'สาทิตย์' ขวาง 'ปชป.' จับมือ 'เพื่อไทย' จัดตั้งรัฐบาล

15 ส.ค. 2566 - นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการประชุมพรรคเพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ว่า เรื่องนี้คงต้องรอให้มีความพร้อมในเรื่องของการพูดคุยให้เข้าใจก่อน เพราะว่าที่ผ่านมาไม่สามารถประชุมได้ราบรื่น 2-3 ครั้ง ก็ต้องยอมรับว่ามีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันอยู่ภายใน แล้วก็แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย อย่างชัดเจน และทั้ง 2 ฝ่ายนี้ต้องถือว่าที่ผ่านมาต่างฝ่ายต่างก็ยืนอยู่ในจุดยืนของตัวเอง และก็ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้

อย่างไรก็ตามตนคิดว่าถ้าทั้ง 2 ฝ่าย บอกว่าตัวเองรักพรรค อยากจะเห็นพรรคมีความก้าวหน้าและจะช่วยกันฟื้นฟูพรรคต่อไป มันก็ต้องสร้างบรรยากาศของการพูดคุยให้เกิดขึ้น ซึ่งมันก็เป็นไปได้ เพราะถ้าหากว่ายังยืนอยู่ในจุดยืนของตัวเองโดยที่ไม่รับฟังอีกฝ่ายหนึ่งโดยจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ มันก็ไม่มีทางที่จะให้ความคิดบรรจบกันได้ ซึ่งเมื่อความคิดมันบรรจบกันไม่ได้ ผลกระทบก็จะเกิดขึ้นกับความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อไป ต้องอย่าลืมว่าที่พรรคอยู่กันมานานขนาดนี้เพราะอยู่กันแบบพี่แบบน้อง เราอยู่กันแบบคนร่วมอุดมการณ์ เพราะฉะนั้นก็ต้องหาทางพูดคุยกัน ตนเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้

เมื่อถามถึงประเด็น ความคิดเห็นของนิด้าโพลว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าพรรคนั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า เรื่องของหัวหน้าพรรคต้องมีการพูดคุยกัน ส่วนโพลก็เป็นตัวสะท้อนที่ดีว่าประชาชนคิดอย่างไรกับพรรค และเชื่อว่าโพลนี้จะทำให้หลายๆคนในพรรคได้มองออกไปนอกพรรคมากขึ้น เวลาเลือกตั้งเขาไม่ได้เลือกตัวเอง ประชาชนเป็นคนเลือกพรรค เพราะฉะนั้นประชาชนคิดอย่างไรคนในพรรครับรู้แล้วที่จะต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาด้วย ตนเชื่อว่าอย่างนั้น และจะเป็นผลดีกับพรรค.

ถามถึงกระแสพรรคประชาธิปัตย์จะไปร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยนั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า ในเรื่องนี้ยังไม่ชัดว่าใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย อย่าไปรวมตัวบุคคลว่าใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยมากกว่า ยอมรับว่าในพรรคมีความคิด 2 กระแส กระแสหนึ่งมีความเห็นว่า การไปร่วมรัฐบาลมีโอกาสประสานงบประมาณมาพัฒนาพื้นที่ได้

ในขณะที่อีกฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการไปร่วมรัฐบาล ว่าจุดยืนทางการเมืองนั้นสำคัญ เพราะว่าครั้งที่แล้วที่เราไปร่วมรัฐบาลภายใต้พลเอกประยุทธ์ ผลที่เกิดขึ้นก็ถือว่าพรรคไม่ประสบผลสำเร็จในการเลือกตั้ง ซึ่งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการไปร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย หรือกับพรรคไหนก็ไม่ควรจะไปร่วม แต่พรรคประชาธิปัตย์ควรกลับมาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการตรวจสอบมากกว่า แล้วก็ใช้โอกาสนั้นในการฟื้นฟูพรรค

"ฉะนั้นความคิดเห็น 2 กระแสนั้น ถือว่ายังไม่จบเสียทีเดียว ซึ่งก็ต้องพูดคุยกันต่อไป แล้วก็ในโพลอันเดียวกันที่สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้เป็นหัวหน้าพรรค นิด้าโพลมีความคิดเห็นว่าพรรคไม่ควรไปร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ซึ่งอันนี้ก็เป็นความคิดเห็นที่คนในพรรคต้องหยิบมาทบทวนด้วย ซึ่งตนมองว่าทั้ง 2 ฝ่าย ก็มีเหตุผล แต่ว่ามันต้องคิดให้ลึกซึ้ง เราเคยเป็นรัฐบาลยุคพลเอกประยุทธ์แล้วไม่ประสบผลสำเร็จ การเป็นฝ่ายค้านมันไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใครๆหลายคนเข้าใจ ว่าฝ่ายค้านไปด่ารัฐบาล การเป็นฝ่ายค้านมันคือการทำหน้าที่แทนประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลด้วยซ้ำไป ตนอยากให้คนในพรรคมองให้ไกล มองว่าพรรคเองเราทำงานมา 70-80 ปี ที่เราอยู่ได้ เพราะประชาชนสนับสนุน เพราะฉะนั้นควรฟังเสียงประชาชนด้วย" นายสาทิตย์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา