3 ส.ค. 2566 – สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง รัฐบาลใหม่ ในใจประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวน 1,137 ตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 2 กันยายน พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลสำรวจพบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.3 ระบุไม่มีช่วงเวลาของนักการเมืองฉลองความสุขชัยชนะได้เป็นรัฐมนตรี (ม่มีเวลาฮันนีมูน) ในขณะที่ร้อยละ 15.7 ระบุมีได้ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.8 ต้องการให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เร่งลงพื้นที่สัญจร ครบทุกภาคทั่วประเทศ ในขณะที่ ร้อยละ 14.2 ไม่ต้องการ
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึง ปัญหาเร่งด่วนให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่แก้ไขทันที ลดความเดือดร้อนของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ระบุ ปัญหาปากท้อง สินค้าราคาแพง ค่าใช้จ่ายสูง ร้อยละ 72.5 ระบุ ปัญหา แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มิจฉาชีพ หลอกลวง อาชญากรรมออนไลน์ ร้อยละ 71.1 ระบุปัญหายาเสพติด ร้อยละ 68.9 ระบุ ปัญหา อาชญากรรมทั่วไป ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น ลัก จี้ ชิง ปล้น อันธพาล มาเฟีย เป็นต้น ร้อยละ 65.2 ระบุ ปัญหาเด็กเยาวชน การศึกษา ร้อยละ 62.4 ระบุ ปัญหา ทุจริต คอรัปชัน ร้อยละ 57.8 ระบุ ปัญหา มลพิษ สิ่งแวดล้อม ปัญหาฝุ่น รถควันดำ ขยะล้นเมือง ร้อยละ 56.4 ระบุ ปัญหา สุขภาพ การเข้าถึงยากสถานพยาบาลที่ดีในการรักษาโรค ร้อยละ 43.3 ระบุ ปัญหา เกษตรกร ราคาพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 12.7 ระบุ ปัญหา อื่น ๆ คนเร่ร่อน คนว่างงาน อุบัติเหตุ ปัญหาที่ทำกิน เป็นต้น
ที่น่าสนใจ คือ เมื่อถามถึงระดับการยอมรับของประชาชนต่อ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายเศรษฐา ทวีสิน พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.9 ยอมรับมากถึงมากที่สุด เพราะ มีความรู้ความสามารถ เชื่อว่าจะทำตามที่พูด จะได้เงินก้อน แก้ปัญหาได้ตรงที่ต้องการคือแจกเงินก้อน และเพราะเป็นคนประสบความสำเร็จทางธุรกิจมาก่อน เชื่อมั่นจะแก้ปัญหาปากท้องได้ ชอบพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ ร้อยละ 32.5 ยอมรับระดับปานกลาง เพราะ จะลองดู ใครเป็นก็ได้ ไม่เกี่ยวกัน เฉย ๆ ใครเป็นก็เป็นไป และ ร้อยละ 13.6 ยอมรับน้อยถึงไม่ยอมรับเลย เพราะ อยากให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
รายงานของซูเปอร์โพล ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีเวลาฮันนีมูน แต่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายเศรษฐา ทวีสิน ได้รับการยอมรับจากประชาชนในระดับที่มีพลังสนับสนุนมากพอที่จะพิสูจน์ตนเองและคณะรัฐมนตรีเพราะประชาชนหวังว่าจะทำตามที่พูด จะได้เงินก้อนแก้ปัญหาภาระหนี้สิน และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และเชื่อในความรู้ความสามารถของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่เร่งประชุมสัญจรครบทุกภาคของประเทศ เข้าถึงประชาชนรับข้อมูลจากประชาชนตรง ๆ ในระดับพื้นที่จะช่วยเสริมสร้างฐานสนับสนุนจากประชาชนมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะในการขยายฐานสนับสนุนจากสาธารณชนควรทำ 3 เร่ง คือ เร่งรวบรวมทรัพยากรมาอยู่ที่หน้าตักเพื่อส่วนรวม เร่งทำให้การรวบรวมทรัพยากรถูกต้องตามกฎหมาย และเร่งกระจายทรัพยากรให้ประชาชนอย่างทั่วถึงแก้ทุกปัญหาสำคัญของประชาชนทุกหมู่เหล่าครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธนกร' แนะรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นใช้จ่ายเป็นของขวัญปีใหม่คนไทย!
'ธนกร' ขอนายกฯ-รัฐบาล สร้างความมั่นใจ หลังโพลเผย ปชช.ห่วงขัดแย้งการเมือง ฝากเร่งเครื่องแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องด่วน แนะออกมาตรการกระตุ้นใช้จ่ายส่งท้ายปีเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทย
ซูเปอร์โพลชี้ประชาชนพึงพอใจการทำงานของตำรวจในคดี ดิไอคอน
สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความพึงพอใจต่อผลงานตำรวจคดี ดิไอคอน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ
ซูเปอร์โพล เผยคนไทยกังวลรัฐทุ่มงบประมาณกับแรงงานต่างด้าว
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความเห็น ต่อ สิทธิแรงงานต่างชาติ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น
โพลชี้ประชาชนอยากรู้เหตุ รถบัสนักเรียนไฟไหม้ และหาทางป้องกัน
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความปลอดภัยรถทัศนศึกษา ใครต้องรับผิดชอบ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ
ศปช.กางข้อมูลยันไม่ซํ้ารอยปี54
ประชาชนปลื้มปีติ "โรงครัวพระราชทาน-ถุงยังชีพ" ช่วยผู้ประสบอุทกภัย
ซูเปอร์โพล เผยหน่วยงานใดรับผิดชอบแก้ปัญหาน้ำท่วม
สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง แก้น้ำท่วม กระทรวงใดช่วยจริงจังกรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนในพื้นที่น้ำท่วมทั้งในเขตเมืองและนอกเมืองภาคเหนือและอีสานตอนบน ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)