ทีมนโยบาย เพื่อไทย เผยดิจิทัลวอลเล็ต คาดทยอยโอน 2-3 งวด ไม่ใช่ทีเดียวเลย

ทีมนโยบายเพื่อไทย เผยดิจิทัลวอลเล็ต คาดทยอยโอน 2-3 งวด ไม่ใช่ทีเดียวเลย หนึ่งหมื่นบาท ย้ำหากพรรคทำไม่ได้ ก็เก็บของกลับบ้าน

3 ก.ย. 2566- นายกิตติ ลิ่มสกุล รักษาการรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และหนึ่งในคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายพรรคเพื่อไทย ที่เป็นอดีตผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2541 ที่ร่วมทำนโยบายกองทุนหมู่บ้าน- โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP เป็นต้นกล่าวถึงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ให้ประชาชนคนละหนึ่งหมื่นบาท ที่เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของเพื่อไทยตอนเลือกตั้งว่า ดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ใช่บิตคอยน์  แต่เป็น โทเคน (Token) ที่จะเป็นเหรียญ-กระดาษ-คูปอง ก็ได้ เรียกว่า”สิทธิ”ที่เป็นเรื่องที่ทำได้ ถูกกฎหมาย เป็นไปตามพรบ.ดิจิทัลฯ  ใครมาบอกว่าผิดกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย ยืนยันว่าไม่จริง เรื่องนี้เคยเถียงกันมาแล้ว เพราะมันไม่ใช่เหรียญของธปท. แต่มีเงินแบ็คอัพให้ที่เป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน เหมือนกระเป๋าตังค์ โดยการบริหารจัดการสามารถปรับได้ เช่นการใช้เงินที่ให้ใช้ในรัศมีไม่เกิน 4 กิโลเมตรของคนที่ได้เงิน  ก็สามารถปรับได้ ไม่ยากเพราะเขียนด้วยบล็อกเชน เช่นประชาชนบางส่วนอยู่ในพื้นทีห่างไกล อยู่แถบภูเขา ก็สามารถขยายพื้นที่การใช้เงินให้ได้ สำหรับนัมเบอร์ดังกล่าว อาจขยายให้ไปถึงสิบกิโลเมตรก็ได้

นายกิตติ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องแนวนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ระบุว่า เงินที่จะให้หนึ่งหมื่นบาท อาจจะไม่ได้ให้ทีเดียวเลย หนึ่งหมื่นบาทต่อคน คาดการว่าอาจจะให้เป็นงวดๆ ประมาณ 2-3 งวด  มันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ทีเดียวเลยหนึ่งหมื่นบาท โดยอาจจะให้สองรอบ เช่นในช่วงจังหวะดีๆ อย่างเทศกาลสงกรานต์ แต่ก่อนสงกรานต์อาจมีก่อนหนึ่งงวด เช่น 2,500 บาท จากนั้น ให้รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจประเมินผล หากรายงานมาว่าได้ผลดี คนจับจ่ายซื้อของกันดี คนขายของก็เข้าสู่ระบบภาษี แบบนี้อาจให้อีกงวด 2,500 บาท แล้วเข้าเดือนเมษายน ก็ให้ไปอีก 5,000 บาท ก็ครบหนึ่งหมื่นบาท และระหว่างการทำ ต้องมีการบริหารCash Flow ด้วย พวกที่มาวิจารณ์ว่าจะเจ็ง ผมถามว่าจะเจ๊งได้ยังไง เพราะการทำ ต้องมีเงินเข้ามาถึงจะทำได้ หากงบยังไม่พร้อม ก็จะบอกประชาชนว่าขอให้รอก่อน ขัดข้องทางเทคนิคเล็กน้อย แต่ให้แน่นอน ก็จะอยู่ในช่วง ม.ค.-พ.ค. 2567 แต่มกราคมอาจไม่ทัน รอบแรกน่าจะอยู่ในช่วงก.พ.หรือมี.ค. แต่สงกรานต์ได้แน่นอน และจะได้เยอะ

นายกิตติ กล่าวต่อว่าผลของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ตามหลัก”ผลกระทบทวีคูณ”ทางเศรษฐศาสตร์ สมมุติหากจ่ายไปหนึ่งบาท จะเกิดคลื่น เหมือนโยนหินลงไปในน้ำ จะเกิดคลื่นหมุนเวียนกี่รอบ  ที่ไม่ใช่จีดีพี เรื่องนี้อยู่ที่แต่ละคนจะมีหลักทฤษฎีในการคิดอย่างไร บางคนอาจบอกว่าจะเกิด 2-3 รอบ แต่ผมว่าไม่ใช่ แต่จะเกิดถึง 6 รอบ โดยคิดจากการบริโภคหน่วยสุดท้าย ( Marginal Propensity to Consume / MPC) ที่เท่ากับหนึ่งหารด้วยหนึ่งลบ เท่ากับMPC เช่น มีเงินหนึ่งร้อยบาท จะใช้เงินเท่าใด ที่ประชาชนแต่ละกลุ่มจะใช้ไม่เหมือนกันอย่าง คนรวยมีเงินหนึ่งร้อยบาท จะใช้ประมาณ .40 เปอร์เซ็นต์  แต่คนจน จะใช้มากกว่าอาจประมาณ .75 เปอร์เซ็นต์เพราะคนรวยมีเม็ดเงินเยอะ จึงมีสัดส่วนของเงินที่มากกว่าที่จะนำไปใช้จ่ายได้ เพราะฉะนั้นถ้าคนจนเยอะ แล้วอยู่ในจุด bottom   หากใส่เงินเข้าระบบไปหนึ่งบาท คนมีรายได้น้อยจะใช้เงินเกือบหมด แต่หากเป็นคนรวย จะใช้ไม่มาก แต่จะเก็บเยอะ แต่เราอยากให้เหลือน้อย เพราะอยากให้ใช้เยอะๆ

“การหมุนเวียนดังกล่าวหากใช้ดิจิทัลวอลเล็ต นักวิชาการบางคนบอกว่า จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตประมาณ3 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ก็อยู่ที่จะมีตัวรั่วหรือไม่ เช่นสินค้านำเข้า เพราะคนรวย ก็จะนำสินค้าแบนด์เนมเข้ามา ทำให้ตัวรั่วเยอะ แต่คนมีรายได้น้อยก็จะซื้อของในประเทศ อย่างเราคาดว่าจีดีพีจะโตที่3-3.5 เปอร์เซ็นต์แต่หากหลังมีการดำเนินการตามนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ก็อาจไปได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ยืนยันว่านโยบายดังกล่าว เพื่อไทยทำแน่ หากไม่แน่ ก็กลับบ้าน”นายกิตติระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปชน.' ตีปี๊บ! 1 ปีฝ่ายค้านผลงานเพียบ เมินเรตติ้งร่วง โต้ฮั้ว พท.

'พรรคประชาชน' โวผลงานฝ่ายค้าน 1 ปี' เสนอกฎหมาย 84 ฉบับ ตั้งเป้าทำงานผสมผสานได้ทั้ง 'รุก-รับ' ปัดฮั้ว 'เพื่อไทย' เมินผลโพลคะแนนร่วง เปรียบ 'เตะบอล' ต้องรอจบ 90 นาที

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน

'ไพบูลย์' เบรกหัวทิ่มมือกฎหมายเพื่อไทย  คลอดประชามติ 2 ครั้ง

“ไพบูลย์” โต้ ”ชูศักดิ์“ ใช้คำวินิจฉัยส่วนตน 6 ตุลาการอ้างทําประชามติ 2 ครั้งไม่ได้ บอก ต้องยึดคําวิฉัยกลาง ชี้มีแค่แก้รายมาตราเท่านั้นไม่ต้องทำ

อดีตคนธปท.ต้านแทรกแซง

แรงต้านแทรกแซงแบงก์ชาติขยายวง อดีตพนักงาน ธปท.อีก 416 คน ร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึก ยกจรรยาบรรณประธานบอร์ดห้ามเอี่ยวการเมือง เรียกร้องคณะกรรมการสรรหาฯ