กบฏแบ่งแยกดินแดนรัฐปาตานี 'ดร.ณัฎฐ์' มือกฎหมายมหาชนคนดัง ชี้ 'การกำหนดอนาคตตนเอง' มติ UN ให้อำนาจ แต่คาบเกี่ยว การแยกรัฐอิสระ เป็นการแบ่งแยกดินแดน
9 มิ.ย.2566 - สืบเนื่องจากกรณีการเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนนักศึกษาแห่งชาติ PELAJAR BANGSA มีการเปิดตัวกลุ่มเป็นครั้งแรก ที่คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยได้เชิญนักวิชาการด้านสันติวิธีมาร่วมอภิปรายในหัวเรื่อง “การกำหนดอนาคตตนเอง (Self Determination) กับสันติภาพปาตานี” พร้อมทั้งมีการทำแบบสอบถามความเห็นของผู้ร่วมงานว่าเห็นด้วยกับ "สิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเองหรือไม่” ที่จะให้ประชาชนปาตานีสามารถออกเสียงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกกฎหมาย
ล่าสุด ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฎฐ์ มือกฎหมายมหาชน ออกมาให้ความเห็นในเรื่องนีัว่า แนวคิด วิธีการ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเกี่ยวกับความรู้สึกและความเชื่อในอดีตที่ต้องการปกครองตนเองในรัฐปาตานี หรือปัตตานีเดิมในระดับมลรัฐที่แยกตัวออกมาจากมาลายาอยู่ในเขตดินแดงประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
"ดังนั้น การแจกแบบสอบถามประชาชนที่ร่วมสัมมนาของกลุ่มขบวนนักศึกษาแห่งชาติ PELAJAR BANGSA ที่มีนายอิรฟาน อูมา เป็นผู้นำ จะต้องพิจารณาก่อนว่า ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะการแบ่งแยกดินแดน ถือเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดน มีโทษทางอาญา" ดร.ณัฐวุฒิ ระบุ
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าที่ผ่านมา ตนเห็นว่าในเรื่อง RSD RIGHT TO SELF-DETERMINATION หรือ สิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง มีการเคลื่อนไหวมานานหลายปีในพื้นที่เป็นการเคลื่อนไหวในเชิงปิด ไม่มีการแสดงออก ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ เป็นไปตาม มติของสหประชาชาติหรือ UN มติที่ 1514 ในปี1960 ได้เขียน เพื่อให้ประเทศที่ถูกนักล่าอาณานิคม มีสิทธิเรียกร้องในการกำหนดชะตากรรมของตนเองได้ ชะตากรรมของตนเองมีในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ เรื่องของการศึกษา ศาสนา และความเป็นอยู่
"แต่การเรียกร้องกำหนดตนเองเพื่อแยกรัฐปาตานีปกครองตนเอง หากเป็นเรื่องจริง ถือว่า เป็นภัยแก่ความมั่นคง หน่วยงานความมั่นคงยินยอมให้มีการสัมมาเชิงสัญลักษณ์แบบนี้ ได้อย่างไร เพราะเป็นสารตั้งต้นความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ หากพิจารณาถึงแบบสอบถาม เพื่อสอบถามความต้องการของคนในพื้นที่ ไม่ต่างจากการจัดทำประชามติ รับฟังความคิดเห็นผู้เข้าร่วมในการประชุมสัมนา และเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาวิพากษ์วิจารณ์ ถามว่า สังคมได้ประโยชน์อะไร เชิงวิชาการหรือไม่อย่างไร เพราะหากจัดทำในเชิงวิชาการ นำไปสู่การปฎิบัติแท้จริง ส่งผลให้ไทยเสียดินแดน จะรุกลามไปยังจังหวัดใกล้เคียง นำไปสู่ให้สหประชาชาติเข้ามาแทรกแซงกิจการในประเทศไทย
ดังนั้นการแจกแบบสอบถามไม่ต่างจาก การจัดทำประชามติ การแยกพื้นที่อ้างรัฐปาตานี มาลายาเดิม ย่อมทำให้เกิดกระบวนการแยกเขตแดนเด็ดขาด ทำให้เกิดสภาพเสียดินแดน แม้จะซ่อนรูปเพื่อให้เป็นการประชามติโดยชอบด้วยกฎหมาย ลักษณะเปิด แต่ผลสุดท้ายจังหวัดปัตตานี เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย การแยกปกครอง กำหนดอนาคตของตนเอง โดยกำหนดเขต ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตยและรัฐปาตานี ปกครองตนเอง เท่ากับแยกอำนาจปกครองโดยเด็ดขาด ทำให้ไทยเสียดินแดน ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นกบฎแผ่นดิน พี่น้องประชาชนคนไทยยินยอมยกดินแดนให้กลุ่มคนไม่กี่คนให้ปกครองตนเองหรือไม่ เพราะวิธีการเหล่านี้ จะเห็นได้ชัดว่า เป็นใบเสร็จยืนยันว่า กลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีจริง"
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวทางการเมืองและการเคลื่อนไหวในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยไม่ไปละเมิดต่อกฎหมายและบูรณภาพแห่งดินแดนนั่น เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ การที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในข้อมติดังกล่าวว่า ได้ตั้งข้อสงวนในเรื่องนี้ไว้แต่แรก ของการเข้าไปเป็นภาคีสมาชิกตามข้อมตินี้ ว่า การกำหนดชะตากรรมตนเองไม่ได้หมายรวมถึงการแบ่งแยกดินแดน เพราะว่าประเทศไทยเป็นอาณาจักรหนึ่งเดียวที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นักกฎหมาย' โต้ยิบ 'กรมที่ดิน' ปมที่ดินเขากระโดง
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีกรมที่ดินชี้แจง 5 ประเด็นเกี่ยวกับที่ดิน 'เขากระโดง' ว่าคำแถลงของกรมที่ดิ
'ตุรเกีย' ออกโรงเรียกร้องให้ยูเอ็นคว่ำบาตรการส่งอาวุธให้อิสราเอล
กระทรวงการต่างประเทศของตุรเกียแถลงการณ์ว่า ได้ส่งจดหมายถึงสหประชาชาติที่ลงนามโดย 52 ประเทศและสององค์กร
ปลื้ม ‘UN’ ชม แจก ‘สัญชาติ’ ยันไม่มี ‘สีเทา’
รัฐบาลปลื้มยูเอ็น ยกย่องไทยยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ โฆษกรัฐบาลยัน กลุ่มคนสีเทา หรือแรงงานต่างด้าว หรือผู้หลบหนีเข้าเมือง ไม่ได้สัญชาติไทย เผยเหตุให้รวดเดียว 4.8 แสนคน
กระจ่าง! ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้กรณีคุณสมบัติ 'สว.หมอเกศ'
“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ กรณี สว.หมอเกศ ปริญญาเอกและตำแหน่งศาสตราจารย์ หากไม่จริง เป็นการโชว์เหนือ หลอกลวงเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร สว.ด้วยกัน เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของตนเอง
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงคดีตากใบที่ไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ ภายในอายุความ 20 ปี ทำ