'สุชาติ' ชิงปิดประชุมหนี 'สภาล่ม' เลื่อนลงมติร่างกฎหมาย 'ล้างมรดกบาป คสช.'

8 ธ.ค.2564 - ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ฉบับที่.... พ.ศ.....ตามที่นายจอน อึ๊งภากรณ์ กับภาคประชาชนอีก12,609 คน เป็นผู้เสนอ เพื่อขอให้ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช.และหัวหน้า คสช.ที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรี ภาพ สิทธิพลเมือง สิทธิการเมือง และสิทธิชุมชนของประชาชน โดยให้นำมาพิจารณาไปพร้อมกับร่างพ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคสช. ตามที่นายปิยบุตร แสงกนกนุล กับคณะเป็นผู้เสนอ เพราะมีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน

โดยนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน(ไอลอว์)ชี้แจงว่า เป็นเวลากว่า 5ปี ที่อยู่ภายใต้เผด็จการทหาร มีการออกคำสั่งและกฎหมายต่างๆ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐ มนตรี และรมว.กลาโหม ที่ไม่สามารถตรวจสอบคัดค้านได้ ประกาศคำสั่งเหล่านี้ เป็นอำนาจสูงสุดใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพประชาชน สื่อมวลชน แทบไม่มีอยู่เลย ขณะนี้เมื่อมีสภาฯจากการเลือกตั้งแล้ว จึงควรรื้อถอนมรดกคสช.ที่หมดยุคให้ตกไป หากสภาฯไม่ยกเลิก คำสั่งและประกาศเหล่านี้จะบังคับใช้ต่อไปได้จนชั่วลูกหลาน

ขณะที่นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า สนับสนุนการยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช.และหัวหน้า คสช.ที่ขัดหลักสิทธิมนุษยชน มีประกาศและคำสั่งคสช.ที่จะถูกยกเลิก 17 ฉบับอาทิ การห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5คน การเรียกบุคคลมารายงานตัวตามคำสั่ง คสช. การควบคุมสื่อออนไลน์ การสนับสนุนการชุมนุมทางการเมือง การจัดหาที่ดินเพื่อใช้ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 17ฉบับยังมีผลบังคับใช้อยู่ สิ่งแรกที่สภาฯควรทำคือ ขจัดมรดกรัฐประหาร ผลจากการรัฐประหารนำไปสู่การจับกุมแค่นัดกันมากินแซนด์วิช การจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน และส่งผลให้คนบางส่วนต้องลี้ภัย แม้กระทั่งตนมีคดีติดตัวจากคสช.หลายคดี ไม่รู้จะถูกเล่นงานออกจากตำแหน่งเมื่อใด ทราบว่า จะตีตกร่างกฎหมายฉบับนี้ จะใจดำไม่ผ่านกันจริงๆใช่ไหม หวังว่า ส.ส.ทุกคนช่วยกันยกเลิกคำสั่งประกาศเหล่านี้ออกจากทางตัน ไม่กลับไปสู่วัฏจักรการรัฐประหารเหมือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้หลังจากส.ส.อภิปรายแสดงความเห็นอย่างกว้างขวางนาน กว่า 4 ชั่วโมง จนกระทั่งเวลา 20.04 น. นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ประธานในที่ประชุม ได้ขอหารือว่าจะลงมติในวันเดียวกันนี้หรือเลื่อนไปครั้งหน้า นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค พปชร. วิปรัฐบาล จะขอเลื่อนการลงมติออกไป ขณะที่นายพิจารณ์ เชาววัฒนพงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เสนอให้โหวตในวันเดียวกันนี้

ทำให้นายสุชาติได้กล่าวทีเล่นทีจริงว่า “ขออย่าพูดว่า รีบชิงปิดประชุมหนีประชุมล่ม” แล้วประธานในที่ประชุมได้กดออดเรียกสมาชิก นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นหารือว่า ดูเหมือน ส.ส.ไม่ครบองค์ประชุม นายสุชาติจึงกล่าวย้ำว่า “ นี่ไม่ใช่การชิงปิดประชุมหนีองค์ประชุมไม่ครบ”

จากนั้นนายสุชาติ ประธานในที่ประชุมได้สั่งปิดการประชุมในเวลา 20.08 น. และให้ไปลงมติในสัปดาห์หน้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง

เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.

ดร.เสรี ถามลั่น มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เกิดขึ้นกี่โมง?

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาอดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ทำงานไม่เป็น ไม่เห็นผลงานเชิงประจักษ์ใดๆ ที่หาเสียง

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร