ดร.ณัฎฐ์ มือกฎหมายมหาชน ชำแหละ 3 สูตรจัดตั้งรัฐบาลผสม ใครเข้าวินนายกรัฐมนตรี!

26 มิ.ย.2566  - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง  วิเคราะห์การเมือง พรรคการเมืองใดจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จและบุคคลใดจะก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศ ว่าก่อนอื่นการให้ความเห็นนี้ เป็นการให้ความรู้กฎหมายแก่ประชาชนและเป็นประโยชน์สาธารณะ  สูตรการจัดตั้งรัฐบาลในปี 2566  ตัวแปรสำคัญ คือ การออกแบบรัฐธรรมนูญ 2560 จะพบเห็นปรากฎการณ์พรรคการเมืองที่ครองเสียงข้างมาก ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ให้เทียบเคียงการจัดตั้งรัฐบาลในปี 2562 เป็นผลพวงมาจาก การมัดด้วยข้อกฎหมายตามบทเฉพาะกาล ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่รัฐธรรมนูญชุดแรกและยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 159 วรรคท้าย หมายความว่า ภายในห้าปีแรกให้ ถือจำนวน ส.ส.และ สว.ที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ได้แก่ ส.ส.500 คน และส.ว. 250 คน รวม 750 คน  โดยให้ประชาชนสังเกตใน บทบัญญัติมาตรา 272 วรรคหนึ่งตอนท้ายโดยระบุว่า “ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา” หมายความว่า ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ต้องมีมติเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลใดเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะแนนเสียงทั้ง สส.และสว.มากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา 376 เสียง บุคคลนั้นถึงจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี(ประมุขฝ่ายบริหาร) จะเห็นปรากฎการณ์ การฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาล พรรคที่ชนะเสียงได้ลำดับหนึ่ง อ้างความชอบธรรมในการประกาศจัดตั้งรัฐบาล นำไปสู่การจัดทำลงนามสัตยาบัน MOU  ตั้งคณะกรรมการเปลี่ยนผ่านและคณะกรรมการเจรจาจัดตั้งรัฐบาล หากย้อนดูประวัติศาสตร์ทางการเมืองเคยปรากฏในปี 2562 ที่พรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมาก่อน เคยใช้แนวทางนี้ แต่กลับล้มไม่เป็นท่า ดังนั้น ตัวเลข 376 เป็นเทคนิคทางกฎหมาย ที่พรรคการเมืองใด จะเป็นรัฐบาล ต้องไปรวบรวมเสียงให้ครบ 376 เสียงและเสนอบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี  ไม่ว่าจะรวบรวมจากช่องทางใด ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากทุกพรรคการเมืองหรือเสียง สว.ให้ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ส่งผลให้การจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จหรือไม่  

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าตัวแปรผลการออกแบบรัฐธรรมนูญ 2560 และระบบเลือกตั้ง ส.ส.ทำให้ประเทศไทยมีลักษณะการจัดตั้งรัฐบาลผสม เพราะโอกาสพรรคการเมืองที่จะชนะเลือกตั้งขาดโอกาสน้อยมาก.
 
ตัวแปรผลการเลือกตั้ง ปี 2566  พรรคก้าวไกล คว้าที่นั่ง ลำดับ 1 จำนวน 151 ที่นั่ง พรรคเพื่อไทย คว้าที่นั่ง ลำดับ 2 จำนวน 141 ที่นั่ง ทั้งสองพรรคการเมือง ชนะการเลือกตั้งไม่ขาด ทำให้เกิดอุปสรรคในการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาล
 
สูตรที่หนึ่ง  จัดตั้งรัฐบาลผสม“รัฐบาลพิธา”  โดยพรรคก้าวไกลที่ชนะการเลือกตั้งลำดับหนึ่ง มีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล รวบรวมเสียง ส.ส.จาก 8 พรรคการเมือง จำนวน 312 เสียง ได้แก่ พรรคก้าวไกล (151 ที่นั่ง) พรรคเพื่อไทย(141 ที่นั่ง) พรรคประชาชาติ (9 ที่นั่ง) พรรคไทยสร้างไทย (6 ที่นั่ง) พรรคเพื่อไทรวมพลัง (2 ที่นั่ง) พรรคเสรีรวมไทย (1 ที่นั่ง) พรรคเป็นธรรม (1 ที่นั่ง)และพรรคพลังสังคมใหม่ (1 ที่นั่ง) แต่การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี มาตรา 272 วรรคหนึ่งตอนท้าย จะต้องใช้เสียงทั้งสองสภาถึง 376 เสียง จึงขาดอีก 64 เสียง โดยจะต้องไปรวบรวมเพิ่มเติมให้ครบ 376 เสียง โดยรวบรวมจาก ส.ส.หรือ สว.หรือ ทั้ง ส.ส.และ สว.ก็ได้ เพื่อให้ครบตามข้อกฎหมาย ในการโหวตเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตจากพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรี
 
ช่องทางรวบรวมเสียงของก้าวไกล เกิดตัวแปรสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1)ดึงพรรคภูมิใจไทย จำนวน 71 ที่นั่งให้เข้าร่วมรัฐบาล แต่เนื่องจากทั้งสองพรรคคนละขั้ว คนละอุดมการณ์ อำนาจเด็ดขาดโดยพฤตินัย อยู่ที่หมอผีเขมร “ชื่อพม่า หน้าลาว เว้าเขมร” อำนาจอยู่ที่คนนี้คนเดียว โดยมีตัวแปรหลักกระทรวงเกรด A+ อาทิ คมนาคม สาธารณสุข ที่สำคัญ คือ นโยบายกัญชาเสรี  (2)เสียงจาก สว.64 เสียง แต่ปัญหาเกิดจาก การเสนอแก้ไข ปอ.มาตรา 112 เป็น 1 ใน 45 ร่างกฎหมาย ที่พรรคก้าวไกล จะเสนอแก้ไขเพิ่มเติมทันทีเมื่อได้เปิดสภา จะเป็นตัวเร่ง บดขยี้ ให้ สว.นำเป็นเงื่อนไข ไม่โหวตเสียงให้ประกอบกับ กกต.ตั้งคณะกรรมการไต่สวน มาตรา 151 กฎหมายเลือกตั้ง จะเป็นตัวแปรจากจะโหวตให้เป็นปฎิเสธการโหวตหรืองดออกเสียง  (3)กรณีประชาชนผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลชุมนุมกันนอกสภาเพื่อเพื่อกดดัน สว.ในวันเลือกนายกรัฐมนตรี ประเด็นนี้ สว.จะอ้างเหตุไม่โหวตให้ โดยอ้างเอกสิทธิ์ดุลพินิจในการโหวตในสภา 
 
สูตรที่สอง อีกขั้วหนึ่งตรงกันข้ามจากสูตรที่หนึ่ง โดย 10 พรรคการเมือง 188 เสียง ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย(71 ที่นั่ง)  พรรคพลังประชารัฐ (40 ที่นั่ง) พรรครวมไทยสร้างชาติ (36 ที่นั่ง) พรรคประชาธิปัตย์ (25 ที่นั่ง) พรรคชาติไทยพัฒนา (10 ที่นั่ง) พรรคชาติพัฒนากล้า (2 ที่นั่ง) พรรคประชาธิปไตยใหม่ (1 ที่นั่ง) พรรคใหม่ (1 ที่นั่ง) พรรคท้องที่ไทย (1 ที่นั่ง) พรรคครูไทยเพื่อประชาชน(1 ที่นั่ง)  โดยเสนอให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งในพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก ใน 10 พรรคการเมืองนี้ เป็นนายกรัฐมนตรี ปัญหาตัวแปร การจัดตั้งรัฐบาลสูตรนี้ จะพบว่า รวบรวมเสียงได้เพียง 188 เสียง เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย อาจเกิดขึ้นได้ (เทียบเคียงกับรัฐบาลเสียงข้างน้อย โดยใช้โมเดล มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ขณะนั้น มี ส.ส.ในสภาเพียง 18 เสียง) หากนำเสียงไปรวมกับ สว.อีก 188 เสียงเช่นกัน จะได้เสียงครบ 376 เสียง สามารถจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ  แต่จะเกิดปัญหาองค์ประชุมในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรขาดเสียงถึง 63 เสียง ถึงจะเกินกึ่งหนึ่ง 251 เสียง จะเกิดปรากฎการณ์งูเห่าทางการเมืองขึ้น องค์ประชุมจะล่มบ่อย การเมืองจะขาดเสถียรภาพ อยู่ได้ไม่นาน เพราะจะต้องผ่านกฎหมายการเงิน
 
สูตรที่สาม  การถอนตัวของพรรคเพื่อไทย 141 ที่นั่ง ไปจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว โดยเสนอบุคคลที่มีรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง อาทิ นายเศรษฐา ทวีสิน พล.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  อาจเกิดขึ้นได้ในทางการเมือง เพราะการเมืองไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร หากผลประโยชน์ทางการเมืองลงตัว ประกอบกับเมื่อไปรวมกับ 188 เสียง  เท่ากับสูตรที่สามนี้ รวบรวมเสียงได้ 329 ที่นั่ง (เกินหนึ่งหนึ่งในสภา) มากกว่าสูตรที่หนึ่ง และบวกเสียงของ สว.อีก 47 เสียง จะครบ 376 เสียง ส่งผลให้สูตรที่หนึ่งไปเป็นฝ่ายค้านโดยปริยาย ทั้งนี้ การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ของ สว. ในดุลยภาพทางการเมือง อยู่ที่เงื่อนไขอำนาจ ว่า 2 ป. ว่าบุคคลใดคุมเสียง สว.มากที่สุด จะเป็นตัวแปรสำคัญได้นั่งนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ 
 
สำหรับสูตรที่หนึ่ง เป็นรัฐบาลมาจากพลเรือน มาจากการเลือกตั้ง แต่จะพบปัญหาว่า ในการรวบรวมเสียงให้ครบ 376 เสียง เป็นตัวแปรสำคัญว่าจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จหรือไม่ ทั้งจะพบปัญหาตัวแปรข้อกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ล็อคอีกชั้นหนึ่ง แนวคิดก้าวหน้า แนวคิดเปลี่ยนแปลง จะถูกจำกัดโดยข้อกฎหมาย เพราะหากดำเนินนโยบายขัดกับยุทธศาสตร์ชาติ จะทำให้หลุดจากเก้าอี้และมีโทษทางอาญา
 
สูตรที่สอง ขาดเสถียรภาพทางการเมือง ไม่ว่าจะให้บุคคลใดเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นทหารจำแลงหรือพลเรือน จะเกิดปรากฎการณ์งูเห่าทางการเมืองและสภาจะล่มบ่อย ทำให้รัฐบาลอยู่ได้ไม่นาน
 
สูตรที่สาม อาจเกิดขึ้นได้ เพียง รอเวลา ให้สูตรที่หนึ่งจัดตั้งไม่ได้ แล้วสูตรที่สามจะเกิดขึ้น เพราะเสียง ส.ส.ในสภาถึง 329 เสียง ในสภาเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ทำให้ทำรัฐบาลเกิดเสถียรภาพ ให้ประชาชนหรือคอการเมืองสังเกตว่า พรรคภูมิใจไทย 71 เสียงและสมาชิกวุฒิสภา  เทคะแนนเสียงให้กับสูตรใด สูตรนั้นจะจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กมธ.คุ้มครองผู้บริโภครับลูกเร่งผลักดัน 3 กม.ของภาคประชาชน

'กมธ.คุ้มครองผู้บริโภค' รับหนังสือแก้ไขกฎหมาย 3 ฉบับ เร่งสภาผลักดัน แก้ปัญหาสินค้าไม่ตรงปก - ติดฉลาก -ให้ข้อมูลโภชนาการไม่สมบูรณ์

ฉายาสภา 'เหลี่ยม(จน)ชิน' 'บิ๊กป้อม-ธิษะณา' คว้าดาวดับคู่

สื่อสภาตั้งฉายาสภา 'เหลี่ยม(จน)ชิน' – 'เนวิ(น)เกเตอร์' สภาสูง 'วันนอร์' รูทีนตีนตุ๊กแก – ประธานวุฒิฯ 'ล็อกมง' – ผู้นำฝ่ายค้านฯ 'เท้งเต้ง' 'บิ๊กป้อม-ธิษะณา' คว้าคู่ 'ดาวดับ' ยกขันหมาก 'พท.-ปชป.' เหตุการณ์แห่งปี

“รัฐบาล”ไฟลต์บังคับ “ทักษิณ”ได้แค่กร่าง

ดรามาปม “อีแอบ” อาจเป็นแค่ประเด็นโชว์กร่าง หวังกดดันให้พรรคร่วมรัฐบาลสยบยอม หลัง “ทักษิณ ชินวัตร” นายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นพ่อนายกรัฐมนตรี ได้พ่นไฟระหว่างงานสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่ อ.หัวหิน เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา

'อิ๊งค์' เปิดตัว 9 ผู้สมัครนายก อบจ. ดีเอ็นเอเพื่อไทยชัด นามสกุลเดียวกับ สส.เพียบ

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรค และ สส.สระแก้ว , นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

'นายแบกเพื่อไทย' ตบปาก 'นายกฯว่าว' โทษฐาน แนะ 'นายกฯอิ๊งค์' ใช้เวทีสภาฯ ลบคำครหาเรื่องโพย พึ่งพ่อ

นายอิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความว่า พิธา แนะนายกฯอิ๊ง ให้ใช้เวทีสภาฯ แส