2 ก.ย.2566 - นายเชาว์ มีขวด อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า พิชิต ชื่นบาน “ถอนตัว” หรือ “ถูกถอด” ความจริงที่สังคมควรรู้
เมื่อวานนี้นายพิชิต ชื่นบาน ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทยประกาศถอนตัวไม่รับตำแหน่งรัฐมนตรี โดยกล่าวว่า “ ตามที่มีกระแส รวมถึงข้อกังขาเรื่องคุณสมบัติของตนในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขอยืนยันว่าคุณสมบัติตนครบถ้วนถูกต้องทุกประการ ไม่ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามใดๆ ทั้งสิ้น แต่เพื่อให้ประเทศชาติ และรัฐบาลเดินหน้าในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้โดยเร็ว เนื่องจากยังมีอีกหลายเรื่องที่เป็นเรื่องเร่งด่วน ผมจึงขอไม่รับตำแหน่งรัฐมนตรีในครั้งนี้ “
ถามทุกคนไม่มืใครเชื่อตามที่นายพิชิตแถลง และเชื่อว่านี่คือทางลงที่ยังซ่อนความจริงอยู่บางประการ เพราะก่อนหน้านายพิชิตแถลงเพียงหนึ่งวัน (31 ส.ค.2566) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้า การจัด ครม.เศรษฐา 1 ว่า คาดว่าพรุ่งนี้ (1 ก.ย.) จะสามารถตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่เสนอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้แล้วเสร็จ และหวังว่าจะสามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้เลย ส่วนกรณีคุณสมบัติ ของนายพิชิต ชื่นบาน ที่ถูกคาดการณ์ว่าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แม้นายวิษณุ เครืองาม บอกว่าไม่ขัดคุณสมบัติแต่อาจมีเรื่องปัญหาจริยธรรมตามมาภายหลัง ที่อาจถูกตรวจสอบหรือไม่นั้น นายเศรษฐากล่าวว่าเรื่องนี้ต้องให้ความเป็นธรรมกับว่าที่รัฐมนตรีทุกคน หากไม่ผิดต่อข้อกฎหมาย และตรวจสอบคุณสมบัติผ่านแล้วก็ถือว่าไม่ผิดจริยธรรม และในประเด็นจริยธรรมนี้กำลังขอความเห็นจากสำนักงานกฤษฎีกา ซึ่งน่าจะออกมาในวันพรุ่งนี้(วันที่ 1)
จึงเชื่อว่าสาเหตุที่นายพิชิต ประกาศถอนตัวไม่รับตำแหน่งรัฐมนตรี เพราะความเห็นของกฤษฎีกาไม่ให้ผ่าน ตามที่นายกเศรษฐา ส่งเรื่องไปขอความเห็น
ความเห็นของสำนักงานกฤษฎีกาเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายพิชิตที่ถูกศาลฎีกาลงโทษ จำคุก 6 เดือน ข้อหาละเมิดอำนาจศาล จนถูกสังคมตั้งคำถามถึงความเหมาะสม ในเรื่องจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 160 หรือไม่ จึงไม่ใช่เรื่องส่วนตัวที่แอบกระซิบกันเองเพื่อเป็นทางลงรักษาหน้าแก่นายพิชิตและพรรคเพื่อไทย แต่เป็นเรื่องสาธารณะที่สังคมควรรับรู้ โดยเฉพาะภาคประชาชนที่เป็นส่วนสำคัญในการกระตุกต่อมสำนึก ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการแต่งตั้งนายพิชิต จนกลายเป็นประเด็นร้อน นำไปสู่การขอความเห็นจากสำนักงานกฤษฎีกาในที่สุด
ผมจึงเรียกร้องให้นายเศรษฐา ทวีสิน ในฐานะนายกรัฐมนตรีผู้เสนอเรื่องไปขอความเห็นจากสำนักงานกฤษฎีกา ช่วยตอบความจริงกับสังคมเถอะครับว่า เรื่องที่ท่านสอบถามความเห็น เกี่ยวกับคุณสมบัติของนายพิชิตว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น สำนักงานกฤษฎีกาให้ความเห็นว่าเช่นไร นอกจากจะได้เป็นบรรทัดฐานแล้ว ท่านยังจะได้รับเสียงชื่นชมในฐานะผู้นำที่ให้ความสำคัญกับหลักจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตในการคัดคนเข้าสู่ตำแหน่งด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2
จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ