ป.ป.ช.ร่ายยาวเหตุผลให้พรรคการเมืองส่งเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงทุจริตเชิงนโยบาย!

ป.ป.ช. แจงยิบปมให้พรรคการเมืองส่งเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงทุจริตเชิงนโยบายแก่ กกต. ยันเป็นกลไกตรวจสอบกฎหมาย เพื่อความโปร่งใส ยับยั้งความเสียหายแก่ประเทศ ระบุเลือกตั้งจบ กกต.ต้องสรุปส่งมาให้

11 พ.ค.2566 - นายภูเทพ ทวีโชติธนากุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะรองโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข่าวกรณีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีหนังสือด่วนที่สุดที่ ลต 0015/ว1104 ลงวันที่ 3 พ.ค.2566 เรื่อง เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการพัฒนานโยบายถึงหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค เพื่อจัดส่งเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงฯ ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์การพัฒนานโยบายหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองและเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้จัดส่งมายังสำนักงาน ป.ป.ช. โดยตรงต่อไปนั้น สำนักงาน ป.ป.ช. ขอเรียนชี้แจงว่า เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงฯ เป็นกลไกป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. พัฒนามาจากเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงเพื่อสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายในโครงการของรัฐที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติรับทราบเมื่อเดือน มิ.ย.2562 โดยได้มีการทบทวนปรับปรุงเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทการเมืองไทยในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นกลไกในการสร้างความโปร่งใสในกระบวนการพัฒนานโยบายของพรรคการเมือง

นายภูเทพ กล่าวว่า เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายนั้น คาดหวังว่าจะช่วยในการป้องกัน ระงับ ยับยั้ง การทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในปัจจุบันที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมหาศาล ตลอดจนจะช่วยเป็นเครื่องมือให้พรรคการเมืองได้แสดงเจตนารมณ์ที่ดีในการอธิบายที่มา วัตถุประสงค์ ความคุ้มค่า ผลกระทบความเป็นไปได้ของนโยบายที่กำหนดขึ้นมาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มติเห็นชอบเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2566 และให้เสนอต่อ กกต.ตามนัยมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ต่อไป

นายภูเทพ กล่าวว่า เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว สำนักงาน กกต.จะต้องดำเนินการสรุปผลการดำเนินการขับเคลื่อนเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงฯ และส่งข้อมูลให้แก่สำนักงาน ป.ป.ช. โดยองค์ประกอบของการสรุปผลอย่างน้อยประกอบไปด้วย 1.แบบฟอร์มการประเมินความเสี่ยง 2.ข้อมูลสรุปผลเชิงปริมาณ ได้แก่ 1.รายชื่อพรรคการเมืองที่ขึ้นทะเบียนไว้ 2.รายชื่อพรรคการเมืองที่ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง 3.รายชื่อพรรคการเมืองที่ดำเนินการจัดทำแบบฟอร์มการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริต เชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย 4.รายชื่อพรรคการเมืองที่ไม่ได้เข้าร่วมจัดทำแบบฟอร์มการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย 5.รายชื่อพรรคการเมืองที่เป็นพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล และ 6.รายชื่อพรรคการเมืองที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นพรรคที่ดำเนินการจัดทำแบบฟอร์มการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย

นายภูเทพ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลสรุปผลเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1.ความคิดเห็นของ กกต. เกี่ยวกับการขับเคลื่อนเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงฯ ที่ได้ใช้ประกอบการจัดการเลือกตั้ง ในปี 2566 ว่ามีข้อดี ข้อเสีย ปัญหาหรืออุปสรรค และข้อเสนอในการขับเคลื่อนเกณฑ์ซี้วัดความเสี่ยงฯ ในการเลือกตั้งครั้งถัดไป 2.ความคิดเห็นของพรรคการเมืองต่อการดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยง ต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ตามแบบฟอร์มการประเมินความเสี่ยงฯ ในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย ว่ามีข้อดี ข้อเสีย ปัญหาหรืออุปสรรค และข้อเสนอในการขับเคลื่อนเกณฑ์ซี้วัดความเสี่ยงฯ ในการเลือกตั้งครั้งถัดไป การดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามนัยมาตรา 32 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อ ครม. รัฐสภา ศาล องค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริต การกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการ รวมทั้งจัดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนอย่างเข้มงวด ดังนั้น ข่าวที่นำเสนอจึงมีความคลาดเคลื่อน ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. ไม่ได้ประสงค์จะให้พรรคการเมืองจัดส่งแบบฟอร์มเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงฯมายังสำนักงาน ป.ป.ช. แต่ประการใด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พงษ์ศักดิ์' แชมป์เก่า 6 สมัย ร้องประธาน กกต. สั่งระงับรับรองผลเลือกตั้งนายก อบจ.ขอนแก่น

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หมายเลข 2 ได้ทำหนังสือเข้าร้องเรียน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หลังตรวจพบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หมายเลข 1 ได้หาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเฟสบุ๊ค จ

‘สนธิญา’ ยื่น กกต.สอบ ‘ทักษิณ’ ถือสัญชาติไทย-มอนเตฯ หรือไม่ เสี่ยงผิดกม.เลือกตั้งท้องถิ่น

สนธิญา ยื่น กกต.สอบ ทักษิณ ถือสัญชาติไทย-มอนเตฯ หรือไม่ เสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น-พรรคการเมือง-รธน. ห้ามคนต่างชาติเอี่ยวการเลือกตั้งทุกระดับ  พ่วงร้องสอบหาเสียงหยาบคาบ เป็นเท็จ อาจทำเลือกตั้ง อบจ.อดุรฯ โมฆะ 

ฟิล์ม-รัฐภูมิ ยื่น กกต.ไขก๊อกพ้นสมาชิก พปชร. ‘ไพบูลย์’ ชี้เรื่องส่วนตัวไม่กระทบพรรค

เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ที่ยังไม่รู้ว่าเขาผิดหรือเขาถูก เพราะเราไม่เกี่ยวข้อง และเรื่องนี้ไม่กระทบกับภาพลักษณ์พรรค ไม่ทำให้เรามีปัญหา

เปิดหนังสือ ‘หมอวรงค์’ ร้อง กกต. สอบ 4 ประเด็นใหญ่ ฟัน ‘ทักษิณ’ ปราศรัยอุดรฯเข้าข่ายผิดกม.

ในการปราศรัยที่อุดรที่ผ่านมา จริงอยู่คุณมีสิทธิ์เสรีภาพที่จะพูด อยากจะปราศรัย เป็นเรื่องของคุณ แต่คุณต้องรับรู้นะครับว่า บ้านเมืองมีขื่อมีแป ถ้าคุณทำให้สงสัยได้ว่า มีความเสี่ยงที่ทำผิดกฏหมาย

ดร.ณัฏฐ์ ชี้เลือกนายกอบจ.อุดร เพื่อไทยชนะไม่ขาดจะกระทบสนามใหญ่ เตือน 'ทักษิณ' ปากพาซวย!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ 'ทักษิณ ชินวัตร' ยกทัพไปช่วยหาเสียงนายกอบจ.อุดรธานี แม้เกณฑ์คนไปฟังเยอะ คะแนนสวนทาง หากไม่ชนะขาด กระทบต่อสนามใหญ่ ยกวาทะ 'ถ้าจะเลือกทักษิณ ให้เลือกเบอร์ 2' ระวังทำคนหลงผิดโทษถึงคุก!