รัฐสภาถกกว่า 3 ชั่วโมงวนในอ่างยังไม่รู้เสนอชื่อ 'พิธา' ซ้ำได้หรือไม่!

รัฐสภาสุดอลเวงเถียงกันนัว หน้าเดิมวนเถียงไปมา ยังไร้ข้อสรุปเสนอชื่อ พิธา ซ้ำรอบสองได้หรือไม่ และเป็นญัตติหรือไม่

19 ก.ค.2566 - ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีวาระลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบบุคคลที่สมควรดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง ซึ่งนายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นบุคคลเหมาะสมดำรงตำแหน่งนายกฯ

จากนั้น นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) อภิปรายเห็นแย้งว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการประทำที่ขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ41 ห้ามเสนอญัตติซ้ำ ซึ่งญัตติเสนอนายพิธาเป็นนายกฯนั้นตกไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมาแล้ว ดังนั้น วันนี้จึงเสนออีกไม่ได้ และขออาศัยข้อบังคับ ข้อ32(1) เสนอญัตติว่า ไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้อีกรอบ

อย่างไรก็ตาม มี ส.ส.จาก 8 พรรคร่วมรัฐบาลลุกขึ้นประท้วง ทั้งนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ระบุว่านายอัครเดชดำเนินการไม่ถูกต้อง เพราะวันนี้ที่ประชุมรัฐสภาต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ นายรังสิมันต์ ยังโต้แย้งด้วยว่า จะต้องทำตามระเบียบวาระการประชุม แต่สิ่งที่นายอัครเดชกระทำอยู่ไม่ได้อยู่ในระเบียบวาระ

นายจุลพันธุ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เสนอว่า ขอให้มีการรับรองเสนอชื่อผู้ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ เพื่อให้ญัตติสมบูรณ์ ก่อนจะดำเนินการคัดค้านต่อไป ซึ่งนายวันมูหะมัดนอร์ วินิจฉัยว่า ขอให้ดำเนินการตามขั้นตอนรับรองก่อน และให้นายอัครเดช รอ ทั้งนี้จากการรับรองชื่อนายพิธา พบว่ามีส.ส.ที่รับรอง รวม 304 คน

ด้านนายวิโรจน์ กล่าวว่า ตอนนี้เรากำลังถกกันผิดประเด็น เพราะตามระเบียบวาระให้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งได้รับตำแหน่งนายกฯ ตนทราบดีว่ากำลังเอานิยามคำว่าญัตติ คือข้อเสนอเพื่อให้ที่ประชุมลงมติไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ซึ่งตามข้อบังคับที่ 29 ต้องเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร หรือถ้าไม่เสนอล่วงหน้าก็ต้องเข้าข้อบังคับที่ 32 ซึ่งผู้ที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นนายกฯ ไม่อยู่ในมาตรานี้ แต่อยู่ในข้อบังคับที่ 136

“ผมอยากเตือนทุกคนว่า ให้ไปอ่านรัฐธรรมนูญมาตรา 5 ให้ดี ข้อบังคับไม่ได้ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคตคลเป็นนายก ไม่ใช่ญัตติ และถ้าตีความว่าเป็นญัตติ ต้องบอกด้วยว่าถ้ามีผลกระทบกระเทือนให้บันทึกด้วยว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”นายวิโรจน์ กล่าว

นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า การที่นายอัครเดชเชื่อว่าการเสนอโหวตนายกฯเป็นญัตติ แล้วตอนนี้ก็ยังเสนอญัตติซ้อนญัตติอีกว่าการโหวตนายกฯขัดข้อบังคับข้อ41 ซึ่งตามข้อบังคับการเสนอญัตติซ้อนญัตติทำไม่ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีสมาชิกหลายคนลุกขึ้นโต้เถียงกันอย่างเข้มข้น โดยส.ว. สนับสนุนนายอัครเดช พร้อมย้ำว่าญัตติเสนอชื่อพิธานั้นต้องตกไปตามข้อบังคับ แต่ยังถูกส.ส.พรรคก้าวไกล โต้แย้งเป็นระยะๆ

กระทั่งนายวันมูหะมัดนอร์ เสนอให้ใช้ข้อบังคับ ข้อ151 ให้ที่ประชุมลงมติเพื่อหาข้อยุติการตีความข้อบังคับการประชุมรัฐสภา แต่ปรากฎว่าก็ยังมีการถกเถียงกันว่าอาศัยข้อบังคับ ข้อ151 ไม่ได้ ทำให้ที่ประชุมเสียเวลากับประเด็นดังกล่าวกว่า 3 ชั่วโมงแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน

'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน

หมกมุ่น! ปชน.ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญพรรคเดียว 17 ฉบับรอบรรจุวาระ

'ปชน.' ยื่นร่างแก้ รธน.รายมาตราต่อรัฐสภาแล้ว รวม 17 ฉบับ สบช่องเขี่ย 'สว.' พ้นทาง พร้อมให้สิทธิพรรคฝ่ายค้านได้นั่ง 'ปธ.-รองปธ.สภา' ติดทางด่วน สอบ 'ป.ป.ช.' รอวิป 3 ฝ่าย เคาะวันเข้าสภา

'แทนคุณ' พาผู้เสียหายลงทุนตลาดทองคำร้องวันนอร์! หลังคดีไม่คืบ

'แทนคุณ' พาผู้เสียหายจากการถูกหลอกลงทุนตลาดทองคำ ผ่านแพลตฟอร์ม 1000x.live สูญกว่า 100 ล้าน ร้อง 'วันนอร์'ประสานหน่วยงานช่วย เหตุแจ้งความแล้วคดีไม่คืบ