ประธานวุฒิสภา เมินกระแสโซเชียล มั่นใจ ส.ว. มีอิสระโหวตเลือกนายกฯ

แฟ้มภาพ

30 พ.ค.2566 - ที่รัฐสภา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีกระแสสังคมโจมตี ส.ว. เรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรี ว่า ตนไม่ได้มองอะไรเพราะเป็นกระแสและโซเชียล ส่วนส.ว.ยังไม่ได้พูดจาอะไรกันมาก เพราะมีการเปิดประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญไปครั้งเดียว

นายพรเพชร เชื่อว่า ส.ว.ทุกคนมีวุฒิภาวะมีความรู้ ความตั้งใจทำงาน เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ ดังนั้นแต่ละคนมีความคิดของตนเอง และมีความเป็นอิสระซึ่งความเป็นอิสระนั้นไม่ได้หมายความว่าตามอำเภอใจ แต่ต้องคิดถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เชื่อมั่นว่า ส.ว.ทุกคนทำหน้าที่อย่างนั้น ส่วนจะมีใครมาว่าส.ว. คงเป็นส่วนน้อย แต่ส่วนน้อยนั้นอาจจะเสียงดังก็ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่าในฐานะประธานวุฒิสภาได้ให้แนวทางกับส.ว. ต่อแนวทางคนที่จะเสนอชื่อเป็นนายกฯ จะมีคุณสมบัติอย่างไร นายพรเพชร กล่าวว่า ตนไม่เคยให้แนวทางเพราะถือว่ามีหน้าที่ที่ทำหน้าที่เป็นรองประธานรัฐสภา ต้องร่วมกับประธานรัฐสภา ดังนั้นตนในฐานะรองประธานรัฐสภาไม่อยู่ในฐานะที่จะแนะนำอะไรใครได้ ดังนั้นตนได้พูดไว้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งว่าต้องใช้หลักและความเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ซึ่งทุกคนทราบดีว่าควรเป็นอย่างไร ไม่เคยที่จะไปชี้นำหรือไปทำอะไร มั่นใจในส.ว.ส่วนมากเกือบทั้งหมดตั้งใจทำงานที่ดี ค่อยๆ ดูไป

เมื่อถามว่าเคยได้รับการติดต่อจากคณะเจรจาของพรรคก้าวไกล ที่จะขอให้โหวตแคนดิเดตนายกฯ บ้างหรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า ส่วนตัวไม่มีใครมาเจรจา

ถามย้ำว่า หากมีคนติดต่อจะยอมเจรจาด้วยหรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า ตนเรียนไว้แล้วว่าทำหน้าที่รองประธานรัฐสภาจะพูดแนะนำหรืออะไรไม่ได้ ส่วนที่ส.ว. ตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามการตั้งรัฐบาลและโหวตนายกฯ นั้น ตนไม่ทราบ และไม่เคยเกี่ยวข้อง

ถามถึงกรณีที่นายพรเพชร เคยให้สัมภาษณ์ว่าฝั่งที่มีเสียงข้างมากมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาล นายพรเพชร กล่าวว่า หลังจากการเลือกตั้งที่ทราบว่าพรรคการเมืองได้จำนวน ส.ส.เท่าใด ตนไม่เคยพูดอะไร

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่าขณะนี้มีประเด็นตำแหน่งประธานสภาที่ยังตกลงกันไม่ได้ โดยส่วนตัวมองว่าคนที่จะมาทำหน้าที่ควรมีคุณสบติอย่างไร นายพรเพชร กล่าวว่า ตนอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถพูดได้ ว่าอยากจะได้ใคร หรือใครดีไม่ดี แต่เชื่อมั่นและเข้าใจว่าการเลือกประธานรัฐสภา เลือกมาจากส.ส. ที่ผ่านมาการเลือกตั้ง และการลงมตินั้น มาจากส.ส.เช่นกัน ดังนั้นมั่นใจในฐานะรองประธานรัฐสภา จะสามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นใคร

ต่อคำถามที่ว่าขณะนี้มีส.ว. ถูกออกหมายเรียกคือ นายอุปกิต ปาจารียางกูร และนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ จะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และจริยธรรม หรือไม่ ประธานส.ว. กล่าวว่า การดำเนินการตามของกระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมที่ต้องทำ ส่วนในแง่จริยธรรม หากมีพฤติกรรมที่ชี้มูลความผิดต้องเข้าสู่การพิจารณาจริยธรรม แต่ตอนนี้มาถามตนขณะที่เป็นข่าวอยู่ ขอไม่ตอบคำถาม เพราะไม่ทราบว่าเรื่องอยู่ในขั้นตอนไหน

ส่วนเรื่องการตรวจสอบจริยธรรมของส.ว.นั้น ไม่เกี่ยวว่าต้องมีคนร้องหรือไม่ เพราะตนต้องดูข้อเท็จจริงก่อน เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม อัยการ ศาลต้องว่ากันไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สิริพรรณ นกสวน' อาจารย์จุฬาฯ ลงสมัครชิงเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะหน่วยธุรการ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน เพื่อมาแทน นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรธน.

ตอกยํ้าดีลฮ่องกง ลิ่วล้อแจงแทนนาย ‘พรรคส้ม’ ยากเป็นรัฐบาล

ตอกย้ำดีลฮ่องกงเหลว! "ณัฐวุฒิ" ขยายความ "ทักษิณ" คุย "ธนาธร" แค่เล่าชะตากรรม ไม่มีการพาดพิง ม.112 กับก้าวไกล เผยตั้งแต่โหวต "พิธา"

สว.ปฏิมา กังวลกระบวนการยุติธรรมไทยกำลังถูกสั่นคลอนหนัก!

นายปฏิมา จีระแพทย์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ปัจจุบันนี้ เราต่างทราบดีว่า การรักษาความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศคื