โฆษกปชป. โต้ดีลแผนสองตั้งรัฐบาล

27 พ.ค.2566 - ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายราเมศ รัตนเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ อดีตนักการเมือง เปิดเผยว่า มีการร่วมวางแผน 2 ในการจัดตั้งรัฐบาลระหว่าง พรรคเพื่อไทย (พท.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พรรคภูมิใจไทย (ภท.) และพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่สนามกอล์ฟแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้พรรคก้าวไกล และพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เป็นฝ่ายค้าน ยืนยันว่า คนในพรรคไม่มีใครไปดำเนินการเจรจา เพื่อร่วมรัฐบาลกับพรรคการเมืองใด

ขณะที่ข้อถกเถียงกันในเรื่องประธานสภาฯ ซึ่งมีหลายฝ่ายออกมาพาดพิง นายชวน หลีกภัย อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร นายราเมศ ระบุว่า เป็นเรื่องของพรรคการเมืองที่จะจัดตั้งรัฐบาล แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งหลักการของการเป็นประธานสภาฯ นั้น ตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญกำหนด ประธานสภาฯ ไม่มีหน้าที่ช่วยเหลือพรรคการเมืองใด ผลักดันร่างกฎหมาย และไม่มีอำนาจหน้าที่ไปวินิจฉัย หรือสั่งการนอกเหนือข้อบังคับการประชุมและรัฐธรรมนูญ สิ่งที่สำคัญทั้งรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุม ระบุไว้ว่า ประธานสภาฯ ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น ส่วนที่บอกว่าเหตุผลที่ต้องการให้พรรคของตนได้ตำแหน่งประธานสภาฯ ก็เป็นเรื่องของพรรคคุณ แต่หลักการที่ถูกต้องก็ควรถูกนำมาพูดด้วย

นายราเมศ ยังกล่าวถึงการทำหน้าที่ของ นายชวน อีกว่า นายชวน ทำหน้าที่ประธานสภาฯ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ตรงไปตรงมา ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายยึดหลักความเป็นกลางในที่ประชุมสภาฯ การจะกล่าวหาว่า นายชวน ไม่ร่วมผลักดันกฎหมายแต่ละฉบับนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะการยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือการยกเลิกอัตราโทษฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และศาล ทั้งหมดเหล่านั้น ขัดแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ประธานสภาฯ จึงเห็นแย้งในที่ประชุมซึ่งการผลักดันกฎหมาย โดยไม่อยู่ในหลักเกณฑ์เป็นสิ่งที่ประธานสภาฯ ทำแล้วจะเกิดปัญหา

นายราเมศ กล่าวถึงกรณีที่พรรคฝ่ายค้านเดิม ขอให้มีการอภิปรายเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไม่ถวายสัตย์ฯ ด้วยว่า กรณีดังกล่าวก็มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญออกมาแล้ว โดยนายชวน ในฐานะประธานสภาฯ จึงขอให้ยุติการอภิปราย แต่ในท้ายที่สุด นายชวน ก็ได้หารือหลายฝ่าย และบอกว่าเราต้องยึดหลักความถูกต้อง เมื่อเป็นคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่มีผลผูกพันกับองค์กรอื่น ดังนั้น ฝ่ายค้านจึงสามารถอภิปรายได้ จากเหตุการณ์นั้น จึงทำให้เกิดการขัดข้องหมองใจจากรัฐบาลพอสมควร

ส่วนกรณีที่ นายรังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล แถลงว่า นายชวน ไม่ให้ความสำคัญกับการผลักดันกฎหมายภาคประชาชน นายราเมศ แย้งว่า นั่นคือสิ่งที่ผิดเพี้ยน เพราะมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ประธานสภาฯ ได้ทำตามขั้นตอน และมีกฎหมายภาคประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ หลายฉบับ นั่นคือพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อ้อยและน้ำตาล และร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ ไปไกลถึงขนาดที่ว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่ง นายชวน ได้มีบัญชาให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร จัดที่อำนวยความสะดวก และให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือกับประชาชน ในการร่างกฎหมาย

ดังนั้น การพูดเอาดีใส่ตัว แต่เอาชั่วใส่คนอื่น ก็เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความรูัสึกของประชาชน ที่เห็นการทำงานของประธานสภาฯ มาโดยตลอด ส่วนที่โฆษกพรรคก้าวไกล บอกว่า อยากให้สภาฯ โปร่งใส นั่นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่สมัยนายชวน ก็ไม่ได้ละเลยเรื่องเหล่านี้ เพราะท่านริเริ่มโครงการให้มีบ้านเมืองสุจริต และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมถึงสิ่งที่สำคัญ คือ การดำเนินการทุกข์ร้อนพี่น้องประชาชน และข้อหารือของสมาชิกสภาฯ ที่มีกระบวนการผ่านไปยังรัฐบาล ก็ได้รับฟังปัญหา และได้รับการแก้ไขตามลำดับ

ขณะที่ร่างกฎหมายที่พรรคประชาธิปัตย์มีความเป็นห่วง คือ ตามที่ปรากฎเป็นภาพข่าว พรรคก้าวไกลไปบอกชาวบ้านว่า ไม่แก้ไข หรือยกเลิก ม.112 เพื่อความสะดวกในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งก็เป็นเรื่องแล้วแต่พรรคก้าวไกล และพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลจะทำ แต่เมื่อเราเป็นพรรคการเมือง และเราเข้าไปตรวจสอบ พบว่า แม้เสียงข้างมากจะเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมโดยไม่ได้ระบุในบันทึกความร่วมมือ (MOU) แต่เสียงข้างมากของรัฐบาลก็สามารถผลักดันได้ โดยก่อนหน้านี้พรรคก้าวไกลได้เสนอการยกเลิกอัตราโทษจำคุกฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และศาลมาตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 2564 แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ เราไม่เห็นด้วย เราไม่ได้ต้องการปกป้องอำนาจตุลาการ แต่หลักการความถูกต้อง กระบวนการที่ทำให้กระบวนการยุติธรรมพิจารณาคดีด้วยความตรงไปตรงมา ปราศจากการกดดันจากทุกฝ่าย ซึ่งสมัยที่ผ่านมาก็มีการคุกคามข่มขู่ตุลาการ เอาชื่อผู้พิพากษา และข้อมูลส่วนตัวมาพูดบนเวทีปราศรัย ดังนั้น เรามีกฎหมายคุ้มครองตุลาการแค่นี้ ไม่ได้ทำให้หนักส่วนไหนของใคร และหากมีการเสนอต่อสภาฯ อีกครั้ง ยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคที่ร่วมต่อสู้เรื่องนี้ให้เต็มที่ถึงที่สุด

นายราเมศ ยังกล่าวถึงความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์อีกว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งต้องรอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองจำนวน ส.ส. เสร็จสิ้น จากนั้นเราต้องกลับมาพัฒนาฟื้นฟูการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคในวันข้างหน้า และพรรคได้ย้ำกับผู้สมัครรวมถึงตัวแทนพรรคประจำสาขาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาสรุป และทำเป็นบทวิเคราะห์ในกรณีที่แพ้การเลือกตั้งในหลายพื้นที่นั้นเกิดจากสาเหตุใด เพื่อเสนอให้กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ร่วมพิจารณากับสมาชิกพรรค

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โธ่!บุคคลสาธารณะ 'ชูศักดิ์-เพื่อไทย' จ่อฟ้อง 'ธีรยุทธ'

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตรียมฟ้องกลับนายธีรยุทธ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

โค่นแชมป์เก่า! 'วาริน' คว้าชัย 'นายก อบจ.เมืองคอน' ทิ้งห่าง 'กนกพร'

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครศรีธรรมราช อย่างเป็นทางการ ประกาศว่า นางสาววาริน ชิณวงศ์ ผู้สมัครหมายเลข 2 จากทีมนครเข้มแข็ง

เมืองคอนดุเดือด 'ค่ายสีน้ำเงิน' คะแนนนำ แม่รองหัวหน้าพรรคปชป.

ศึกชิงนายกฯ นครฯ เดือด เด็กโกเกี๊ยะ -พิพัฒน์ ค่ายสีน้ำเงิน คะแนนนำ แม่รองหัวหน้าพรรคปชป. ภาคใต้ บ้านใหญ่ตระกูล เดชเดโช 

'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ

‘ยิ่งลักษณ์’ กลับคุก ‘บิ๊กเสื้อแดง’ รู้มา! ว่าไปตามราชทัณฑ์ไม่ใช้สิทธิพิเศษ

“เลขาฯ แสวง” ยันเดินหน้าคดี “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างการปกครองต่อ เพราะใช้กฎหมายคนละฉบับกับศาล รธน. "จตุพร" ลั่นยังไม่จบ! ต้องดูสถานการณ์เป็นตอนๆ ไป