มือกฎหมายมหาชน อ่านเกมการเมือง ดีลข้ามขั้วอำนาจสำเร็จ แต่เกิดการลุกฮือของประชาชน!

26 ก.ค.2566 - จากกระแสการเมืองร้อนแรงที่ผ่านมาเกิดกระแสดีลข้ามขั้วอำนาจ โดยพรรคเพื่อไทยเชิญพรรคการเมืองขั้วอำนาจเก่ามาพูดคุยปัญหา ต่อมาผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเห็นว่า การกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจึงมีความเห็นส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จึงเกิดข้อถกเถียงกันว่า ข้อถกเถียงในการประชุมรัฐสภาว่า การเสนอโหวตชื่อ นายพิธาฯเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นญัตติหรือการกระทำ รวมทั้ง สมาชิกวุฒิสภารักษาการมีอำนาจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่

ล่าสุด ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ“ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง กล่าวถึงว่า ตนจะอธิบายและให้ความรู้กฎหมายมหาชน อันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนที่สนใจเพราะคำถามนั้นเป็นประโยชน์สาธารณะแก่ประชาชนที่สนใจ ว่า ตนเคยฟันธงหลังเลือกตั้งว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีและการโหวตเลือกนายพิธาฯเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 จะเกิดการตีรวนตีความญัตติข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 โดย สว.จะงัดการแก้ไขมาตรา 112 มาบดขยี้ ทำให้นายพิธาฯไม่ถึงฝั่งฝัน เป็นไปตามที่ตนวิเคราะห์อย่างแม่นยำ

ข้อถกเถียงในการประชุมรัฐสภาว่า การเสนอโหวตชื่อ นายพิธาฯเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นญัตติหรือการกระทำ นั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 การกระทำของสมาชิกรัฐสภาขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นอำนาจวินิจฉัยในวงงานของฝ่ายนิติบัญญัติ อำนาจตีความของสภาเป็นที่สุด ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาตรา5วรรคหนึ่งบัญญัติว่า การกระทำใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ การกระทำนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้ เป็นอำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย หากพิจารณาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7(2)(8) เป็นคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า การโหวตเสียงว่า การเสนอชื่อนายพิธาฯบุคคลคนเดียวกันเป็นญัตติซ้ำหรือไม่ ข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นการโหวตเสียงของสมาชิกรัฐสภาในประเด็นโหวตรายชื่อบุคคลคนเดียวกันที่ตกไปแล้วเป็นญัตติซ้ำหรือไม่ ในวันประชุมสภาวันที่ 19 ก.ค.2566 ถือว่าเป็นการกระทำ ย้ำนะครับว่า เป็นการกระทำ ไม่ได้ไปโต้แย้งว่า ข้อบังคับชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญและศาลย่อมมีอำนาจใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาได้

ส่วนข้อที่ถามว่า กระแสการดีลข้ามขั้วจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชน กล่าวว่า ตนเคยวิเคราะห์ว่า ว่าใครจะเข้าวินนายกรัฐมนตรี มีตัวแปรอะไรบ้าง 3 แนวทาง ให้ประชาชนสังเกตว่า วันนี้วันครบรอบ 74 ปี วันคล้ายวันเกิดนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยคราวนี้ บุตรสาว อุ๊งอิ๊ง แพรทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ประกาศแจ้งข่าวว่า นายทักษิณฯจะกลับประเทศในวันที่ 10 สิงหาคม 2566 การดีลข้ามขั้ว จะเกิดขึ้นได้จากการเมือง 3 ก๊ก ได้แก่ กลุ่มแรก นายห้างดูไบ(นายทักษิณฯ) อำนาจต่อรองจะมีมากที่สุดในการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาล หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หากจะกลับบ้านได้ จะต้องกลับประเทศได้ ต้องอาศัยช่วงนี้ หากพ้นจากนี้ ไม่ต่างจากนายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี กลุ่มที่สอง หมอผีเขมร (ชื่อพม่า หน้าลาว เว้าเขมร) เห็นได้จากหัวหน้าพรรคพร้อมบุตรชายหมอผีเขมรที่มีอำนาจสูงสุด เดินทางมาที่พรรคเพื่อไทย กลุ่มที่สาม 3 ป. เหลือ ป.ประวิตร คนเดียวที่ยังสู้ โดยมีนายสันติ พร้อมพัฒน์และ รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เดินเกม จะเห็นได้จาก วงแตกในขณะเจรจาเพราะมีแกนนำทะลุวัง คนของก้าวไกลมาประท้วง กลเกมการเมืองวางเกม ให้พรรคการเมืองข้ามขั้วเดินทางไปหาพรรคเพื่อไทย เป็นเทคนิกสร้างความชอบธรรมให้กับพรรคเพื่อไทย ประหนึ่งแสดงละครให้ประชาชนเห็นว่า เชิญพรรคการเมืองขั้วอำนาจเก่ามารับฟังปัญหา เป็นเพียงเกมสับขาหลอกเพื่อฉีก MOU 8 พรรคตามธงที่กำหนดไว้ สอดรับกับเสียง สว.จะโหวตให้ โดยไม่เน้นตัวบุคคล หากไม่มีพรรคก้าวไกล อ้างแก้ไขมาตรา 112 ให้ประชาชนสังเกต นายห้างดูไบ จะบัญชาการข้ามประเทศ(ดีลฮ่องกง) การเมืองสามก๊กได้ดีลข้ามขั้วกันเรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้พรรคก้าวไกล ไทยสร้างไทย ประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายค้าน

แม้การดีลข้ามขั้วสำเร็จ และเก็บอุดมการณ์ไว้ในลิ้นชัก “มีลุงไม่มีเรา” เพื่อแสวงหาอำนาจ มากกว่าอุดมการณ์ จะเห็นปรากฎการณ์ประชาชนผู้สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย จะลงถนน แต่เกิดการลุกฮือของประชาชน ไม่ต่างจากพฤษภาคม 2535

ข้อที่ถามว่า เกมการเมือง หากก้าวไกลกับ 8 พรรคร่วม จะรอ สว.พ้นจากตำแหน่ง หาก สว.รักษาการ มีอำนาจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชน กล่าวว่า ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 272 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ หมายความว่า รัฐสภาชุดแรก มีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 และครบกำหนดวันที่ 23 มีนาคม 2567 โดยมีราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2562 สมาชิกกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มนับตั้งแต่วันที่ วันที่ 11 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไปจะครบกำหนดวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ดังนั้นจะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป สมาชิกวุฒิสภา ไม่มีอำนาจมีมติเห็นชอบในการเลือกนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 272 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 159 วรรคท้าย หากในระหว่างรักษาการต่อไป ย่อมไม่มีอำนาจมีมติเห็นชอบในการเลือกนายกรัฐมนตรีเช่นกัน ตนมองว่า หลักการจัดตั้งรัฐบาลในการบริหารประเทศ แม้จะมีคณะรัฐมนตรีรักษาการก็ตาม ควรจะจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว ไม่ควรรอให้ สว.หมดวาระ ทั้งเกิดตัวแปร คือ นายพิธาฯ ถูกศาลรัฐธรรมนูญเชือดกรณีถือครองหุ้นสื่อไอทีวี แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า การโหวตซ้ำครั้งที่สอง จะเป็นการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ส่งผลให้เสนอรายชื่อนายพิธาฯซ้ำก็ตาม แต่นายพิธาฯขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) ประกอบมาตรา 160 (6)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล

ที่บริเวณ​หน้าศาลรัฐธรรมนูญ​ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ

จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ