กระจ่าง 'ดร.ณัฎฐ์-มือกฎหมายมหาชน' คลี่ปม 'วันชาติ'


'ดร.ณัฎฐ์' มือกฎหมายมหาชน ชี้ วันสำคัญของชาติทั่วโลก ประเทศที่มีการปกครองพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้ถือวันพระราชสมภพ เป็น 'วันชาติ'

27 มิ.ย.2566 - สืบเนื่องจากนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล ระบุว่าหากจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ จะให้เปลี่ยน “วันชาติ” เป็นวันที่ 24 มิถุนายนและจัดให้มีการฉลองวันชาติของทุกปี ต่อมาหลายฝ่ายได้มีข้อถกเถียงกันในเรื่องของวันชาติ ล่าสุด นายรังสิมันต์ โรม ได้แจงเปลี่ยนวันชาติ เป็นความเห็นส่วนตัว เชื่อรัฐบาลข้างน้อยตั้งไม่ได้นั้น

ดร.ณัฐวุฒิ. วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง ได้อธิบายและให้ความรู้ทางกฎหมาย ในแง่มุมที่น่าสนใจว่า ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง วันสำคัญของชาติ โดยเฉพาะวันชาติ เป็นวันที่เฉลิมฉลองของประชาชนทั้งประเทศ วันนี้ตรงกับวันประกาศราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังอภิวัฒน์สยามเพียงแค่ 3 วัน ส่งผลให้ประเทศไทยปกครองในระบอบใหม่ คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและแบ่งแยกอำนาจปกครองในระบบรัฐสภา ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ

ดร.ณัฐวุฒิ ระบุ ว่า “วันชาติ” หมายความว่า เป็นวันที่กำหนดเป็นวาระเฉลิมฉลองความเป็นชาติของประเทศนั้นๆ โดยหลัก จะถือเป็นวันหยุดประจำชาติ วันชาติส่วนใหญ่มักจะตรงกับ วันก่อตั้งรัฐ หรือดินแดน หรือวันสถาปนาประเทศหรือวันที่มีเอกราชในรัฐหรือได้รับเอกราชจากการยึดครอง อาจใช้วันสำคัญในประวัติศาสตร์หรือวันสำคัญทางศาสนา ส่วนบางประเทศ ถือวันพระราชสมภพของประมุขของรัฐ โดยเฉพาะรัฐที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อาทิ ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ค สวีเดน ญี่ปุ่น เหล่านี้เป็นต้น

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎร พ.อ.พหลพลพยุหเสนา(ยศในขณะนั้น) นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดที่จะกำหนดวันสำคัญของชาติครั้งแรกในประเทศไทย แต่ถือว่าสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งตรงกับกับอภิวัฒน์สยาม คือ วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันเฉลิมฉลองของประชาชนจุดพลุ มหรสพต่างๆ ต่อมารัฐบาลพ.อ.พหลพลพยุหเสนา ได้มีมติคณะรัฐมนตรีและออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี วันที่ 18 กรกฎาคม 2481 กำหนดให้ วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ

การเฉลิมฉลองครั้งแรก วันที่ 24 มิถุนายน 2482 รัฐบาลขณะนั้น ได้จัดเฉลิมฉลองวันสำคัญ 2 อย่าง ในคราวเดียวกัน คือ (1)การเฉลิมฉลอง วันสิ้นสุดสนธิสัญญาเบาริ่งที่ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต (2)เฉลิมฉลอง วันชาติ ในการเปลี่ยนแปลงระบอบรัฐธรรมนูญใหม่ โดยการจัดมหรสพ จะเห็นได้จาก ในการจัดเฉลิมฉลองส่วนกลางบริเวณสะพานพุทธเชื่อมระหว่างจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี สมัยนั้น ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นการฉลองวันชาติเพียงอย่างเดียว

ต่อมาวันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำการรัฐประหารจอมพล ป.พิบูลสงคราม ทำให้จอมพล.ป.พิบูลสงครามและพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ลี้ภัยทางการเมืองไปต่างประเทศ ทำให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ามาใช้อำนาจปกครองประเทศในขณะนั้น ต่อมารัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ฯมีแนวคิดเปลี่ยนแปลงวันชาติใหม่โดยให้ถือเอาวันสากล ตรงวันวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 9 ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรี ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 ให้ถือวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยแทน

เหตุผลที่เปลี่ยนเช่นนี้เพื่อการเปลี่ยนวันชาติ ให้ตรงกับนานาอารยะประเทศโดยถือแนวทางของประเทศที่ปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนคณะราษฎรที่ถือว่าสำคัญในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการเปลี่ยนแปลงการปกครองและการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญใหม่ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปถึง 21 ปี รัฐบาลใหม่เห็นว่า วันสำคัญของชาติ จะต้องถือเป็นวันสากลที่นานาอารยะประเทศทั่วโลก มีเหตุผลรองรับที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ดังนั้น วันชาติ เป็นวันสำคัญของชาติ ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงต้องถือวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันชาติ

จะเห็นว่า คณะราษฎรให้ความสำคัญวันเปลี่ยนแปลงระบอบใหม่ ถือเป็นวันสำคัญประวัติศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงให้การปกครองของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน หรือที่เรียกกันว่า ระบอบรัฐธรรมนูญนิยม เหตุผลระหว่างปี 2476 ถึงปี 2481 ไม่ได้จัดเฉลิมฉลองวันชาติเนื่องจากอยู่ระหว่างฟื้นฟูระบอบใหม่ของคณะราษฎร เห็นได้จาก การเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทยในวันที่ 3 ตุลาคม 2482 เพื่อให้สอดคล้องกับการเฉลิมฉลองวันชาติในวันที่ 24 มิถุนายน

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ส่วนประเด็นนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.และโฆษกพรรคก้าวไกลโยนหินถามทาง ในวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมาว่า หากจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ จะเปลี่ยนวันชาติเป็นวันที่ 24 มิถุนายนให้เฉลิมฉลองกัน เป็นเพียงแนวคิดที่ย้อนแย้งกลับไปใช้วันชาติเดิม ซึ่งจะต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรีประกาศใช้เป็นทางการ หากพรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลใหม่สำเร็จในการบริหารประเทศ การเปลี่ยนแปลงวันชาติ จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับที่มาของประเทศ การปกครองของประเทศ ประมุขของประเทศประกอบการพิจารณาด้วย หากพิจารณาถึงมติคณะรัฐมนตรีสมัยจอมพลสฤษดิ์ฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงวันชาติ ถือวันพระราชสมภพสอดคล้องกับวันชาติตามหลักสากลแล้ว แม้ผลัดแผ่นดินใหม่ แต่ไม่ได้เปลี่ยนวันพระราชสมภพ โดยวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 มติคณะรัฐมนตรียังคงให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันชาติ เป็นวันเฉลิมฉลองสำคัญของชาติตามหลักสากล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชี้ช่อง ‘รังสิมันต์’ เอาผิดนักโทษเทวดา สมุดบันทึกสีน้ำเงินเล่มใหญ่ หลักฐานมัดความผิดปกติ

ข้อมูลจากเอกสารสมุดบันทึก และรายงานจากแอพพลิเคชั่นไลน์แทน ถ้าไม่มีหลักฐานชิ้นนี้ สามารถสันนิษฐานได้เลยว่ามีเหตุผิดปกติเกิดขึ้น

กระจ่าง! ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้กรณีคุณสมบัติ 'สว.หมอเกศ'

“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ กรณี สว.หมอเกศ ปริญญาเอกและตำแหน่งศาสตราจารย์ หากไม่จริง เป็นการโชว์เหนือ หลอกลวงเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร สว.ด้วยกัน เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของตนเอง

ดิ้นหนัก! 'โรม' ชี้ 'พรรคประชาชนพม่า' เป็นเฟกนิวส์ ลั่นรักษาผลประโยชน์คนไทยมาตลอด

นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน จัดแถลง Policy Watch ในเรื่องประเทศไทยควรทำอย่างไรกับปัญหาเมียนมา

'โรม' ทุบโต๊ะต้องนิรโทษกรรมเหมาเข่ง! เหน็บถ้าได้เป็น 'คุณอ้วน ภูมิธรรม' วันนี้ คงรับตัวเองไม่ได้

ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรั

'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงคดีตากใบที่ไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ ภายในอายุความ 20 ปี ทำ

'ชัยธวัช-ปชน.' ผิดหวังสภาคว่ำข้อสังเกตกมธ.นิรโทษฯ สะท้อนรัฐบาลขาดเอกภาพ

ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม นำโดย นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ นายชัย