'ชวน' จ่อหารือ 'จุรินทร์' ถกผลเลือกตั้งหลังแพ้ยับเยิน ลั่นไม่ถือเป็นบทเรียนแต่เป็นประสบการณ์


16 พ.ค.2566 - นายชวน หลีกภัย อดีตประธานสภาฯ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงผลการเลือกตั้ง ที่พรรคประชาธิปัตย์แพ้ยับเยิน ว่า หากมีเวลาต้องคุยกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อประเมินผลเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ส่วนที่ถามว่าได้บทเรียนอะไรนั้น ตนมองว่าพรรคมีประสบการณ์มา 77 ปี ไม่ใช่บทเรียน แต่คือประสบการณ์ที่ผู้บริหารพรรคชุดใหม่ต้องพิจารณาว่าที่ผ่านมามีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาต่อไป และต้องเรียนรู้ทุกครั้ง

นายชวนกล่าวว่าการเลือกตั้งรอบนี้เราก็ต้องยอมรับและดูโดยภาพรวมแล้ว เสียงของพรรคลดลงมากว่าที่เขาคาดหมายเยอะ ตนไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค แต่ก็พยายามตระเวณช่วยหาเสียงไปให้ได้ 77จังหวัด เพื่อหวังว่าจะได้สส.บัญชีรายชื่อเข้ามามาก เพราะดูจากผลสำรวจของนิด้าโพลแล้วคาดว่าเราจะได้สส.บัญชีรายชื่อ5คน แต่พอไปได้สักระยะหนึ่งประมาณ40-50 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรค ได้ขอร้องให้ตนกลับไปช่วยในภาคใต้ ต่อมานายจุรินทร์ ก็โทรมาให้ตนลงไปใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ และทุกจังหวัดก็ขอให้ไปช่วย โดยนายบัญญัติได้บอกว่าสถานการณ์มันเปลี่ยนมีการใช้ระบบเงินรุนแรงมาก จึงขอให้ตนรีบกลับมาเพราะตนเป็นคนต่อต้านการซื้อเสียง คำที่ว่า "ชาวตรังใครอย่ามุ่งหวังซื้อด้วยเงินตรา" ต้องเอามาใช้ใหม่ ในการรณรงค์การซื้อเสียง โดยนายจุรินทร์ก็คุยกับตนว่ามีระบบการยิงแล้ว แต่ก็เสียดายบัญชีรายชื่อเราได้ต่ำกว่าโพลที่คาดไว้ คือได้เพียง3คน

ผู้สื่อข่าวถามว่าผลคะแนนของพรรคออกมาเป็นอย่างนี้เป็นเพราะประชาชนอยากเปลี่ยนเอาคนรุ่นใหม่ขึ้นมาเป็นส.ส.หรือไม่ นายชวนกล่าวว่าตนคิดว่าส่วนหนึ่งเขาเบื่อของเก่าแน่นอน และอีกส่วนหนึ่งคือความรู้สึกกับรัฐบาล เวลาเราไปหาเสียงก็จะได้ยิน แต่เราไม่วิจารณ์ใครเขา เพราะประชาธิปัตย์ก็เป็นส่วนหนึ่งในรัฐบาล แต่ถ้าพูดความจริงผลงานของนายจุรินทร์ที่ทำเรื่องการเกษตร การประกันรายได้ก็ต้องคอยดูต่อไปว่ารัฐบาลหน้าเขาจะทำอย่างไร เพราะในช่วงที่ผ่านมาการประกันรายได้สามารถทำให้เกษตรกร ชาวนาชาวไร่ ปาล์ม ข้าวโพดมีรายได้ที่แน่นอน ชาวบ้านได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น ไม่ใช่ฝ่ายการเมืองโกงไปแบบโครงการรับจำนำ ตนคิดว่าโครงการของเราเป็นสิ่งที่ชาวบ้านได้ แต่ชาวบ้านจะเห็นหรือไม่อีกเรื่องหนึ่งเราก็ต้องยอมรับ

เมื่อถามว่าในการเลือกหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคควรจะเป็นคนรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ นายชวนกล่าวว่าการเมืองเป็นของคนทุกรุ่น เราไม่มาเลือกว่ารุ่นเก่า รุ่นใหม่ รุ่นกลาง แต่ละรุ่นเขาก็มีศักยภาพของเขา คนรุ่นเก่าเขาก็มีอดีตที่จะช่วยพรรค คนรุ่นใหม่ก็จะมีความคิด เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา ปัจจุบันก็เอามาเชื่อมต่อกันพรรคประชาธิปัตย์จึงมีอดีต ปัจจุบัน และมีอนาคต

ถามต่อว่าในฐานะที่นายชวนมีสิทธิ์โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้เรียกร้องให้พรรคการเมืองต่างๆร่วมโหวตให้ตนเป็นนายกฯ นายชวนกล่าวว่าตนคิดว่าอย่าไปก้าวก่ายคนอื่นเขาเลย แต่ละพรรคคิดอย่างไรก็คิดเอา และมีมติของเขาเอง ดังนั้นอย่าไปก้าวก่ายหรือลุกล้ำ ควรให้คนอื่นเขาคิดเหมือนตัวเอง แต่ละพรรคเขาคิดเองได้ และเขามีสติปัญญาที่จะคิดเองได้

เมื่อถามว่ามองบทบาทของนายพิธาอย่างไร นายชวนกล่าวว่ายังไม่ได้ตั้งรัฐบาลเลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าในเสียงที่เขาชนะมาเขาก็ต้องให้ความเห็นเอง แต่เท่าที่ประเมินดูในเวลาที่เราออกไปหาเสียง จะพูดได้ว่าในท่ามกลางของการยิงด้วยเงิน พรรคกาวไกลไม่มีครหาเรื่องนี้ แต่เขาใช้เรื่องการสร้างกระแสในโซเชียลมีเดียในการหาเสียง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สิงหารู้เรื่อง! ดวง ‘แม้ว‘ กำลังมีปัญหากับข้าเก่าเต่าเลี้ยง

ท่านแม้ว เดินเกมการเมืองข้ามช็อตเตรียมจัดตั้งรัฐบาลต่อถ้าเศรษฐาถูกสอย ไม่ปล่อยให้ภูมิใจไทยพรรคลำดับ 3 จัดตั้งรัฐบาลตามธรรมเนียม

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง