‘สมชาย’ ชี้ไม่จำเป็นต้องแก้ ม.272 รอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 16 ส.ค. เดินหน้าโหวตนายกฯ ซัดเลิกเล่นเกม หวังตีหัวเข้าบ้าน หาเรื่องหลอกด่า สว.
4 ส.ค. 2566 – ที่รัฐสภา นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวถึงวาระการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ว่า คิดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไข เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการแก้กฎหมาย หากวันที่ 16 ส.ค. ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่าการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นญัตติหรือไม่ และสมมติว่าศาลไม่รับ ก็สามารถเดินหน้าเลือกนายกรัฐมนตรีได้ต่อ แต่หากมาตรา 272 สามารถแก้ผ่าน จะต้องมีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญว่ารัฐสภากระทำมิชอบ เพราะกฎหมายมาตรานี้ทำประชามติมา จึงก็ต้องหยุดการโหวตนายกฯ มิเช่นนั้น จะเกิดปัญหาเดียวกับที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นเรื่องไปก่อนหน้านี้
นายสมชาย กล่าวว่า การยื่นแก้ไขกฎหมายนี้ เป็นการเล่นการเมืองที่ไม่ถูกต้อง ตนสนับสนุนให้มีการเลือกนายกฯ ให้เสร็จ หากเลือกเสร็จกฎหมายนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะอีก 10 เดือน ก็หมดอายุตามสภาพกฎหมาย ในวันที่ 11 พ.ค. 67 โดยส่วนตัวไม่มีปัญหาที่จะเข้าไปอธิบายหรือชี้แจง เพราะเป็นเรื่องธรรมดามาก ที่ผ่านมามีความพยายามยื่นแก้ไขกฎหมายนี้กว่า 6 ครั้ง และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7 ซึ่งมีแนวโน้มได้เสียง สว. ลดน้อยลงเรื่อย ๆ
“กฎหมายนี้ไม่มีความจำเป็นต้องไปแก้หรือยกเลิก เว้นแต่จะมีการแสร้งไม่เข้าใจ และเล่นแต่การเมือง เป็นปัญหาที่ทำให้คนไทยเบื่อการเมือง เพราะนักการเมืองเล่นการเมืองอยู่แบบนี้ หวังตีหัวเข้าบ้าน และไปด่า สว. รวมทั้งดิสเครดิต สว. เพื่อหวังผลระยะยาวให้มีสภาเดียว จึงเป็นการเล่นการเมืองที่ไม่ตรงไปตรงมา ยืนยันว่าถ้ากฎหมายนี้เข้ามาไม่เห็นด้วย จะไม่โหวตให้ผ่าน แต่ถ้าผ่านผมจะไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญตามหน้าที่” นายสมชาย ระบุ
นายสมชาย กล่าวว่า การยื่นแก้ไขกฎหมายนี้ ไม่ใช่ของสนุกที่จะเล่นไปได้เรื่อยๆ เลิกเล่นเป็นเด็ก ซึ่งตอนนี้ สว. พร้อมเลือกนายกฯ แล้ว การเล่นเกมแบบนี้ไม่เหมาะสม โดยส่วนตัวมองว่าประธานสภาควรสั่งงดการประชุม เหมือนที่ผู้ตรวจการแผ่นดินสั่งงด ซึ่งในวันนั้นก็มี 2 วาระเช่นเดียวกับวันนี้
ส่วนการประชุมวันนี้ที่ สว. เข้าร่วมประชุมน้อย นายสมชาย กล่าวว่า ไม่ใช่แค่ สว. แต่ สส. ก็ไม่เข้าร่วม ไม่แน่ใจว่าองค์ประชุมจะครบหรือไม่ ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณากฎหมาย ทำให้เปลืองเวลาสภา เปลืองงบประมาณ ไม่เข้าใจว่าจะประวิงเวลาไว้ทำไม เพื่อรอเวลา 10 เดือน ซึ่งตอนนี้ประเทศจำเป็นที่จะต้องมีนายกฯ แล้ว ที่ผ่านมา สว. ไม่เคยปฏิเสธที่จะเลือกนายกฯ เพียงแต่ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติ หากไม่พร้อมก็ต้องยอมรับ ซึ่งพิจารณาทั้งตัวบุคคล และนโยบาย หากพรรคร่วมรัฐบาลไม่มีปัญหา สว. ก็ให้ความเห็นชอบอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมา “คุณไม่เคยสำรวจตัวคุณเองเลย เที่ยวโทษคนอื่นตลอดเวลา”
เมื่อถามว่า วาระการโหวตนายกฯ ถูกเลื่อนออกไปหลายครั้ง มองอย่างไร นายสมชาย ระบุว่า ถือเป็นปกติตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 88 และมาตรา 89 ได้กำหนดชัดอยู่แล้วว่าแต่ละพรรคส่งชื่อแคนดิเดตนายกฯ ได้ไม่เกิน 3 คน หากคนแรกไม่ได้ ก็ต้องให้ลำดับถัดไป ในบัญชีแคนดิเดต มีตั้งหลายคน จะให้เราเลือกคนเดียวเหรอ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2
จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง
ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ