สว.เสรี เฉ่งผู้ตรวจฯ กลางวงประชุม ยื่นศาลรธน.เพราะกลัวทัวร์ลง?


25 ก.ค.2566 - ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม มีวาระพิจารณารายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และรายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564

ช่วงหนึ่งของการพิจารณา นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. อภิปรายผู้ตรวจการฯ มีมติส่งคำร้องของภาคประชาชน 17 คำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยมติที่ประชุมรัฐสภา ของวันที่ 19 ก.ค. ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ พร้อมกับขอให้ศาลฯหยุดการโหวตนายกฯไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีวินิจฉัยสิ้นสุด ว่า ผู้ตรวจการฯไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าว และข้อมูลที่ยื่นเป็นเพียงข้อมูลด้านเดียว และตอนนี้ที่มีการพูดว่าข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ41 ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญนั้น ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น

“ผู้ตรวจการแผ่นดินให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนและเน้นประเด็นว่าข้อบังคับใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ทำให้สังคมเข้าใจผิด สับสน ทั้งที่รายละเอียดของการประชุมนั้นไม่ใช่ อีกทั้งยังมีคนวิจารณ์ประธานรัฐสภาเสียๆ หายๆ ว่าไม่กล้าตัดสินใจทั้งที่ประธานรัฐสภาทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับแล้ว ดังนั้นผมขอให้เอาข้อมูลไปบอกกรรมการผู้ตรวจการแผ่นดินว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ครบถ้วน และสิ่งที่ทำนั้นท่านไม่มีสิทธิยื่นด้วยซ้ำ” นายเสรี กล่าว

นายเสรี กล่าวอีกว่า แต่เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินทำไปแล้ว อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา ตนไม่ก้าวล่วง แต่เป็นห่วงการทำงานหลังจากนี้ว่าจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ คุ้มค่ากับงบประมาณที่จัดสรรให้แต่ละปีหรือไม่ การทำงานต้องไม่ทำตามกระแส หรือมีคนยื่น 17 เรื่องเป็นกระแสกดดันให้ต้องส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เข้าใจว่าอาจกลัวทัวร์ลง แต่การทำงานต้องมีมาตรฐาน เพื่อให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยและยึดมั่นรัฐธรรมนูญที่แบ่งอำนาจหน้าที่ไว้ เป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

นายเสรี กล่าวต่อว่า เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่ในสภา ใช้ดุลยพินิจของสมาชิกปัจจุบันที่ทำงานร่วมกัน 750 คน การทำหน้าที่ในรัฐสภาเป็นอำนาจสูงสุดของประเทศ เป็นอำนาจอธิปไตยของชาติ ต้องมีดุลถ่วงอำนาจซึ่งกันและกัน ดังนั้นสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 230 และ มาตรา231 กำหนดชัดเจนว่าต้องแก้ปัญหาใน 2-3เรื่องเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจสูงสุดของประเทศ คือ มติของรัฐสภา ไม่เช่นนั้นการใช้อำนาจอาจเกิดปัญหากับชาติได้ การตัดสินเรื่องใด ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องกลั่นกรอง ตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ ความสามารถ ว่าเรื่องใดขัดกับรัฐธรรมนูญ หรือขัดกับหลักแบ่งแยกอำนาจหรือไม่

นายเสรี กล่าวด้วยว่า กรณีที่ผู้ตรวจการฯขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งรัฐสภาหยุดการเลือกนายกฯ รอบ3 ไว้ก่อน จะเป็นไปได้อย่างไร เพราะบ้านเมืองต้องมีนายกฯ ต้องมีรัฐบาล กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินทำนั้นทำให้บ้านเมืองเสียหาย ตนไม่ห้ามการใช้ดุลยพินิจ แต่ของติงว่ากรณีที่ขอให้รัฐสภาไม่ทำหน้าที่ต่อนั้น ไม่ใช่งานของผู้ตรวจการแผ่นดิน และหากจะบอกว่าเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ถูกละเมิด ตนมองว่าเรื่องนี้ไม่ใช่สิทธิเสรีภาพโดยตรงของประชาชน

ด้านนายทิฆัมพร ยะลา รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการฯ ชี้แจงว่าจากการทำงานของผู้ตรวจการฯที่ผ่านมา มีการประเมินชี้วัดต่างๆ ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าประเมินผลงานอยู่ที่ 62% ถือว่าสูงสุดในองค์กรอิสระ และเป็นพยานยืนยันว่าทำงานมีประสิทธิภาพ สำหรับการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญนั้น ผู้ตรวจการฯพิจารณาบนข้อกฎหมาย ระเบียบและปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่าคำร้องที่ยื่นนั้นมีองค์ประกอบครบถ้วน ส่วนเรื่องที่ขอให้ชะลอเลือกนายกฯ นั้น มองว่าหากหากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ข้อปฏิบัติตามมติรัฐสภา หากขัดหรือแย้ง อาจมีผลเสียกับการเลือกนายกฯได้ จึงยื่นไปยังศาลรัฐธรรมนูญด้วย ส่วนศาลจะพิจารณาหรือไม่ ก็แล้วแต่ศาลรัฐธรรมนูญ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สิริพรรณ นกสวน' อาจารย์จุฬาฯ ลงสมัครชิงเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะหน่วยธุรการ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน เพื่อมาแทน นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรธน.

ชาวบ้านเกาะเต่า ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลปค. เพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดบนเกาะ

นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่

กกต. ยื้อ 'หมอเกศ' เลื่อนถกคุณสมบัติจบดอกเตอร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมการ​การ​เลือกตั้ง​ (กกต.) ยังไม่ได้มีการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบกรณีพ.ญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย  สมาชิกวุฒิสภา (สว.)​ ถูกร้องว่ากระทำการหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถหรือชื่อเสียงเกียรติคุณ

เปิดชื่อผู้สมัคร ป.ป.ช. 3 เก้าอี้ คนดังเพียบ ผู้พิพากษา อัยการ บิ๊กทหาร-ตำรวจ อดีตผู้ว่าฯ

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีแทนตำแหน่งที่ว่าง (พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.

กระจ่าง! ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้กรณีคุณสมบัติ 'สว.หมอเกศ'

“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ กรณี สว.หมอเกศ ปริญญาเอกและตำแหน่งศาสตราจารย์ หากไม่จริง เป็นการโชว์เหนือ หลอกลวงเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร สว.ด้วยกัน เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของตนเอง