“สังศิต” แจงยิบ ความเข้าใจการออกแบบนายกรัฐมนตรีของไทย ชี้ชัดระบบการได้มาขเป็นเรื่องของ “การเมือง” ใน “ระบบรัฐสภา” ซึ่งไม่ใช่การเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน
16 ก.ค.2566 – นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ วุฒิสมาชิกและประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา ระบุเรื่อง การออกแบบนายกรัฐมนตรีของไทย ว่า การออกแบบรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศเป็นหลักสำคัญที่สุดใน กระบวนการเลือกผู้นำฝ่ายบริหารที่มีความชอบธรรมของแต่ละประเทศ
นายสังศิต ระบุว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา การเลือกตั้งประธานาธิบดี และผู้มีสิทธิ์ที่จะได้เป็นประธานาธิบดีไม่ได้มาจากคะแนนนิยมเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนที่ลงคะแนนให้ (popular vote) แต่มาจากจำนวนคะแนนเสียง ของผู้แทนรัฐที่ลงคะแนนให้แก่ประธานาธิบดี (electoral vote ) ในการเลือกตั้งหลายครั้งพบว่าผู้ที่ได้รับการเลือกเป็นประธานาธิบดีของ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ที่ได้รับ electoral vote มากกว่า แต่กลับได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน ( popular vote) น้อยกว่าคู่แข่งขัน ที่ลงสมัครเป็นประธานาธิบดีเสียอีก ตัวอย่างเช่นนายโดนัลด์ ทรัมป์ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีโดยชนะนางฮิลลารี คลินตัน จากการได้รับ electoral vote มากกว่า นางคลินตัน ถึงแม้เขาจะได้รับคะแนนนิยมในการเลือกตั้งต่ำกว่าก็ตาม
นี่เป็น กฎกติกาของระบบประชาธิปไตยที่ถูกออกแบบมาสำหรับการเลือกประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ
นายสังศิต ระบุว่า ประเทศที่เรียกระบอบการปกครองของตนเองว่า “ ประชาธิปไตย “ ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส หรือ เยอรมัน ต่างมีการออกแบบในการเลือกผู้นำสูงสุดในการบริหารประเทศแตกต่างกันทั้งสิ้น ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้สมัครรับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใดที่ได้คะแนนนิยมจากประชาชนมากที่สุดจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ส่วนระบบของอังกฤษกับเยอรมันแตกต่างออกไป นายกรัฐมนตรีของอังกฤษและเยอรมันได้มาจากพรรคการเมือง ที่สามารถรวบรวมเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของสภา และไม่จำเป็นเสมอไปว่าพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง ให้มีส.ส. มากที่สุดในสภาจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล และบ่อยครั้งก็เกิดปรากฏการเช่นว่านี้
นายสังศิต ระบุว่า สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของประเทศไทย ไม่ได้กำหนดว่าผู้นำ ของพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนมากที่สุดในการเลือกตั้ง ( popular vote) จะต้องได้รับการเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยอัตโนมัติ
“รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน” ของไทย กำหนดว่า นายกรัฐมนตรีจะได้มาจากการเลือกของ “ รัฐสภา” ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 ท่าน และวุฒิสมาชิกอีกจำนวน 250 ท่าน
นี่เป็นภารกิจของพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่จะต้องไปบริหารจัดการกันเอง ในการรวบรวมพรรคการเมืองต่างๆและเสียงจาก วุฒิสมาชิกให้ได้เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของรัฐสภา พรรคการเมืองใดที่สามารถดำเนินการได้ก็จะได้เป็นรัฐบาล และพรรคการเมืองที่มารวมกันเป็นรัฐบาลนั้นสามารถเลือกผู้นำของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากที่สุด หรือบุคคลใดก็ตามที่พรรคการเมืองเหล่านั้นเห็นร่วมกันให้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้
ระบบการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยจึงเป็นเรื่องของ ” การเมือง” ใน “ระบบรัฐสภา” ซึ่งไม่ใช่การเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน
นายสังศิต กล่าวว่า ส่วนผู้ที่เห็นแย้งว่า “วุฒิสมาชิกไม่สมควรมีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรี”นั้น นี่เป็นเรื่องของ “รัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็น “กฎ กติกา” ที่กำหนดเอาไว้ก่อนที่จะมีวุฒิสมาชิก และพรรคการเมืองต่างๆ จึงเรียนมาเพื่อให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายได้มาช่วยกันให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่สังคมด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ สั่งเกาะติด 7จังหวัดภาคใต้ที่เจอฝนถล่มหนัก
นายกฯ กำชับทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงจากฝนตกหนักในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้
นายกฯ อิ๊งค์ฝากติดตามแถลง 12 ธ.ค.ผลงานรัฐบาล 90 วัน
นายกฯอิ๊งค์ ลั่นรัฐบาล มุ่งสร้างโอกาสจับต้องได้ให้ประชาชน ปากท้องอิ่ม ดึงศักยภาพคนไทย ลั่นปรับสมดุลการค้าสหรัฐ-จีน ย้ำ รบ.อยู่ครบเทอม ฝากติดตามแถลงผลงานรัฐบาล 12 ธ.ค.นี้
เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ
เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน
'เทพไท' วิเคราะห์ชัดๆ 'ทักษิณ-อุ๊งอิ๊งค์' ใครคือนายกฯตัวจริง
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช
'ธนกร' ชี้หลัง 22 พ.ย.ประเทศก็ยังเดินหน้าต่อ!
'ธนกร' มองทุกคดีศาล รธน.ยึดตามหลักกฎหมาย เชื่อการเมืองหลัง 22 พ.ย.นี้ประเทศต้องเดินหน้าต่อ ขอทุกฝ่ายอย่าคาดเดาจนอาจก้าวล่วงอำนาจ ฝากรัฐบาลเร่งทำผลงาน
‘อิ๊งค์’ตีปี๊บผลงาน100วัน
“นายกฯ อิ๊งค์” ต่อสายยินดี “ทรัมป์” พร้อมชวนมาเมืองไทย นายกฯ