3 ก.ค.2566 - ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวงศาลอ่าน คำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.14/2565 หมายเลขแดงที่ อม.19/2566 ที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีต รมว.มหาดไทย จำเลย
ยื่นฟ้องวันที่ 18 ส.ค. 2565โดยกล่าวหาว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จาก บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (บริษัทจัดการฯ) หรืออีสท์ วอเตอร์ ซึ่งมิใช่ญาติ โดยรับ ตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ จำนวน 39,300 บาท และรับตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย อันอาจคำนวณเป็นเงินได้จำนวน 20,780 บาท
ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีราคาเกินกว่าสามพันบาท อันมิใช่ทรัพย์สิน และประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย ทั้งมิใช่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาตามประกาศ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดย ธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2543 ข้อ 5 ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103, 122 พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา4,128,169,194
จําเลยไม่มาศาล จึงพิจารณาคดีโดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจําเลย จําเลยแต่งตั้งทนายความมาดำเนินการแทน และให้การปฏิเสธ
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาแล้ว เห็นว่า ทางไต่สวน นาย ช. กรรมการบริหารและการลงทุนบริษัทจัดการฯ ขณะเกิดเหตุ เบิกความขัดแย้งแตกต่างกันรับฟังไม่ได้แน่ชัดว่า จำเลย ทีมงานของจำเลย หรือบุตรชายของจำเลยเป็นผู้นำเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินไปมอบให้พยาน ไม่อาจ รับฟังเป็นความจริงได้ ทั้งคำเบิกความยังขัดแย้งกับคำให้การจำเลยที่ว่าจำเลยให้ทีมงานของจำเลยไปจัดซื้อ ตั๋วโดยสารเครื่องบินด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน หรือให้ทีมงาน ของจำเลยไปจัดซื้อ เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นมาของการออกตั๋วโดยสารเครื่องบินและการชำระเงิน ได้ความว่า
กรรมการบริหารและการลงทุนบริษัทจัดการฯ เป็นผู้ดำเนินการออกตั๋วโดยสาร เครื่องบิน โดยให้บริษัท อ. และบริษัท ร. เป็นผู้จองและออกตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเรียกเก็บเงินค่าตั๋วโดยสาร เครื่องบินจากบริษัทจัดการฯ ซึ่งต่อมาบริษัทจัดการฯ อนุมัติให้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินดังกล่าวจาก เงินค่ารับรองกรรมการ (ตั๋วเครื่องบินรับรองลูกค้าบริษัท) แล้ว พยานหลักฐานที่ไต่สวนจึงรับฟังเป็นความจริง ได้ว่า
บริษัทจัดการฯ เป็นผู้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบริษัทจัดการฯ ชำระเงิน ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินหลังจากที่จำเลยใช้ตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางก็ตาม แต่เหตุดังกล่าวเป็นผล สืบเนื่องมาจากการดำเนินการของบริษัทจัดการฯ ในการเบิกเงินค่ารับรองกรรมการเพื่อชำระเงินค่าตั๋วโดยสาร เครื่องบินเท่านั้น ส่วนที่บริษัท อ. และบริษัท ร. คืนเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินให้แก่บริษัทจัดการฯ นั้น ก็เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทจัดการฯ ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้ว กรณีจึงไม่มีผลทำให้บริษัท จัดการฯ มิใช่เป็นผู้ที่ไม่ได้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน
เมื่อขณะเกิดเหตุจำเลยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการฯ และตามรายละเอียดแนวทางการใช้จ่ายค่า รับรองของคณะกรรมการบริษัท บริษัทจัดการฯ ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินค่ารับรองในนามคณะกรรมการบริษัท ให้จำเลยได้ ประกอบกับตามหนังสือของกระทรวงมหาดไทยยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุในระบบสารบัญของ สำนักรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ไม่พบว่ามีการขออนุญาตเดินทางไปราชการต่างประเทศของจำเลย
ทำให้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยไม่ได้เดินทางไปราชการที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศมาเลเซีย แต่เป็นการเดินทางไปส่วนตัวแล้ว ทั้งทางไต่สวนได้ความจากคำเบิกความของนาย ช. กรรมการบริหารและการ ลงทุนบริษัทจัดการฯ ขณะเกิดเหตุว่า บุตรชายของจำเลยให้ดูแลจำเลยในการเดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศมาเลเซีย กับเดินทางไปพร้อมจำเลยด้วย
จึงเชื่อว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าบริษัทจัดการฯ เป็นผู้ซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินให้จำเลยโดยกรรมการบริษัทเป็นผู้ขออนุมัติเบิกเงินจากเงินค่ารับรองกรรมการ ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน และการที่จำเลยใช้ตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปกลับ บ่งชี้ได้ว่าจำเลยมี เจตนารับตั๋วโดยสารเครื่องบินนั้น เมื่อตั๋วโดยสารเครื่องบินมีราคา เกินกว่า 3,000 บาท ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยรับตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปกลับระหว่างกรุงเทพ - ปักกิ่ง และกรุงเทพ - กัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็น ประโยชน์อื่นใดซึ่งมีราคาหรือมูลค่าเกิน 3,000 บาท จากบริษัทจัดการฯ ซึ่งมิใช่ญาติ จึงเป็นความผิดตามฟ้อง
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 122 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้าง มากให้ลงโทษปรับกระทงละ 60,000 บาท รวม 2 กระทง เป็นปรับ 120,000 บาท หากจำเลยไม่ชำระ ค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ชาญชัย' จ่อยื่นศาลฎีกาฯครั้งที่ 3 เอาผิดเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ นำ 'ทักษิณ' เข้าคุก
'ชาญชัย' แจงข้อเท็จจริง 2 คำร้องต่อศาลฎีกาการเมือง 2 ครั้ง เหตุใด 'ทักษิณ' จึงไม่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาลแม้แต่วันเดียว ศาลชี้ให้ดูประเด็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทำผิดกฎหมายเรื่องใด เผยรวบรวมพยานหลักฐานได้50% จ่อยื่นครั้งที่ 3 เอาผิดเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ นำ'ทักษิณ'เข้าคุก
'ชาญชัย' จี้ 'ภูมิธรรม-เศรษฐา' ยึดทรัพย์พร้อมตามตัว 'ยิ่งลักษณ์' กลับมารับโทษ
'ชาญชัย' แนะ 'ภูมิธรรม-เศรษฐา' ช่วยตามตัว 'ยิ่งลักษณ์' รับโทษคดีทุจริตจำนำข้าว ยุติปมข้าวค้างโกดัง ย้ำทำให้ถูกต้อง ถ้ายังเฉยผิดมาตรา 157 ติดตัวยาวแน่
‘วันนอร์’ ชี้ ‘บิ๊กโจ๊ก’ ร้องสอบ ‘ป.ป.ช.’ ส่งศาลฎีกาฯได้เลย ไม่ต้องยื่นสภา
ประธานสภา เผยยังไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนพฤติ ป.ป.ช. จาก บิ๊กโจ๊ก ชี้ช่องร้องศาลฎีกาได้เลย
อสส. เห็นชอบไม่อุทธรณ์ คดีศาลฎีกาฯนักการเมือง ยกฟ้อง 'ยิ่งลักษณ์' โยกย้าย 'ถวิล'
นายประยุทธ เพชรคุณ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า อัยการสูงสุดเห็นชอบควรไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่พิพากษายกฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ป.ป.ช.รอคำพิพากษาศาลฎีกาคดียิ่งลักษณ์ฉบับเต็มก่อนเคาะอุทธรณ์หรือไม่!
ป.ป.ช.รอคำพิพากษาตัวเต็มคดีโรดโชว์ “ยิ่งลักษณ์” ค่อยตัดสินใจอุทธรณ์หรือไม่ เผย ยังค้างอีก 1 คดี ปมมีมติจัดสรรไฟฟ้าให้เอกชน อยู่ในชั้นอนุกรรมการไต่สวน
ยิ่งลักษณ์ เฮ! ศาลฎีกาฯ ยกฟ้องจัดอีเวนต์เอื้อประโยชน์ พร้อมถอนหมายจับ
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการอ่านคำพิพากษาคดี อม.2/2565 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี