ดาบสอง ศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 'ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์' อดีต ส.ส.พปชร. ตลอดชีวิต ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม ใช้อำนาจหน้าที่มิชอบเสียบบัตรแทนกัน
4 ส.ค.2566- ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมาที่ ศาลฎีกา สนามหลวง องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ คมจ.2/2564ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยื่นคำร้องกรณี น.ส.ธนิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ผู้คัดค้าน มีพฤติการณ์ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง กรณีเสียบบัตร ส.ส. แทนกันในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวันที่ 8 ส.ค.เวลากลางวันผู้คัดค้านลงชื่อเข้าร่วมประชุมสภาซึ่งมีการพิจารณาร่าง พรบ.เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10พ.ศ. ... โดยไม่ได้ลาประชุม แต่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุมระหว่างเวลาประมาณ 13.30-15.00 น.
ผู้คัดค้านฝากบัตร อิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติของตนกับ ส.ส.รายอื่น หรือบัตรของผู้คัดค้านอยู่ในความ ครอบครองของ ส.ส.รายอื่นโดยความยินยอมของผู้คัดค้าน เพื่อให้ ส.ส. รายนั้น ใช้บัตรของผู้คัดค้านกดปุ่มแสดงตนและลงมติแทนผู้คัดค้านในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเหรียญ ราชรุจิ รัชกาลที่ 10พ.ศ. ... วาระที่1 และวาระที่ 3 ทำให้ผลการ ลงมติ พรบ.ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม มีผลกระทบต่อกระบวนการตรากฎหมายของฝ่าย นิติบัญญัติ กระทบต่อเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้แทนปวงชนชาวไทย การกระทำของผู้คัดค้านเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
เหตุเกิดที่อาคารรัฐสภา แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ผู้คัดค้านฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงาน ธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561ข้อ6-8 ,11,17,21 ประกอบข้อ 27ให้ผู้คัดค้านหยุดปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ศาลฎีการับคำร้องจนกว่าจะมีคำพิพากษา ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนับแต่ วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้าน และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน10ปี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 พรป.ว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561มาตรา 87 ผู้คัดค้านให้การปฏิเสธ
องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานตามทางไต่สวนรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านไม่ได้อยู่ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และการที่ปรากฏชื่อผู้คัดค้านแสดงตนและลงมติ ทั้งสองครั้งมิได้เกิดจากความผิดพลาดของระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้คัดค้านเป็นผู้เก็บรักษาบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดง ตนและลงมติไว้กับตนเองและได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์นั้นลงมติมาตั้งแต่ก่อนจนถึงหลังเกิดเหตุอย่างต่อเนื่องทั้งวัน โดยไม่ปรากฏว่ามีบุคคลอื่นใดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในช่วงเกิดเหตุซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงไม่ถึง 2 ชั่วโมง กรณี จึงเป็นการยากที่จะมีผู้อื่นลักลอบเอาบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติของผู้คัดค้านไปและส่งกลับคืนให้โดย ผู้คัดค้านไม่รู้เห็นได้ หากมี ส.ส.รายอื่นนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงลงมติของผู้ คัดค้านไปใช้แสดงตนและลงมติในเวลาเกิดเหตุโดยผิดหลงดังที่ผู้คัดค้านอ้าง การที่ผู้คัดค้านได้รับบัตร อิเล็กทรอนิกส์คืนมาก็แสดงว่าส.ส.รายนั้นได้ทราบถึงความผิดหลงแล้ว ส.ส.คนดังกล่าวน่าจะต้องตรวจสอบและแจ้งให้มีการแก้ไขผลการลงมติ แต่ตามรายงานการประชุม สภาผู้แทนราษฎรวันเกิดเหตุกลับไม่ปรากฏว่ามี ส.ส.รายใดใช้บัตรผิดหลง ข้ออ้างของผู้คัดค้านจึงเลื่อนลอยไม่อาจรับฟังได้
หากบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติไม่ได้อยู่กับผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านกลับเข้ามาที่ห้อง ประชุมก็น่าจะต้องค้นหาบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของตนให้ได้คืนมาก่อนจะลงคะแนนหลังเกิดเหตุ ซึ่งย่อมจะเป็นเหตุ ให้ผู้คัดค้านและผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณนั้นรับรู้และจดจำเหตุการณ์ได้บ้าง แต่ผู้คัดค้านกลับกล่าวอ้างลอยๆ ว่าไม่ทราบ ว่าพบบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใดและไม่รู้สึกถึงความผิดปกติใดเลย นับว่าเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยเป็นอย่างยิ่ง ส่อแสดง ว่าจะเป็นการบ่ายเบี่ยงเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนพร้อมทั้งปกปิดชื่อ ส.ส.ที่เกี่ยวข้องกับ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติของผู้คัดค้าน พฤติการณ์แห่งคดีประกอบกันมีเหตุผลและน้ำหนัก ให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านได้ฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติแก่ ส.ส.รายอื่น การออก เสียงลงคะแนนของผู้คัดค้านจึงเป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ไม่สุจริต อันเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็นส.ส.ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ ทั้งขัดต่อหลัก ความซื่อสัตย์สุจริตที่ได้ปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ โดยเฉพาะการออกเสียงลงคะแนนจะกระทำแทนกันมิได้ มีผลทำให้การออกเสียงลงคะแนนของผู้คัดค้านเป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ทุจริต ถือได้ว่าเกิดความเสียหายแก่สภาผู้แทนราษฎรและปวงชนชาวไทยแล้ว การกระทำของผู้คัดค้านถือได้ว่าเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ฐานไม่รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ฐานไม่ถือผลประโยชน์ของประเทศชาติ เหนือกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเอง
นอกจากนั้น การกระทำของผู้คัดค้านดังกล่าวยังเป็นการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการ ดำรงตำแหน่ง และฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ และยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมโปร่งใส และตรวจสอบได้ และไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ และความผาสุกของประชาชนโดยรวม แต่มูลเหตุที่ทำให้ผู้คัดค้านกระทำการการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม ส่วนนี้เกิดจากผู้คัดค้านได้เตรียมจัดงานเสวนาหัวข้อ “การเลี้ยงดูลูกในยุคสมัยดิจิทัล” ซึ่งเป็นโครงการกิจกรรมวันแม่ ประจำปี 2562 โดยกำหนดวันจัดงานไว้ล่วงหน้าและนัดหมายวิทยากรรวมทั้งได้ประชาสัมพันธ์แก่ผู้มาร่วมงานไปก่อนแล้ว ประกอบกับร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว การกระทำในส่วนนี้จึงยังไม่พอ ถือได้ว่าเป็น กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่มีลักษณะร้ายแรง
ส่วนข้อที่ผู้ร้องกล่าวหาว่า ผู้คัดค้านกระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ ส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมนั้น เห็นว่า ผู้คัดค้านมิได้กระทำไปในลักษณะที่เข้ามีส่วนได้เสียในการทำ สัญญากับหน่วยงานของรัฐที่ผู้คัดค้านปฏิบัติหน้าที่หรือมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบ หรือได้เข้าไปมีส่วนได้ เสียหรือทำงานกับเอกชนที่เป็นคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด ทั้งการที่ผู้คัดค้านให้ ส.ส.ราย อื่นใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของตนเพื่อทำการแสดงตนและลงมติแทนนั้นก็ไม่ปรากฏว่าอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือการครอบงำใด ๆ ของบุคคลอื่น กรณียังถือไม่ได้ว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับ ประโยชน์ส่วนรวมตามคำร้อง
พิพากษาว่า ผู้คัดค้านฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กร อิสระ พ.ศ. 2561 ข้อ 6-8ประกอบข้อ 27วรรคหนึ่ง ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่11 ส.ค.64 อันเป็นวันที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้คัดค้านหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้านตลอดไป และ ไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 235 วรรคสามและวรรคสี่ พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561มาตรา 87ประกอบมาตรา 81คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนของคดีอาญาก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์ลงโทษยืนจำคุก 1 ปี ปรับ 2 แสนบาท รอลงอาญา 2 ปีน.ส.ธณิกานต์ ใช้อำนาจหน้าที่มิชอบเสียบบัตรแทนกัน กรณีเดียวกันนี้ก่อนตัดสิทธิทางการเมืองในวันนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จุลพงศ์' อัด 'กรมที่ดิน-รฟท.' ยื้อปม 'เขากระโดง' ให้วนเวียนเอื้อประโยชน์นักการเมือง
'จุลพงศ์' ยันคำพิพากษา 'เขากระโดง' เป็นกรรมสิทธิ์รฟท.สามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ อัด'กรมที่ดิน' ใหญ่กว่าศาลเลือกปฏิบัติเพิกถอนสิทธิ์บางแปลงแต่บางแปลงตั้งกก.สอบสวน เอื้อนักการเมือง ข้องใจ 'รฟท.' ไม่เลือกวิธีฟ้องกรมที่ดินให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ทำให้วนเวียนล่าช้า
ภาคปชช.งัดคำพิพากษา จี้ 'อธิบดีกรมที่ดิน' เพิกถอนสิทธิ์ 'ที่ดินเขากระโดง' ให้เป็นไปตามกฎหมาย
นายพลภาขุน เศรษฐญาบดี ตัวแทนผู้ประสานงาน คณะราษฎรไทยแห่งชาติ (ครช.) และอดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา(สว.) กลุ่ม 17 จ.นครปฐม ได้ยื่นหนังสือทักท้วง อธิบดีกรมที่ดิน กรณีที่ดินเขากระโดง ใช้อำนาจไม่เป็นไป ตามกฎหมาย ม.61 มีใจความว่า
'ดร.อาทิตย์' ข้องใจทำไม พระบรมราชโองการ-คำพิพากษาศาลฎีกา ไม่ได้รับการปฏิบัติตาม
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
'นิพิฏฐ์' กาง 3 ข้อชัดๆ ว่าแบบไหนขายตรงหรือฉ้อโกง
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุงโพสต์เฟซบุ๊ก
อดีตอัยการสูงสุดงัดคำพิพากษาศาลฎีกาตบหน้าพวกอยากร้องขอความเป็นธรรมไปเรื่อยๆ
นายตระกูล วินิจนัยภาค อดีตอัยการสูงสุด (อสส.) โพสต์เฟซบุ๊กสั้นๆ
'อนุทิน' ชี้ศาลฎีกาฟัน 3 สส.ภูมิใจไทย พิสูจน์ชัดเจนไม่มีใครช่วยเหลือกันได้
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งจำคุก-ตัดสิทธิทางการเมือง 3 สส. ภูมิใจไทย