'สมชัย' อัด 'ประยุทธ์' บริหารราวขายขนมครก ปฏิเสธไม่เคยทำ MOU 'ธรรมนัส' ทั้งที่ลงนามแต่งตั้งเป็นประธานแก้ไขปัญหาจะนะ ไม่ได้สั่งสลายการชุมนุมตำรวจทำเอง เสียดายความเป็นชายชาติทหาร ยิ่งกว่านี้หาไม่ได้แล้ว
9 ธ.ค.2564 - จากกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโฮชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าข้อตกลงที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตรมช.เกษตรและสหกรณ์ ให้คำมั่นกับชาวจะนะว่าจะชะลอโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ออกไปก่อนนั้น ไม่ผ่านการคณะรัฐมนตรี(ครม.)และยังไม่มีการตกลงด้วย
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
บริหารราชการราวขายขนมครก
"นายกปฏิเสธ ไม่เคยทำ MOU ธรรมนัส ไปทำ รัฐบาลไม่เกี่ยว"
"โฆษกรัฐบาลบอก นายกไม่ได้สั่งสลายการชุมนุม ตำรวจทำเอง"
สรุปคืออะไรก็ตามที่ผิดพลาด คุณประยุทธ์ไม่เคยรับผิด
ทั้ง ๆ ธรรมนัส คือ หนึ่งในรัฐมนตรีร่วมคณะ และ คุณประยุทธ์ก็ลงนามแต่งตั้งเขาเป็นประธานแก้ไขปัญหาเรื่องนี้เอง
ตำรวจใช้วิจารณญาณสลายการชุมนุมไม่เหมาะสม แล้วมีปราม มีตั้งกรรมการสอบสวนไหม บอกได้แต่ว่า นายกไม่ได้สั่ง
เสียดายความเป็นชายชาติทหาร ลูกน้องรบชนะก็เออออเป็นผลงานตน พอรบแพ้ผิดพลาดบอกว่า มันแส่ไปเอง ข้าไม่เกี่ยว
ยิ่งกว่านี้ คงหาไม่ได้แล้ว
Cr.ภาพ : เฟซบุ้ค บรรจง นะแส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เชื่อแล้ว 'ทักษิณ' ป่วยจริง ปราศรัยจะส่งกำลังไปจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมียนมา-กัมพูชา
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัคร นายก อบจ.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ตอนหนึ่ง ว่า
วิเคราะห์การปราศรัยของ 'ทักษิณ' ต่ำกว่ามาตรฐาน อาจมีเรื่องอึดอัดใจมากเป็นพิเศษ
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัคร นายก อบจ.เชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย ว่า
'สมชัย' บอกรู้ทันแจกเงินหมื่นชี้หมิ่นเหม่ตกเขียวเลือกตั้ง อบจ.
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
'สมชัย' วิเคราะห์ 5 ประเด็น MOU44ควรเดินหน้าต่อหรือไม่
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
'สมชัย' ข้องใจนายกฯ จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จริงหรือหลังแถลงปม MOU 2544
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
สมชัย แนะ 5 ทางออก อย่ากลัวหาก ‘สว.’ จะแก้ กม.ประชามติ จากร่างเดิม ‘สส.’
ประเด็นที่หวาดหวั่นกันคือ การแก้กลับไปใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น (double majority) สำหรับการทำประชามติเรื่องสำคัญ เช่น แก้รัฐธรรมนูญ ว่า ชั้นที่ 1 ต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินครึ่ง และชั้นที่สอง มติที่ชนะก็ต้องเกินครึ่งของผู้มาใช้สิทธิ