สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ที่ใช้เงินของกำนันนกที่ให้แก่เหล่าตำรวจ กำนันนกอุปถัมภ์ ตำรวจด้วยเงิน ส่วนตำรวจเป็นผู้ใต้อุปถัมภ์ให้การตอบแทนด้วยการใช้อำนาจตามกฏหมายไปให้การคุ้มครองกำนันนกอย่างผิดกฎหมาย
พฤติกรรมที่บ้าบิ่นของกำนันนก อาจสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจของผู้กระทำความผิดที่มีเครือข่ายกับผู้มีอำนาจตามกฏหมายในระดับที่สูงมากจนเกิดความมั่นใจถึงขั้นไม่ยี่หระกับ อำนาจตามกฏหมายของตำรวจในพื้นที่ เพราะเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ของตนที่มีกับตำรวจน่าจะแข็งแกร่ง อย่างเพียงพอที่จะคุ้มครองตนเองได้
สุดท้ายพฤติกรรมของกำนันนกในเรื่องนี้ยังอาจสะท้อนให้เห็นว่าองค์กรตำรวจนั้นมีทั้งตำรวจน้ำดีกับตำรวจน้ำเสียที่มีพฤติกรรมเป็นองค์กรอาชญากรรม (organized crime) คงไม่มีใครกล้ายืนยันว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ตำรวจถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านกำนันนกเป็นการสมคบคิดร่วมกันหรือเป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นกับองค์กรอาชญากรรมของตำรวจในระดับใดระดับหนึ่งหรือไม่ เป็นการสมคบคิดกันเพราะต้องการต่อต้านตำรวจน้ำดีที่ต้องการทำหน้าที่ของตนเองอย่างสุจริต กับตำรวจน้ำเสียที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตัวเองเป็นหลักเท่านั้น
เหตุการณ์ที่เศร้าสลดหดหู่นี้ ยังส่งผลต่อศรัทธาและศักดิ์ศรีของตำรวจมากพอหรือยังที่ต้องมีการปฏิรูปองค์กรตำรวจอย่างจริงจัง เสียที ?
ตำรวจจะกอบกู้ศักดิ์ศรีของตัวเองได้ต้องแสดงให้เห็นถึงความสุจริตในการสอบสวนคดีนี้ รวมทั้งต้องดำเนินการปราบปรามกลุ่มผู้มีธิพลท้องถิ่นทั่วไปด้วย ไม่ใช่จัดการแต่กำนันนกคนเดียวซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและเป็นที่สนใจของสังคม
ยังมีผู้มีธิพลท้องถิ่นอีกเป็นจำนวนมากทั่วทุกจังหวัดของประเทศ หากตำรวจมีความสุจริตใจจริงต้องมีนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลเหล่านั้น ด้วยความสุจริตและตรงไปตรงมา
นอกจากนี้หน่วยงานตำรวจต้องแสดงให้เห็นว่าจะมีกระบวนการขจัดระบบส่วยของตัวเองได้อย่างไร จึงจะทำให้ระบบงานของตำรวจมีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลได้
จากการศึกษาองค์กรตำรวจในช่วงระหว่าง 70 -80 ปีที่ผ่านมา ผมพบว่าองค์กรตำรวจมีลักษณะที่แตกต่างจากหน่วยงานภาครัฐทั่วไป
ในหน่วยงานภาครัฐมักจะพบว่ามีความขัดแย้งระหว่างข้าราชการรุ่นใหม่ที่มีความคิดปฏิรูปกับข้าราชการรุ่นเดิมที่ไม่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง
แต่ในองค์กรตำรวจไม่เคยพบว่ามีกลุ่มตำรวจที่ต้องการปฏิรูปองค์กรของตนเองแม้แต่กลุ่มเดียว มีข้อที่น่าสังเกตว่าวัฒนธรรมขององค์กรตำรวจที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยมสูงน่าจะมีพลังที่สูงมากจนสามารถดูดซับและกลืนกินแรงบันดาลใจของตำรวจรุ่นใหม่ๆให้ละลายหายไปอยู่กับวัฒนธรรมดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น โอกาสที่จะเห็นตำรวจปฏิรูปตัวเองจึงเกิดขึ้นได้ยากมาก การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีรัฐบาลที่มีภาวะความเป็นผู้นำสูงที่จะปฏิรูประบบตำรวจได้สำเร็จ
ผมคิดว่าโอกาสของการเปลี่ยนแปลงคงต้องให้รัฐบาลที่มีเจตจำนงที่แน่วแน่ที่ให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ เป็นผู้นำในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบตำรวจให้กลายเป็นระบบที่สุจริต ซึ่งน่าจะทำได้ง่ายกว่าและมีความชอบธรรมมากกว่า
ความพยายามของรัฐบาลชุดที่แล้วที่ออกพระราชบัญญัติที่มีจุดมุ่งหมายจะปฏิรูปตำรวจตามรัฐธรรมนูญไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเกิดการประนีประนอมระหว่างรัฐบาลกับองค์กรตำรวจ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเล็กๆ น้อยๆ ตามที่พลังของตำรวจต้องการ
หากจะทำหลายเงื่อนไขการเกิดขึ้น ของกลุ่มผู้มีอิทธิพล ทั้งในส่วนกลางและในแต่ละท้องถิ่นมีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาปรับปรุงระบบการประมูลที่เป็นการประมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ (e-bidding) ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส ไม่เช่นนั้นก็จะมีกลุ่มผู้มีธิพลในแต่ละกรม แต่ละกระทรวง รัฐวิสาหกิจ และองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เด็จพี่' สดุดี 'นายกฯอิ๊งค์' ซัดพวกด้อยค่าแถลงผลงานรัฐบาล
'พร้อมพงศ์' ออกโรงปกป้อง 'นายกฯอิ๊งค์' ชมเปาะภาวะผู้นำสูงเกินวัย ซัดพวกด้อยค่าจับผิดผลงานรัฐบาล ประเทศจะเดินหน้าอย่ามาขวางคลอง
ตรงเป๊ะ! ลักษณะของผู้นำ ในวิกฤตจะสร้างโอกาส แต่คนไม่มีภาวะผู้นำมีโอกาสกลับจะสร้างวิกฤต
ขณะนี้เศรษฐกิจไทยกำลังพินาศย่อยยับ แต่รัฐบาลต้องการเงินเพิ่มอีก 2.5 ล้านล้
'นายกฯอิ๊งค์' เคลียร์ดรามา! ก้มอ่านไอแพด ต้องเป๊ะผิดเป็นลมแน่
'นายกฯอิ๊งค์' ย้ำอย่าด่วนตัดสิน ขอให้มีข้อมูลครบก่อน แจงยิบใช้ไอแพดเวทีผู้นำ บางคำเป็นศัพท์อังกฤษ คำเฉพาะทางกฎหมายต้องเป๊ะ เหตุเป็นเรื่องอ่อนไหวระหว่างประเทศ
'สุริยะใส' ชี้ภาวะผู้นำ นายกฯอิ๊งค์ ยังต้องประเมิน-พิสูจน์ต่อไป
“สุริยะใส” ระบุ ภาวะผู้นำเกิดจากจุดยืนที่ตกผลึก และผลงานเชิงประจักษ์ควบคู่ไปด้วย ชี้นายกฯแพทองธาร ชินวัตร จึงยังต้องประเมินและพิสูจน์กันต่อไป
นายกฯให้สัมภาษณ์ไม่รู้เรื่อง เราควรสงสารใคร ระหว่าง ประชาชน คนผลักดัน หรือตัว 'อุ๊งอิ๊ง'
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กระบุกรณีนส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เรื่องค่าเงินบาทแข็ง ว่า
องค์กรต้านโกง แนะรัฐบาลแก้ไข 6 ข้อคอร์รัปชันที่นานาชาติมองไทย เพื่อเรียกความเชื่อมั่น
ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ รัฐบาลนี้ไม่มีนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันจริงหรือ? มีเนื้อหาดังนี้ .