'วิสุทธิ์' เผยสัปดาห์นี้ นัดคุย 'ก้าวไกล' เคลียร์ปม โควตาประธาน กมธ.ที่ต้องการซ้ำกัน ลั่น 'พท.'ไม่กลัวถูกตรวจสอบ แต่อยากให้ประนีประนอม-อย่าโจมตีใส่ร้ายกัน
06 ก.ย.2566 - นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าในสัปดาห์นี้จะร่วมพูดคุยกับพรรคก้าวไกล รวมถึงพรรคการเมืองที่ขอจัดสรรตำแหน่งประธานกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรซ้ำกัน โดยไม่ต้องรอให้ผลการเลือกตั้งซ่อม สส.ระยอง แทนตำแหน่งที่ว่าง ในวันที่ 10 ก.ย.นี้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ในการประชุมเพื่อจัดสรรโควตาประธาน กมธ. เมื่อ 4 ก.ย. ที่มีปัญหาและประเด็นว่าไม่สามารถตกลงกันได้นั้น เนื่องจากตัวแทนของพรรคก้าวไกล ยืนยันว่าต้องการประธานกมธ. 11 คณะ เพื่อให้ที่บทบาทในการตรวจสอบ โดยไม่สามารถถอยให้กับพรรคการเมืองที่มีความต้องการซ้ำคณะกันได้
“ตามสัดส่วนที่คำนวณพรรคก้าวไกลจะได้โควตา 10 คณะ แต่ในวงประชุมเขายืนยันว่าจะได้ 11 คณะ เพราะในการเลือกตั้งซ่อม สส.ระยอง เขายืนยันอย่างมั่นใจว่าชนะแน่นอน ซึ่งที่ประชุมไม่ว่าอะไร เพราะยังไงต้องรอผลการเลือกตั้งออกมาก่อน แต่ที่ไม่สามารถคุยกันได้ เพราะพรรคก้าวไกลยืนยันว่า 11 คณะนั้นไม่สามารถจัดสรรให้พรรคอื่นได้ เพราะมีความสำคัญในบทบาทตรวจสอบฝ่ายค้านบริหาร แม้ว่าผมจะเจรจาว่า กมธ.ของสภาทุกคณะมีบทบาทตรวจสอบรัฐบาลและเรียกเอกสารตรวจสอบได้ทั้งหมด ไม่ใช่ว่าต้องเป็นประธาน กมธ.เท่านั้น ดังนั้นการหารือร่วมกันด้วยความประนีประนอม โดยพรรคเพื่อไทยฐานะแกนนำรัฐบาลไม่มีปัญหากับการถูกตรวจสอบ แต่เรื่อง กมธ.นั้นไม่ว่าใครจะเป็นประธาน กมธ.หรือไม่ การทำงานต้องตรวจสอบทุกฝ่ายอยู่ดี” นายวิสุทธิ์ กล่าว
นายวิสุทธิ์ กล่าวย้ำว่าพรรคเพื่อไทยไม่กลัวถูกตรวจสอบ เพราะเมื่อมีสภา มี กมธ. ฝ่ายรัฐบาลต้องพร้อมรับการตรวจสอบจากทุกคณะ อย่างไรก็ดีประเด็นจัดสรรโควตาประธาน กมธ. ที่ไม่ลงตัว ไม่อยากให้นำไปพูดนอกรอบว่า เพราะไม่ต้องการให้ฝ่ายตนเองถูกตรวจสอบ เพราะเท่ากับเป็นการโจมตีใส่ร้ายกันเกินไป ทั้งนี้ในการหารืออย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่ได้ร่วมรัฐบาล เดิมเขาต้องการประธาน กมธ.คมนาคม ซึ่งตรงกับพรรคเพื่อไทย เมื่อเจรจาแล้วได้ถอยให้กัน โดยพรรคประชาธิปัตย์เลือกประธาน กมธ.พาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา, กมธ.การตำรวจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับ ประธาน กมธ. 35 คณะของสภานั้น พบว่ามีพรรคการเมืองที่ต้องการตำแหน่งซ้ำกัน 6 คณะ คือ กมธ.กฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน พรรคประชาชาติซ้ำกับพรรคก้าวไกล, กมธ.การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่นและการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ, กมธ.แรงงาน พรรคภูมิใจไทยซ้ำกับพรรคก้าวไกล, กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ, กมธ.การคมนาคม, กมธ.ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ พรรคเพื่อไทยซ้ำกับพรรคก้าวไกล ส่วนอีก 29 คณะนั้นมีความลงตัว แต่เมื่อการเจรจาเมื่อ 4 ก.ย. ไม่สามารถตกลงกันได้ ทำให้พรรคการเมืองที่ต้องการซ้ำกันต้องเจรจาและตกลงกันนให้ได้ ก่อนที่จะแจ้งไปยังนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาคนที่สอง เพื่อนัดประชุมให้เป็นมติร่วมกันอีกครั้ง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล
ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ