15 ก.ค.2566 - นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กว่า ยอมรับ แต่ไม่ยอมแพ้ : เดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลที่ชอบธรรมตามหลักการประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
คงไม่มีอะไรที่สะท้อนให้เห็นถึงความผิดปกติของการเมืองไทย ได้ดีไปกว่าการที่การอภิปรายครั้งแรกในสภาของผมในฐานะผู้แทนราษฎร กลับต้องกลายเป็นการอภิปรายเพื่อยืนยันหลักการขั้นพื้นฐานที่สุดของระบอบประชาธิปไตย - หลักการที่ว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน และว่าประชาชนทุกคนมี 1 สิทธิ 1 เสียงเท่าเทียมกันในการกำหนดอนาคตประเทศผ่านการเลือกตั้ง
ผมเข้าใจว่าการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภาหลายท่านเมื่อวาน อาจทำให้เราเข้าใจไปว่าแก่นสารของการพิจารณา คือการอภิปรายเกี่ยวกับความเหมาะสมของคุณพิธาในการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี หรือนโยบายของพรรคก้าวไกล
ผมจึงได้ลุกขึ้นอภิปรายเมื่อวาน เพื่อพยายามชวนให้ทุกคนคิด ว่าคำถามที่สำคัญสำหรับสมาชิกรัฐสภา ณ เวลานี้ ไม่ใช่คำถามว่าพวกสมาชิกรัฐสภา 750 คนคิดเห็นอย่างไรต่อคุณพิธาหรือนโยบายของพรรคก้าวไกล แต่คือคำถามว่าสมาชิกรัฐสภาพร้อมจะเคารพเสียงของประชาชนเกือบ 40 ล้านคน ที่ได้ออกมาให้คำตอบต่อคำถามดังกล่าวผ่านคูหาเลือกตั้งเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว หรือไม่
ผลการลงมติของรัฐสภาเมื่อวานในการไม่ให้ความเห็นชอบคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สะท้อนให้เห็นว่ารัฐสภา (โดยเฉพาะสมาชิกวุฒิสภา) ยังไม่พร้อมจะเคารพเสียงของประชาชนที่สะท้อนผ่านผลการเลือกตั้ง
ผมเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการเคารพเสียงของประชาชน ไม่ได้หมายถึงการเคารพเสียงของประชาชนที่สนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่หมายถึงการเคารพเสียงที่สนับสนุนทุกพรรคการเมืองหรือไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใด แต่การเลือกตั้งที่ผ่านมาก็ได้เแปร 1 สิทธิ 1 เสียงของประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ออกมาเป็นผู้แทนราษฎร 500 คน ที่เป็นตัวแทนชุดความคิดที่แตกต่างหลากหลายในสังคม และเหตุการณ์ตลอด 2 เดือนหลังจากนั้น ก็ได้แสดงให้เห็น ว่า แคนดิเดตนายกฯของพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจเป็นอันดับ 1 ในการเลือกตั้ง ได้สามารถรวบรวมเสียงจากพรรคการเมืองอื่นที่มีอุดมการณ์สอดคล้องกัน รวมกันเป็นจำนวน ส.ส. เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร
ตามกลไกรัฐสภาและครรลองประชาธิปไตยปกติ มันคงเป็นบทสรุปที่ชัดเจนแล้วครับ ว่าใครควรได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่กติกาการเมืองวันนี้ ยังไม่ได้อยู่ในสถานะที่ปกติ เนื่องจากมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ ที่ไปมอบอำนาจให้ สว ที่มาจากการแต่งตั้ง 250 คน มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี และเปิดช่องให้เกิดการแทรกแซงกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล ให้ไม่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย
โจทย์สำคัญสำหรับการลงมติของสมาชิกรัฐสภาเมื่อวาน จึงเป็นโจทย์ว่าเราจะร่วมกันกำจัด ความผิดปกติ ที่สืบทอดมาจากอดีต เพื่อคืนความปกติให้ประเทศเดินไปสู่อนาคตได้อย่างไร
สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในซีกที่ไม่สนับสนุนคุณพิธา (หรือซีกที่จะเป็นฝ่ายค้าน หากคุณพิธาเป็นนายกฯ) ผมได้พยายามสื่อสารว่าผมเคารพความเห็นต่างของเขาและผู้สนับสนุนของพวกเขาที่คงไม่ได้ไว้วางใจคุณพิธาหรือรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกล และผมพร้อมจะปกป้องสิทธิของเขาในฐานะฝ่ายค้านที่จะทำหน้าที่อันสำคัญในการตรวจสอบการทำงานของพวกเราได้อย่างเต็มที่ตลอด 4 ปีข้างหน้า แต่ผมอยากให้เขาตระหนักด้วยเช่นกัน ว่าระบอบการปกครองเดียวที่อนุญาตให้มีฝ่ายค้าน คือระบอบประชาธิปไตย
ดังนั้น แม้ผมทราบดีว่าในกติกาประชาธิปไตยที่เป็นปกติ เราอาจไม่คาดหวังให้เขาต้องลงมติเห็นชอบให้กับนายกฯที่ถูกเสนอชื่อโดยผู้แทนราษฎรจากอีกซีกหนึ่ง แต่ภายใต้สภาวะการเมืองไทยที่ยังไม่เป็นปกติ การลงมติให้กับคุณพิธาจึงเป็นโอกาสของพวกเขา ที่จะแสดงให้สังคมเห็นว่าเหนือความเห็นต่างทางการเมืองระหว่างเรา คือจุดมุ่งหมายที่เรามีร่วมกันในการคืนความปกติให้กับการเมืองไทย และปกป้องระบอบประชาธิปไตยที่เคารพผลของการเลือกตั้งที่ทำให้ผู้แทนราษฎรทุกคนจากทุกพรรคได้มีสิทธิมาพูดและทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ต้น
สำหรับสมาชิกวุฒิสภา ที่หลายคนมีความเคลือบแคลงใจกับพรรคก้าวไกล ผมได้พยายามสื่อสารกับพวกเขา ว่าการดำรงความเป็นกลางทางการเมืองและการเคารพเสียงของประชาชนทุกฝ่ายนั้น ต้องไม่ใช่การงดออกเสียงหรือการไม่เข้าประชุม แต่คือการโหวตให้กับนายกฯ ที่ได้รับความไว้วางใจจากเสียงข้างมากของ ส.ส. ซึ่งมีชื่อว่า “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์”
เพราะคำว่า “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ณ เวลานี้ ไม่ได้หมายความถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
แต่คำว่า “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ณ เวลานี้ หมายถึงการ “คืนความปกติ” ให้กับการเมืองไทย การให้โอกาสประชาธิปไตยได้ไปต่อ และการเคารพเสียงของประชาชนผ่านการเลือกตั้ง อันเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ผมเห็นสมาชิกรัฐสภาทุกท่านกล่าวไว้ว่าทุกท่านยึดถือและหวงแหน
แม้ยังไม่สำเร็จวันนี้ แต่พรรคก้าวไกลขอยืนยันว่าเราจะเดินหน้าต่อ ในการพยายามรวบรวมเสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่ชอบธรรมตามมติมหาชนให้ได้
เดินต่อไปด้วยกัน จนกว่าจะถึงวันที่เสียงของประชาชนได้กำหนดอนาคตของประเทศไทย
เพราะประชาชนคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในระบอบประชาธิปไตย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ไอติม-กมธ.การเมือง' รุดขอความชัดเจนศาลธรน. หวังได้คำตอบปมทำประชามติ 2 ครั้ง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการเมืองการมีส่วนร่วม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าการ
ดิ้นทุกทาง!บอกประชามติเป็น กม.การเงินไม่ต้องรอ 180 วัน
'ชูศักดิ์' งัด รธน. มาตรา 137 อ้างกฎหมายประชามติเข้าข่ายกฎหมายการเงิน ไม่ต้องรอ 180 วัน จ่อถกวิปรัฐบาล เชื่อฝ่ายค้านเอาด้วย
ปปช.เปิดทรัพย์สิน 'ก่อแก้ว' สุดอู้ฟู่รวย 263 ล้านบาท
เปิดเซฟ 'ชัยธวัช ตุลาธน' อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล 19.3 ล้านบาท 'อภิชาติ' อดีตเลขาธิการพรรค 13.2 ล้านบาท 'ก่อแก้ว' อู้ฟู่ 263 ล้าน
ก้าวไกลแพ้! ศาลยกฟ้อง 'ณฐพร โตประยูร' แจ้งเท็จ-หมิ่น ล้มล้างการปกครอง
ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีดำ อ.308/2564 ที่พรรคก้าวไกล เป็นโจทก์ฟ้องนายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ,หมิ่นประมาทฯพร้อมเรียกค่าเสียหาย 20,062,475บาท
'สิริพรรณ นกสวน' อาจารย์จุฬาฯ ลงสมัครชิงเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะหน่วยธุรการ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน เพื่อมาแทน นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรธน.
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง