ยกงานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า ปชช. 3 จว.ชายแดนใต้ ไม่หนุนรัฐอิสระ

ทีมแก้ปัญหาภาคใต้ 8 พรรคตั้งรัฐบาล เผยงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า ประชาชน 3 จชต.ไม่หนุนรัฐอิสระ แนะเอารายงานสภาฯ ปรับแก้ปัญหา ปลายด้ามขวาน

11 มิ.ย.2566-นายชวลิต วิชยสุทธิ์ กรรมการยุทธศาสตร์ พรรคไทยสร้างไทย และหนึ่งในคณะทำงานย่อยแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ8พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ให้ความเห็นกรณีมีความพยายามจะดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องในการจัดสัมมนาทางวิชาการที่ มอ.ปัตตานี ด้วยมีการเสนอทำประชามติเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดนว่า การแก้ไขปัญหา 3 จชต.เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทุกภาคส่วนควรอดทน ละเอียด รอบคอบต่อการแก้ไขปัญหา ระวังอย่าเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวส่งผลให้ปัญหาบานปลายเหมือนเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต    ในฐานะที่เคยทำงานในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ในสมัยที่ผ่านมา ตนมีข้อสังเกตต่อแนวทางแก้ไขปัญหา 3 จชต. จำนวน 2 ประการ ดังนี้

1. สถาบันพระปกเกล้า โดย พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า  เคยทำงานวิจ้ยแนวทางแก้ไขปัญหา 3 จชต. โดยใช้ชื่องานวิจัยนั้นว่า  PEACE SURVEY ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชน 3 จชต.ถึง 5 ครั้ง โดยในครั้งที่ 5 สำรวจความเห็นระหว่างเดือนกันยายน – ตุลาคม 2562 โดยถามความเห็นประชาชนถึง “รูปแบบการปกครองที่ต้องการ” พบว่า รูปแบบการปกครองที่เป็นอิสระจากประเทศไทย เป็นรูปแบบที่ประชาชนต้องการ “น้อยที่สุด” ส่วนรูปแบบการปกครองที่ประชาชนต้องการมากที่สุด คือ รูปแบบการปกครองที่มีการกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย (เอกสารงานวิจัย หน้าที่ 68)

ข้อสังเกตในประเด็นนี้ก็ คือ ความคิดเห็นของประชาชนใน 3 จชต.ในการเป็นอิสระจากประเทศไทยนั้นมี แต่น้อย มีข้อสังเกตว่า ถ้าไม่ปรับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา ปล่อยให้ปัญหาความไม่สงบ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความยากจน และความอยุติธรรม  เป็นปัญหาที่จมลึกอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน ไปมากกว่านี้ ก็จะกระทบและสร้างความเสียหายต่อการพัฒนาประเทศโดยภาพรวมมากขึ้น ๆ

2. คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้ทำการศึกษา เรื่อง แนวทางสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ เพื่อการพัฒนาสร้างสันติสุขและประชาธิปไตย ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรายงานของ คณะกรรมาธิการดังกล่าวมีตัวแทนจากทุกพรรคการเมืองร่วมเป็นคณะกรรมาธิการได้ให้ความเห็นชอบกับรายงานพร้อมทั้งเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรและบรรจุอยู่ในระเบียบวาระการประชุมแล้ว แต่การพิจารณาไม่ถึง ระเบียบวาระ หมดสมัยประชุมไปก่อน

บทสรุปของคณะกรรมาธิการ ฯต่อการแก้ไขปัญหา 3 จชต. คือ ปรับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจ การเมือง นำการทหาร และน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาปรับใช้อย่างจริงจัง ประการสำคัญ เวลาของความขัดแย้ง ความไม่สงบ ได้ยืดเยื้อยาวนานเกือบ 20 ปีติดต่อกัน สร้างความเสียหายต่อชีวิต จิตใจ ทรัพย์สิน ทั้งของประชาชนและทางราชการมากมาย ถึงเวลาที่จะให้ “อภัย” ต่อกัน โดยหลักศาสนาทั้งพุทธและมุสลิม โดยนำคำสั่งสำนักนายกรัฐมนครี ที่ 66/2523 มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (ขอเอกสารรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการ ฯ ได้จากสภา ฯ)

ในส่วนข้อเสนอจากพรรคไทยสร้างไทย นั้น พรรคได้นำงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าและรายงานของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฏร มาปรับใช้ มี time line ในการแก้ไขปัญหา 3 จชต. แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยระยะยาวซึ่งเป็นระยะสุดท้าย เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เมื่อบริหารจัดการ 2 ขั้นตอนแรกเรียบร้อย จึงถึงขั้นตอนการกระจายอำนาจภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ประการสำคัญ ผู้บริหารพรรคโดย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ หัวหน้าพรรค และ ดร.โภคิน พลกุล ประธานกรรมการยุทธศาสตร์พรรค  นอกจากเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้ง 3 ขั้นตอนดังกล่าว ซึ่งนำงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า และรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร มาปรับใช้แล้ว ท่านยังแนะนำให้เพิ่มมิติด้านการต่างประเทศโดยให้ความสำคัญกับการประสานกับมิตรประเทศที่จะร่วมกันสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในภูมิภาค ซึ่งผมได้แจ้งต่อที่ประชุมคณะทำงานย่อย ฯ ในการประชุมครั้งแรกที่พรรคก้าวไกล เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแล้ว และจะติดตามในการประชุมครั้งที่สอง ในวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2566 ณ พรรคประชาชาติต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ถึงอุบลฯ ไหว้พระ เดินชมตลาด สส.ไทยสร้างไทยหน้าเดิม รอต้อนรับด้วย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กราบนมัสการพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง โดยนายกฯได้ถวายขันหมากเบ็ง จากนั้นได้กราบนมัสการและสนทนาธรรมกับพระวชิรกิจโกศล (พระครูสารกิจโกศล) เจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม พระอารามหลวง รองเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี

รทสช. ชี้ข่าวยกเลิกสส.บัญชีรายชื่อ ไม่มีมูลเหตุ วอนทุกฝ่ายหยุดประเด็นทางการเมือง

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี ในฐานะโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ยกเลิก สส.ระบบบัญชีรายชื่อ เหลือเพียง สส.ระบบแบ่งเขต ว่า การมี สส.ทั้ง 2 ระบบเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว

นายกฯ เมิน 'หญิงหน่อย' จี้ทำสัญญาไม่โละ สส.ปาร์ตี้ลิสต์ บอกอย่าสร้างประเด็น

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ออกมาระบุว่าพรรคเพื่อไทย มีแนวคิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ โล๊ะทิ้งสส.บัญชีรายชื่อให้เป็น

ไม่พลาด! 'อนุสรณ์' ไล่อัด 'หญิงหน่อย' มโนไปเรื่อย ปูดแก้รธน.โละทิ้งสส.ปาร์ตี้ลิสต์

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) อ้างว่ามีความพยายามจะแก้รัฐธรรมนูญให้ สส.มีที่มาจากระบบเขตทั้งหมด 500 ที่นั่ง

'เพื่อไทย' ชี้โพลสนง.สถิติฯ คนถูกใจนโยบายรัฐบาล ไม่ได้หวังแย้งโพลพระปกเกล้า

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจประชาชนที่พอใจผลงานรัฐบาลในรอบ 6 เดือน

'พิธา' พร้อมเสียบ หากเศรษฐาหลุดตำแหน่งนายกฯ

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงผลโพลสถาบันพระปกเกล้า สำรวจคะแนนความนิยม พรรคการเมือง ซึ่งพรรคก้าวไกลและนายพิธามีคะแนนนำเป็นอันดับหนึ่ง