สว.ตวง ซูฮก 'ประธานวันนอร์' เก๋าเกมปมญัตติเสนอชื่อนายกฯ ไม่ใช้อำนาจวินิจฉัยเอง แต่ใช้มติของรัฐสภา

24 ก.ค. 2566 - นายตวง อันทะไชย สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊กมีเนื้อหา ดังนี้

มติของรัฐสภาเป็นที่สุด

-มีผู้รู้หลายท่าน กล่าวทำนองว่า การที่สมาชิกรัฐสภามีมติว่า ไม่สามารถเสนอชื่อผู้จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ถึง 2 ครั้งในสมัยประชุมหนึ่งๆ จะทำให้มติของที่ประชุมรัฐสภาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ผู้ใดได้รับความเสียหาย สามารถส่งไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความได้ ผ่านทางช่องทางขององค์กรอิสระ

-ความเห็นของผู้รู้ ดูดี น่าเชื่อ แต่ตรรกะอย่างนี้ของผู้รู้ ใช้ไม่ได้ครับ เพราะการตีความข้อบังคับการประชุมรัฐสภานั้น ผิดถูกอย่างไร ให้ถือว่า ถึงที่สุด องค์กรอื่นแม้ศาลรัฐธรรมนูญก็จะมาตีความไม่ได้ ไม่งั้น ไม่ต้องทำอะไรกัน เรื่องนี้ ผมเคยเขียนมาครั้งหนึ่งแล้ว

-ความเก๋าเกม ของท่านประธานรัฐสภา วันนอร์ คือ ท่านไม่ใช้อำนาจวินิจฉัยเอง เพราะหากท่านใช้อำนาจวินิจฉัยเอง โดยไม่ใช้มติของรัฐสภา ท่านต้องขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแน่นอน เหตุผล เป็นดังนี้ ครับ

-เคยมีครั้งหนึ่ง ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท่านประธานสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ตีความข้อบังคับการประชุมสภา เรื่องระยะเวลาการแปรญัตติผิด ผมก็ไม่ยื่นคำแปรญัติ แล้วผมรวบรวมรายชื่อสมาชิกรัฐสภา ฟ้องประธานสมศักดิ์ ต่อปปช.

-ปปช. ก็เห็นตรงกับผมว่า ประธานตีความข้อบังคับผิด ทำให้ผมได้รับความเสียหาย

-ในชั้นพิจารณาของศาลฎีกา ผมก็เบิกความว่า ท่านประธานสมศักดิ์ ตีความข้อบังคับผิดทำให้ผมเสียหาย ยื่นคำแปรญัตติไม่ทัน ส่วนท่านมีเจตนาทุจริต ตามม.157 หรือเปล่า ผมไม่ทราบ ผมยืนยันเพียงว่า ท่านตีความผิดแน่นอน

-คดีนี้ ศาลฎีกาก็วินิจฉัย ว่า ประธานรัฐสภาตีความข้อบังคับการประชุมผิดจริง ทำให้นาย น.(ซึ่งหมายถึงผมนั่นแหละ) ได้รับความเสียหาย แต่เป็นความเสียหายเพียงเล็กน้อย เพราะนายน.(คือนายนิพิฏฐ์) ก็มีโอกาสได้อภิปรายในสภาแล้ว

-การจะถือว่า จำเลย(ประธานสมศักดิ์) มีความผิดตาม ม.157 ต้องแสดงให้เห็นว่าจำเลย มีเจตนาและมีเจตนาทุจริต ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย "...เชื่อว่าจำเลยที่ 1 ตีความโดยจำเลยที่ 1 เชื่อเช่นนั้นจริง ..."

*ผมเขียนมายืดยาว เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกับบรรดากูรูทางกฎหมาย และ กูรูด้านรัฐธรรมนูญ ว่า เมื่อไหร่ก็ตาม ที่ความรู้อันมหาศาลของท่าน ประกอบด้วย "อคติ" เพราะรัก-ชอบ ใคร หรือ พรรคการเมืองใดเป็นพิเศษ เมื่อนั้น ความรู้อันมหาศาลของท่านก็จะผิดพลาดอย่างน่าเสียดาย

-กล่าวโดยสรุปอีกครั้ง มติของสมาชิกรัฐสภาที่ไม่เสนอชื่อคุณพิธา ในรอบที่ 2 ยุติแล้ว

หมายเหตุ:: ดู คำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ ที อม. 1/2563 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 20/2565 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เป็นโจทก์ ฟ้อง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภาจำเลยที่ 1 และนายอุดมเดช รัตนเสถียร จําเลยที่ 2)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปธ.วันนอร์' ยัน 'จริยธรรมการเมือง' ยังจำเป็น แต่ไม่สูงไปจนผู้นำระแวง

'ปธ.วันนอร์' ย้ำมาตรฐานจริยธรรมทางการเมืองยังจำเป็น แต่ต้องไม่สูงจนผู้นำระแวง ผวาร้องจนทำงานลำบาก แจง สส.ลาประชุม เหตุกม.เปิดช่อง ชี้ กก.จริยธรรมใกล้ได้องค์ประชุมครบ ลุยสอบ 'ลุงป้อม'

'วันนอร์' แบ่งงาน 2 รองประธานสภาฯ 'พิเชษฐ์-ภราดร'

'วันนอร์' แบ่งงานให้ 2 รองประธานสภาฯ แล้ว 'พิเชษฐ์' คุมกระทู้-ญัตติ -​อาคารสถานที่ -สส.​ลาประชุม ส่วน 'ภราดร' กลั่นกรองร่างกฎหมาย-งานพีอาร์-ทีวีรัฐสภา

'วันนอร์' เผยเจ้าหน้าที่รับเรื่องแล้ว ปมร้องจริยธรรม 'บิ๊กป้อม' รอผู้นำฝ่ายค้านนำเข้าที่ประชุม

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่มีผู้มายื่นขอให้ตรวจสอบจริยธรรม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งขาดประชุมสภาฯ ว่า ตนยังไม่เห็นเนื้อหาที่มายื่น แต่คิดว่าเจ้าหน้าที่ รับไว้แล้ว

'วันนอร์' ยังไม่เห็นหนังสือขอตัว 'สส.พิศาล' จำเลยคดีตากใบ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่ศาลนราธิวาส มีหนังสือด่วนที่สุดถึงประธานสภาฯ เพื่อขอให้ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อดีตแม่ทัพภาค4 ในฐานะจำเลยที่ 1ในคดีตากใบ สละสิทธิความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ 125 ห