สว.ชี้ เลือก ’ปธ.สภาฯ’ สำคัญไม่แพ้นายกฯ หลังก้าวไกลคิดแก้ 112

22 พ.ค.2566-นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเรื่อง “ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 26” ระบุว่า การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรจะเกิดขึ้นก่อนการเลือกนายกรัฐมนตรี โดยทั่วไปตำแหน่งนี้จะตกเป็นของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล แต่จะเป็นของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคไหนนั้น แล้วแต่จะตกลงกัน ปกติตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรก็สำคัญมากอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้จะสำคัญมากเป็นพิเศษ หนึ่งในความสำคัญมากเป็นพิเศษก็เนื่องจากจะเกี่ยวข้องกับประเด็นมาตรา 112

ผมเชื่อว่าการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะไม่เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีชุดเสียงข้างมากที่กำลังฟอร์มทีมเป็นพรรคร่วมรัฐบาลกันอยู่ในขณะนี้ แต่ผมก็ยังเชื่อเข่นกันว่าพรรคก้าวไกลจะเสนอร่างกฎหมายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในนามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ตรงนี้แหละครับคือประเด็น !

เพราะเมื่อเสนอร่างกฎหมายในนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่ใช่จะเข้าสู่การพิจารณาโดยอัตโนมัติ จะต้องผ่านการวินิจฉัยจากประธานสภาผู้แทนราษฎรให้บรรจุเข้าระเบียบวาระเสียก่อนจึงจะพิจารณาได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคก้าวไกลเคยเสนอร่างฯมาแล้วตั้งแต่เมื่อต้นปี 2564 แต่แม้เสนอแล้ว ก็ไม่เคยได้รับการบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเลยจนครบวาระ แม้จะมีการทวงถามจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคก้าวไกลหลายครั้ง เพราะเข้าใจว่าท่านชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่แล้ว วินิจฉัยว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6 จึงไม่บรรจุเข้าระเบียบวาระ

เข้าใจว่าเป็นการวินิจฉัยโดยรับฟังความเห็นของสำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เจ้าหน้าที่หน่วยงานฝ่ายประจำที่รับผิดชอบ สำนักการประชุมให้ความเห็นทางกฎหมายพอสรุปได้ว่า… “ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เนื่องจากมีบทยกเว้นความผิดกับบทยกเว้นโทษ กรณีถ้าเป็นการติชม แสดงความเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ถ้าผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ได้ว่าเรื่องนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามมิให้พิสูจน์ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนพระองค์ และการพิสูจน์ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน…”

“บทบัญญัติยกเว้นความรับผิดกับการยกเว้นโทษดังกล่าวนี้ เห็นว่าน่าจะขัดกับมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ…”

ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่จะวินิจฉัยเหมือนหรือต่างจากประธานสภาผู้แทนราษฎรคนก่อน หากพรรคก้าวไกลเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามหลักการเดิมที่ปรากฎอยู่ในนโยบายของพรรค และตามตัวร่างพระราชบัญญัติที่เคยเสนอมาเมื่อต้นปี 2564 คือ “ย้ายหมวด - ลดบทลงโทษ - ยอมความได้ - เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด - ให้สำนักพระราชวังฟ้องแทน” เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรชุด 2566 อีกครั้ง ?

พรรคต้นสังกัดของท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญยิ่งต่อคำตอบนี้ !

ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่่ 26 สำคัญไม่แพ้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 !!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันนอร์' คาดการเมืองปีมะเส็งร้อนแรงแน่!

'วันนอร์' คาดการเมืองปี 2568 ร้อนแรงกว่าที่ผ่านมา ชี้หากรัฐบาลแก้ปากท้องได้ก็อาจอยู่ครบเทอม ปลื้มสภาปีที่แล้วไม่เคยล่ม หวังประชาชนเห็นสภาเป็นที่ถกเถียงแก้ปัญหาบ้านเมืองมากกว่าแก้ด้วยวิธีอื่น

ปธ.'รูทีนตีนตุ๊กแก' ลั่นตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา นิติบัญญัติ-บริหารต้องแยกกัน

'วันนอร์' ไม่หวั่นฝ่ายการเมืองเลื่อยขาเก้าอี้ประธานสภาฯ ย้ำเป็นอำนาจสมาชิกรัฐสภา ต้องแยกฝ่ายนิติบัญญัติ-บริหาร ชี้ตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา ลั่นหากต้องการเปลี่ยนเสนอญัตติมาได้

ประธานสภาฯ แนะดูรธน.เกาหลีใต้ ลงโทษผู้ทำรัฐประหารได้จริง ประชาชนต้องร่วมมือกัน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการกล่าวในการเปิดงานเสวนาวิชาการวันรัฐธรรมนูญ ประจำปี 2567 ในหัวข้อ “อนาคตรัฐสภาไทย“ ระบุ อยากเห็นรั้วในการป้องกันการรัฐประหาร โ