'วิษณุ' มองศึกชิงประธานสภาฯ หวังคุมเกมโหวตเลือกนายกฯ มีอำนาจชี้เป็นชี้ตาย

“วิษณุ” รับ ตำแหน่งประธานสภาฯคุมเกมหากเลือกนายกฯไม่ผ่าน มอง เพื่อไทย-ก้าวไกล แย่งกัน มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ ปัดตอบ โอกาส พท.แทงหลัง

29 พ.ค.2566 - เมื่อเวลา 12.50 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความสำคัญของตำแหน่งประธานสภา หลังเกิดกระแสแย่งชิงระหว่างพรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ว่า ตำแหน่งประธานสภามีความสำคัญ เพราะเป็นตำแหน่งอันดับแรกที่จะต้องมีขึ้นหลังการเลือกตั้ง และกลไกการเมืองทั้งหมดจะต้องดำเนินต่อไปหลังจากมีประธานสภา เช่นการเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นต้น แต่ภาระหน้าที่จริงๆ ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่พูดกันหรอก เป็นอย่างที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ และอดีตประธานสภาเคยพูด จะไปกำหนดอะไรตามใจชอบไม่ได้ ไม่เช่นนั้นสมัยก่อนเขาก็ไม่ยกให้นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภา 3 เสียงเอาไปชี้เป็นชี้ตายอะไรไม่ได้ โดยหลักคือปกครองคข้าราชการในสภา ขณะเดียวกันก็มีอำนาจในการกำหนดวันประชุมสภา ส่วนเรื่องที่จะกำหนดหรือไม่กำหนดวาระอะไร ก็เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภา

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้ง 2 พรรคมีความพยายามที่จะเอาตำแหน่งดังกล่าว จึงน่าจะมีวาระทางการเมืองอื่น นายวิษณุ กล่าวว่า “มันก็คงมีความหมาย อืม ใช่ มันคงมีวาระ มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์”

เมื่อถามว่า มีการมองว่าถ้าพรรค ก.ก.ไม่ได้ตำแหน่งประธานสภา อาจกระทบถึงเรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ ตนไม่รู้อะไรทั้งสิ้น อยู่ที่เอ็มโอยูว่าคุณตกลงกันอย่างไร

ซักว่า อาจจะมีผลถึงเรื่องการกลั่นกรองกฎหมาย เพราะพรรค ก.ก.ก็มีวาระเด่น เช่นการแก้ไขมาตรา 112 นายวิษณุ กล่าวว่า ก็ไม่เป็นไร ใครเป็นประธานสภาก็ไม่ได้แปลกไป เมื่อถามต่อว่า หากพรรค ก.ก.ได้ตำแหน่งประธานสภา เรื่องดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาในสภา นายวิษณุ กล่าวว่า จะได้รับหรือไม่ก็เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภา มากกว่าดุลพินิจของประธานสภา

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า ตำแหน่งประธานสภาต้องวางตัวเป็นกลาง หรือจะผลักดันวาระของพรรคตัวเอง หรือของใครไม่ได้ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ใช่ ถูกต้อง

ถามอีกว่า ตําแหน่งประธานสภาต้องลาออกจากกรรมการบริหารพรรคด้วยใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า รวมถึงตำแหน่งหัวหน้าพรรคด้วย

เมื่อถามว่า ตำแหน่งประธานสภา จะมีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยไม่มีการปรับเลยใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เคยมีธรรมเนียมที่จะเอาออก จะออกก็ต่อเมื่อเสียชีวิตหรือลาออก และสภาหมดวาระ เมื่อถามต่อว่า ในประวัติศาสตร์การเสนอชื่อประธานสภา เคยมีมากกว่า 1 ชื่อหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า มี เป็นไปได้หมด ซึ่งในประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ก็จะโหวตแข่งกัน ถ้าหากมีการเสนอชื่อมากกว่า 1 คน

ถามยํ้าว่า ยังไม่เคยเห็นพรรคการเมืองที่ได้คะแนนอันดับ 1 และ 2 เสนอชื่อแข่งกันใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้ามีก็แปลกประหลาด ในทางการเมืองทุกอย่างเป็นไปได้หมดทั้งนั้น แต่มันจะแปลกประหลาด อย่างการเสนอชื่อนายกฯครั้งที่แล้ว ซึ่งมีชื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ หากเป็นแบบนั้นก็โอเค ซึ่งก็เป็นเหมือนประธานสภา สมัยก่อนก็แข่งกันเช่นนี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะที่มีประสบการณ์ทางการเมือง คิดว่าเรื่องดังกล่าวจะทําให้พรรค ก.ก.และ พท.จัดตั้งรัฐบาลได้ราบรื่นหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ขอออกความเห็น เป็นเรื่องของเขา เดินหน้าเซ็นเอ็มโอยูตนก็ตายใจ คิดว่าตกลงกันทุกอย่างจบเรียบร้อย เตรียมเก็บของแล้ว

ซักว่า เห็นรายชื่อผู้ชิงตำแหน่งประธานสภาแล้วหรือยัง นายวิษณุ ถามกลับว่า เขามีหลุดออกมาแล้วหรือ พร้อมกล่าวต่อว่า ส่วนที่หลุดออกมาเป็นข่าวนั้นไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ ไม่ค่อยเชื่อหรอก ส่วนใหญ่หลุดออกมาทางหน้าหนังสือพิมพ์ ตนก็ไม่ค่อยแน่ใจ ย้ำว่าตนยังไม่เคยเห็น

ถามต่อว่า หากวันโหวตนายกฯ ถ้าชื่อของนายพิธา ได้เสียงไม่ถึง 376 เสียง ลำดับขั้นตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ตรงนี้อำนาจอยู่ที่ประธานสภา ว่าเลือกใหม่ในวันพรุ่งนี้ หรืออีก 7 วันจะเลือกกันใหม่ หรืออีก 15 วันเลือกใหม่ ฉะนั้นใครเป็นประธานสภา ก็ชี้เป็นชี้ตายตรงนี้

เมื่อถามว่า หากไม่สามารถเลือกกันได้ จะสามารถเปลี่ยนไปเลือกรายชื่ออื่นได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ประธานจะไปพลิกไม่ได้ อยู่ที่ ส.ส.เสนอชื่อกันใหม่ โดยพรรคการเมืองที่มี ส.ส.เกิน 25 คน เป็นผู้เสนอใหม่ แต่ประธานสภาไม่สามารถพลิกได้ ทําได้แค่เสนอวัน สภาต้องเป็นผู้พลิกเกมเอง แต่ถ้าสภา พลิกแล้วประธานไม่รับลูก และให้รออีก 1 เดือน ก็ต้องรอทิ้งไปเดือนนึง แต่ถ้าประธานสภารับลูก และบอกว่าให้พรุ่งนี้มาใหม่ ก็สามารถทําได้ แม้จะเสนอชื่อเดิม

เมื่อถามว่า สาเหตุนี้ทำให้พรรค ก.ก.อยากได้ตำแหน่งประธานสภาใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ทุกคนทุกพรรคก็อยากได้

“เป็นประธานสภาก็เท่ากับเป็นหนึ่งใน 3 องค์อำนาจ เวลาเข้าเฝ้าก็นั่ง 3 คนเรียงกัน ประธานสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา” นายวิษณุ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากโหวตเลือกนายกฯ ครั้งที่ 2 สามารถเสนอชื่ออื่นได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า “ชื่อเดิมก็ได้ ชื่อใหม่ก็ได้ จนกระทั่งทิ้งหมด เปลี่ยนไปเอา มาตรา 272 วรรคสอง คือเสนอคนนอก แม้จะบอกว่าเสนอคนนอก แต่จะเสนอคนในอีกก็ได้ แต่เงื่อนไขเสียงรับรองต้องเกิน 500 ซึ่งเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าเสนอคนเดิมได้ตลอด แต่เมื่อไปถึงรอบที่ 2-5 ก็จะเริ่มมีการเสนอคนแข่งแล้ว”

เมื่อถามว่า มองเกมการเมืองขณะนี้ พรรค พท.มีสิทธิ์ขึ้นมาแข่งหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่ทราบจริงๆ

เมื่อถามว่า โอกาสทางการเมืองตอนนี้ จะมีการพลิกขั้วเป็นคนฝ่ายอื่นหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ ตนไม่ขอตอบ อย่ามาถามทางฝั่งซีกรัฐบาลตอนนี้เลย ไปถามซีกที่เซ็นเอ็มโอยูกันดีกว่า

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล

ที่บริเวณ​หน้าศาลรัฐธรรมนูญ​ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ

จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ