24 มิ.ย.2566 - ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย (ภท.) นำทีม ส.ส. พรรคภูมิใจไทยเข้ารับหนังสือรับรองส.ส. พร้อมกล่าวว่าพรรคภูมิใจไทย และพรรคร่วมรัฐบาลยังไม่ได้หารือกันเรื่องการโหวตประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคาดว่าในการประชุมพรรคภูมิใจไทย ในวันที่ 25 มิ.ย. จะมีการหยิบยกมาหารือ และอัพเดทสถานการณ์บ้านเมือง
นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวถึงธรรมเนียมปฏิบัติในการโหวตประธานสภาฯ ว่าจะต้องหารือกันก่อน แต่วันนี้ยังรายงานตัวส.ส. ไม่ครบ ขณะเดียวกัน ต้องรอความชัดเจนการเจรจาของพรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคก้าวไกล ขอให้เป็นสิทธิของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งได้ดำเนินการก่อน
ผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่องประธานสภาฯ ที่ยังไม่ชัดเจน รวมถึงสถานการณ์การเมือง สมการการเมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า รอให้รายงานตัว ส.ส.แล้วเสร็จ และเปิดประชุมสภาฯ ทุกอย่างจะชัดเจน เพราะขั้นตอนดำเนินการทางกฎหมายมีอยู่แล้ว ขออย่าคาดการณ์สถานการณ์อะไรที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ และพรรคภูมิใจไทยยืนยันเคารพหลักการตามระบอบประชาธิปไตย ให้สิทธิพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง เป็นผู้ดำเนินการก่อน
นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะมาทำหน้าที่ประธานสภาฯ โดยได้ยกตัวอย่างที่ผ่านมาว่า ต้องเป็นผู้ที่ควบคุมการประชุม และมีความเป็นกลางทางการเมือง สิ่งเหล่านี้เป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะเสนอตัวเข้ามาเป็นประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ 1 ใน 3 อำนาจอธิปไตยสำคัญ
เมื่อถามว่า ขณะนี้สูตรรัฐบาลมีหลายสูตร และก็มีสูตรถ้ามีพรรคภูมิใจไทยต้องไม่มีพรรคก้าวไกล นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ขอให้รอดีกว่า ให้ทางพรรคก้าวไกลที่ชนะการเลือกตั้งอันดับ 1 ได้ดำเนินการ ให้กำลังใจพรรคก้าวไกลเพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมา ประชาชนได้มอบความไว้วางใจ ตามครรลองประชาธิไตย และเชื่อว่าการส่งมอบงานกระทรวงคมนาคมไม่มีปัญหาอะไร ด้วยมีระบบราชการขับเคลื่อน ส่วนรัฐมนตรีขับเคลื่อนนโยบายเพื่อประโยชน์ประชาชน และไม่วิตกกังวลว่าจะมีการเช็กบิลอะไร เพราะหากดำเนินการตามกฎหมายก็อย่าไปกังวล
นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวถึงกรณีการถือหุ้นไอทีวี ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล จะส่งผลต่อการโหวตนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ว่า ต้องรอให้สิ่งเหล่านี้เป็นคำกล่าวหา โดยจะรอดูว่าหน่วยงานที่วินิจฉัยให้วินิจฉัยออกมาให้เรียบร้อย ค่อยตัดสินใจ
นายศักดิ์สยาม ได้กล่าวขอบคุณทุกคะแนนเสียงที่โหวตเลือก และไว้วางใจพรรค เลือก ส.ส. 71 คน พร้อมยืนยันว่า จะทำตามนโยบาย และสิ่งที่ได้ประกาศกับประชาชนไว้ โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญในการแก้ปัญหาของประชาชน และรักษาสถาบันหลัก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
สำหรับยอดรวม ส.ส. ที่เข้ามารับหนังสือรับรองที่ กกต. ในช่วงเช้า มีทั้งหมด 38 คน โดยคนแรก คือ นายพงษ์มนู ทองหนัก ส.ส.พิษณุโลก เขต 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ที่เหลือเป็น ส.ส. จากพรรคภูมิใจไทยที่นำโดยเลขาธิการพรรค ทำให้คงเหลือ 4 คนที่ยังไม่ได้มารับหนังสือรับรอง ประกอบด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ส.ส.อยุธยา เขต 4 พรรคภูมิใจไทย นายรุ่งโรจน์ ทองศรี ส.ส.บุรีรัมย์เขต 9 พรรคภูมิใจไทย และนายอนุชา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ
ทั้งนี้ มีรายงานว่านายอนุทิน จะเดินทางเข้ามารับหนังสือรับรองในช่วงบ่ายวันนี้ เนื่องจากติดภารกิจด่วนในช่วงเช้าที่จังหวัดขอนแก่น ด้านนายอนุชา ยังคงติดภารกิจเดินทางไปศึกษาฟาร์มโคนมตัวอย่าง ที่ประเทศญี่ปุ่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476