ดร.ณัฎฐ์ มือกฎหมายมหาชน ชี้คลิปประชุมไม่ใช่สาระสำคัญ ฟันธง 'พิธา' เซ่นพิษหุ้นสื่อ!

12 มิ.ย. 2566 - จากกรณีรายการข่าว 3 มิติ ของสถานีโทรทัศน์ทีวี ช่อง 3 โดยนางสาวฐาปนีย์ เอียดศรีไชย เปิดเผยคลิปการประชุมผู้ถือหุ้น ITV ที่เข้าร่วมการประชุมสามัญประจำปี เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยเป็นคลิปเสียงที่มาจากหนึ่งในผู้ถือหุ้น ITV ซึ่งส่งให้รายการข่าว 3 มิติ ตรวจสอบว่า บันทึกการประชุมที่เผยแพร่ออกมานั้น ไม่ตรงกับการประชุมที่ถ่ายทอดทางอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งมีการบันทึกวีดีโอไว้ โดยเฉพาะช่วงคำถามที่ว่า ITV ยังดำเนินกิจการสื่อหรือไม่ เป็นคำถามจากนายภาณุวัฒน์ ขวัญยืน ผู้ถือหุ้น ถามว่า มีการดำเนินกิจการเกี่ยวกับสื่อหรือทีวีไหมครับ โดยนายคิมห์ สิริทวีชัย ประธานคณะกรรมการบริษัท ตอบคำถามว่า ตอนนี้บริษัทยังไม่ดำเนินการใดๆ รอผลคดีความให้สิ้นสุดก่อน

ล่าสุด ดร.ณัฐวุฒิ. วงศ์เนียม หรือ“ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชน แสดงทัศนะต่อเรื่องนี้น่าสนใจว่า ก่อนอื่น เท่าที่ดูคลิปที่ปรากฏทางสื่อ ตนไม่รับรองว่า คลิปประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีไอทีวีที่นำมาเปิดเผยต่อสาธารณะได้มีการตัดต่อหรือไม่หรือไม่ อย่างไร ไม่ทราบมาจากแหล่งใด น่าเชื่อถือหรือไม่ ปัจจุบันสามารถตัดต่อได้ง่าย ส่วนรายงานการประชุมสามัญประจำปี 2566 เป็นการดำเนินกิจการภายในของ บมจ.ไอทีวี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน โดยหลัก ประชุมผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์ อาทิ Google Meet หรือ Zoom meeting จะมีการบันทึกภาพวีดีโอและเสียงไว้ในตัว สามารถตรวจสอบได้ การจดรายงานประชุม ผู้บันทึกรายงานการประชุม ต้องจดรายละเอียดสาระสำคัญให้ครบถ้วน ไม่ตัดทอนข้อความให้ผิดไปจากความเป็นจริงเพราะบันทึกประชุมบริษัทฯ ถือเป็นเอกสารสิทธิ

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า หากพิจารณาจากหนังสือรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ที่เผยแพร่ทั่วไปมีนายคิมห์ สิริทวีชัย ประธานที่ประชุมและมีนายจิตชาย มุสิกบุตร กรรมการผู้สอบทานและแก้ไข ได้ลงนามในรายงานการประชุม เชื่อว่ามีการตรวจสอบและตรวจทานความถูกต้องเรียบร้อยก่อนลงนาม มีน้ำหนักน่าเชื่อถือว่าเป็นเอกสารแท้จริง แม้บันทึกวีดีโอภาพและเสียง ที่นำมาเผยแพร่สู่สาธารณะและบันทึกรายงานการประชุมสามัญประจำปี 2566 มีข้อความไม่ตรงกัน ไม่มีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ที่ บมจ.ไอทีวี ที่จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพราะเป็นเอกสารมหาชน หากผู้ถือหุ้น มีพยานหลักฐานบันทึกข้อความภายในไม่ตรงกัน คดีอาญาจะต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากอีกเรื่องหนึ่ง เป็นคนละเรื่องกัน หากนายพิธาบอกว่าไม่ได้ถือหุ้นในฐานะส่วนตัว จะกินปูนร้อนท้องทำไม ติ่งส้มหรือผู้สนับสนุนจะออกมาดิ้นทำไม เพราะเป็นกิจการภายในของ บมจ.ไอทีวี ไม่มีผลโดยตรงต่อวินิจฉัยชี้ขาดการถือครองหุ้นสื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่ ส.ส.และหัวหน้าพรรคก้าวไกล

มือกฎหมายมหาชน กล่าวต่อว่า ส่วนในข้อสาระสำคัญ คดีการถือครองหุ้นสื่อนายพิธา พิจารณา วันสมัคร ส.ส. ในวันที่ 4 เมษายน 2566 อาจมีผลย้อนหลังถือการเป็นสมัคร ส.ส.ในปี 2562 เพราะถือครองหุ้นสื่อต่อจากบิดาในปี 2550 ว่า เป็นเจ้าของหรือคอบครองหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนใดๆหรือไม่ อย่างไร เพราะเป็นคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลด้วย หากพิจารณาเอกสาร บอจ.6 (บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของ บมจ..ไอทีวี) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถือว่าเป็นเอกสารมหาชน ระบุไว้ชัดว่า นายพิธาถือครองหุ้นในนามส่วนตัว แม้ภายหลังนายพิธายกขึ้นกล่าวอ้างว่า ถือครองในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมมีน้ำหนักน้อย เพราะใบหุ้นเป็นเอกสารมหาชน ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ สามารถใช้ยันนายพิธาได้เพราะกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นของจริงและถูกต้อง ตามข้อกฎหมาย ป.วิแพ่ง มาตรา 127 แม้นายพิธาฯจะโอนหุ้นให้แก่ทายาทคนอื่น ประหนึ่งว่า ตนทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเสร็จสิ้น โดยทำบัญชีทรัพย์รายงานต่อศาล รวมทั้งคาดหมายว่าสละมรดกย้อนหลัง แม้หุ้นนายพิธา จะโอนไปกี่ทอดก็ตาม ย่อมไม่พ้นผิด

"พยานหลักฐานที่สำคัญในคดี ไม่ว่าจะในชั้น กกต.หรือชั้นศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะเชือดนายพิธาจะรอดหรือไม่รอดนั้น อยู่ที่ วัตถุประสงค์หลักของ บมจ.ไอทีวี ที่ได้ยื่นจดทะเบียนไว้กับหน่วยงานราชการ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นหลักฐานสำคัญที่จะมัดตัวนายพิธา แม้จะถือหุ้นมากน้อยเพียงใด ย่อมขาดคุณสมบัติ สมัคร ส.ส. ตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยจะนำคำวินิจฉัยตามคำสั่งศาลฎีกา ลข.42/2566 ของนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ปชป.เขต 2 นครนายก มาเทียบเคียงกันไม่ได้ เพราะหุ้นเอไอเอส ไม่ใช่หุ้นสื่อ แต่เอไอเอสนำเงินไปลงทุนในหุ้นสื่อ เป็นดำเนินกิจการทางอ้อม แต่หุ้นสื่อไอทีวี ของนายพิธาแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง" ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่าแม้ปัจจุบันไอทีวีจอดำ แต่มีรายได้จากช่องทางอื่น อยู่ระหว่างรอศาลปกครองสูงสุดพิพากษา พร้อมกับมาประกอบกิจการสื่อ แสดงถึงนัยยะว่า ยังไม่เลิกกิจการสื่อโทรทัศน์ ส่วนเอกสารที่จะมัดตัวนายพิธาผู้ถือุหุ้น ได้แก่ การเสียภาษีนิติบุคคลรายปี งบดุลรายปี ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์จาก กสทช. เป็นต้น ส่วนการประชุมสามัญประจำปีระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน เป็นการดำเนินกิจการภายใน แม้จะบันทึกข้อความอย่างไร ในการประชุมการถือหุ้น ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ

"ดังนั้นการเปิดเผยคลิปการประชุมว่า ข้อความไม่ตรงกัน ไม่ใช่ เป็นการฟอกขาวให้กับนายพิธาหรือนายพิธาจะหลุดพ้นหุ้นสื่อ พี่น้องประชาชนอย่าไปสับสน เพราะเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ต้องไม่ถือหุ้นสื่อในวันสมัคร ส.ส. ทั้งการซุกหุ้น เป็นการกระทำของตนเอง ไม่เกี่ยวกับติ่งส้มหรือผู้สนับสนุนนายพิธา และไม่มีใครกลั่นแกล้งนายพิธา หากจับไม่ได้ ไล่ไม่ทัน พี่น้องประชาชน ไม่ทราบว่า นายพิธา ซุกหุ้นสื่อ อีกประการหนึ่ง การที่ กกต.ตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือไต่สวนนายพิธา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 42(3) จะมีการหยิบพยานหลักฐานข้างต้นประกอบการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด ส่งผลร้ายแก่นายพิธาผู้ถูกกล่าวหา" ดร.ณัฐวุฒิ ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระจ่าง! ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้กรณีคุณสมบัติ 'สว.หมอเกศ'

“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ กรณี สว.หมอเกศ ปริญญาเอกและตำแหน่งศาสตราจารย์ หากไม่จริง เป็นการโชว์เหนือ หลอกลวงเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร สว.ด้วยกัน เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของตนเอง

'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงคดีตากใบที่ไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ ภายในอายุความ 20 ปี ทำ

ดร.ณัฏฐ์ เตือนออกพรก.ขยายอายุความคดีตากใบ จะกระทบความเชื่อมั่นในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา

สืบเนื่องจากคดีตากใบ ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องและคำสั่งมีมูล ต่อมาเมื่อถึงวันนัดสอบคำให้การ จำเลย

'ปริญญา' ชี้เป้าจับตา 'กกต.' ยุบเพื่อไทยมาตรฐานเดียวยื่นก้าวไกลหรือไม่   

'ปริญญา' มองการตีความคำว่า 'ชี้นำ-ครอบงำ' กว้าง อยู่ที่ 'กกต.-ศาลรธน.' ตัดสิน หลังคำร้อง 'ยุบเพื่อไทย' ถูกรับไว้ จับตาเดินตามแนวก้าวไกลหรือไม่

ดร.ณัฏฐ์ เตือนนิรโทษกรรมเหมาเข่ง 112 สารตั้งต้นล่มสลายรัฐบาลแพทองธาร!

สืบเนื่องจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 33 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 เข้าสู่วาระพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม เพื่อ

ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน ชี้ชัด 'ล้มล้างการปกครอง' ต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ

มือกฎหมายมหาชน ชี้ “ล้มล้างการปกครอง” สารตั้งต้นนำไปสู่ยุบพรรคเพื่อไทย ต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน เพียงพอ กำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ