ดร.ณัฎฐ์ ล้วงลึกเกมตั้งรัฐบาล ฟันธงก้าวไกลมีโอกาสแค่ 0.05% เหตุถูกล็อกด้วย 2 ตัวแปร


22 พ.ค.2566 - ดร.ณัฐวุฒิ วงษ์เนียม หรือ "ดร.ณัฎฐ์" นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงการจัดตั้งรัฐบาล ผ่านทางรายการ In Side รัฐสภา ตอน "ล้วงลึก กลเกม เหลี่ยมจัดตั้งรัฐบาล" ว่าการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาล มีตัวแปรสำคัญคือ การล็อกด้วยข้อกฎหมาย และการล็อกด้วยข้อเท็จจริง

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าการล็อกด้วยกฎหมายนั้น หากดูผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ แต่พรรคก้าวไกล ฟอร์มทีมจัดได้เพียง 313 ที่นั่ง ถามว่าอีก 60 กว่าเสียง จะเอามาจากที่ไหนซึ่งค่อนข้างที่ยาก เพราะ 313 เสียงแม้จะเกิน 250 เสียง แต่การโหวตเลือกนายกฯต้องได้เสียง เกินกึ่งหนึ่งของสองสภารวมกัน คือ ส.ส.500 เสียง ส.ว.อีก 250 เสียง เกินกึ่งหนึ่งคือ 376 เสียง

"พรรคก้าวไกลรวมเสียงได้เพียง 313 เสียง ยังขาดอีก 63 เสียง ซึ่งใน 63 เสียง จะมีสองช่องทางคือหันไปจับมือกับส.ส. หรืออีกช่องทางไปจับมือกับ ส.ว. ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเพราะมันถูกล็อกด้วยข้อกฎหมาย เอามาจากส.ว.ค่อนข้างยาก เพราะ ส.ว.อิสระมีเพียง 20 เสียง ครั้นจะไปจับมือกับภูมิใจไทย 70 เสียง ถามว่าอุดมการณ์ป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องยาก" ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว

ทั้งนี้เริ่มมีการปลุกระดมบีบกดดัน ส.ว. ตนคิดว่าจะเป็นผลเสียมากว่าผลดี และการจัดจั้งรัฐบาลอาจเปลี่ยนมือเป็นพรรคอันดับสอง หรือหากบานปลายออกไป อาจมีการรัฐประหาร ซึ่งตนไม่อยากให้เกิด

เมื่อถามว่าแต่พรรคก้าวไกล มั่นใจจัดตั้งรัฐบาลได้ ดร.ณัฎฐ์ เห็นว่าตนกลับมองตรงข้าม การฟอร์มทีมตั้งรัฐบาลของนายพิธา โอกาสจัดตั้งได้มีเพียงแค่ 0.05 เปอร์เซ็นต์ ที่ว่าความมั่นใจนั้น เป็นเพียงการแสดงความมั่นใจให้มวลชนฮึกเหิม เพราะว่าการชนะเลือกตั้ง 152 เสียงเป็นความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาลลำดับหนึ่ง

แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้พรรคการเมืองลำดับ 1 ต้องเป็นรัฐบาล ยกตัวอย่างการเลือกตั้งปี 2562 จะเห็นว่าพรรคการเมืองที่รวบรวมเสียงข้างมากได้ ก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้

"ยิ่งระยะเวลาเนิ่นนานออกไปถามว่า 3 ป. เขาจะยอมหรือไม่ตรงนี้ก็น่าสนใจ และช่วงนี้ก็มีกระแสลือกันพรรคการเมืองลำดับ 2 โดยคนที่อยู่นอกราชอาณาจักรก็กำลังจะพลิกเกม จะจับขั้วจัดตั้งรัฐบาลเอง" ดร.ณัฐวุฒิ ตั้งข้อสังเกต และกล่าวถึง โผครม. ที่มีการแชร์ตามสื่อสังคมออนไลน์ ว่า "การปล่อยโผครม. คือการโยนหินถามทาง อาจจะมีบางพรรคปล่อยออกมา เพื่อให้ประชาชนเกิดความหวือหวาเท่านั้น"

นักกฎหมายมหาชน กล่าวอีกว่าส่วนการล็อกด้วยข้อเท็จจริงนั้น คือกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้นสื่อ เพราะในการสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 88 กำหนดไว้ว่าจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 และมาตรา 98(3) มาใช้บังคับด้วย ถ้านายพิธาถือหุ้นสื่อ แล้วศาลวินิจฉัยว่าขาดคุณสมบัติ ผลมันจะย้อนถึงในวันที่สมัคร เมื่อขาดคุณสมบัติตรงนี้อาจดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ได้ และยังอาจทำให้ ส.ส.บัญชีของพรรคก้าวไกลหายไปด้วย

ส่วนกรณีมีข่าว 7 พรรคประกอบด้วย พรรคพลังสังคมใหม่ พรรคใหม่ พรรคพลัง พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคท้องที่ไทย พรรคแรงงานสร้างชาติ พรรคเพื่อชาติไทย มีกาตั้งกลุ่มกัน ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า การจัดตั้งรวมกลุมของพรรคจิ๋วนั้น ตนเองก็มีส่วนได้เสียอยู่ด้วย เนื่องจากตนเป็นว่าที่ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคพลัง แต่การพูดคุยในโต๊ะอาหารยังไม่ถึงขั้นต้องไปจับกลุ่ม ซึ่งคงมีบางท่านออกตัวแรงไปหน่อย

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า พรรคพลังที่ตนเป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ของพรรคนั้น ถามว่าจะเอาด้วยหรือไม่อย่างไร เพราะตราบใดที่ กกต. ยังไม่รับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ เราก็ยังไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามการรวมตัวกันของพรรคการเมืองขนาดเล็ก สามารถทำได้อยู่แล้วตามระบอบประชาธิปไตย และคงไม่ได้หมายความว่ารวมกลุ่มกันเพื่อไปต่อรองอำนาจไปต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรี ยืนยันว่าเบื้องต้นกลุ่มนี้ยังไม่เกิดขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง