ปมยิงเลเซอร์หาเสียงสะพานพระราม 8 “ดร.ณัฎฐ์”มือกฎหมายมหาชนคนดัง ชี้ข้อกฎหมาย การหาเสียงกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 7(7) เป็นช่องว่างระเบียบ กกต. สามารถกระทำได้ แต่เป็นการเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น
10 พ.ค 2566 - จากกรณีปมร้อนการยิงเลเซอร์หาเสียงบนเสาสะพานพระราม 8 โดยมีข้อความเชิญชวนให้เลือกหมายเลขของพรรครวมไทยสร้างชาติ เมื่อค่ำคืนวันที่ 8 พ.ค.2566 กลายเป็นกระแสวิพากวิจารณ์เป็นวงกว้างว่าเป็นการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่ จนต่อมา พรรค รสทช.ได้ออกหนังสือแถลงการณ์ชี้แจงเรื่องดังกล่าวเป็นการกระทำของนางสาวทิพานัน ศิริชนะ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่เกี่ยวกับพรรค รสทช.
.
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง ในประเด็นร้อนแรงดังกล่าว โดยท่านได้อธิบายและให้ความรู้กฎหมายมหาชนแก่ประชาชนในประเด็นที่น่าสนใจว่า ตนเพิ่งจะทราบจากผู้สื่อข่าวที่ได้มาสอบถามและได้ดูภาพถ่ายที่ส่งมาให้ดู โดยตนจะให้ความรู้กฎหมายเลือกตั้งเพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เป็นประโยชน์สาธารณะ ป้ายหาเสียงกับการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างกัน หากจะตีความว่ากึ่งอิเล็กทรอนิสก์นับว่าเป็นป้ายหาเสียงอย่างหนึ่ง คงจะเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทได้เขียนไว้ในข้อ 7(7) แห่งระเบียบ กกต.ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.พ.ศ.2561 แต่การยิงเลเซอร์ บนเสาสะพานพระราม 8 ที่อยู่ในการดูแลของสำนักโยธาฯ กทม.นั้น ต้องไปพิจารณาถึงว่า เป็นการนำทรัพยากรของรัฐไปใช้โดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่ต้องมาเสียเวลาถกเถียงว่า ผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่ เพราะการยิงเลเซอร์ ตามงานอีเวนต์ แม้จะมีระยะเวลาจำกัด ถือเป็นเพียงกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่การหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการใช้ช่องว่างระเบียบ เอารัดเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น กกต.จะเป็นจ่าเฉยไม่ได้ ต้องเสนอแนะ ป้องปรามให้แก้ไข เพราะเห็นได้ชัดว่า เอาเปรียบทุกพรรคการเมือง แม้ระเบียบไม่ได้ห้ามไว้ แต่ กกต.จะต้องจัดการเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ใช่หรือไม่ ไม่ใช่ว่าจะโยนภาระให้ กทม.เจ้าของพื้นที่ตรวจสอบว่า อนุญาตหรือไม่ ต่อไป อาคารรัฐสภา อาคารทำเนียบ อาคารสูงหรือตึกสูงต่างๆ ก็จะยิงเลเซอร์หาเสียงได้ โดยเฉพาะโค้งสุดท้าย งัดกลยุทธ์วิชามารมาทุกรูปแบบ
.
หลักเกณฑ์ป้ายหาเสียง ได้กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำสถานที่ปิดประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งและสถานที่ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2566 โดย พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.พ.ศ.2561 มาตรา 83 ได้บัญญัติให้ผู้สมัคร พรรคการเมืองหรือผู้ปิดประกาศหรือแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้เฉพาะในสถานที่ กกต.กำหนดและต้องมีขนาดและจำนวนไม่เกินที่ กกต.กำหนด หากฝ่าฝืนมีบทลงโทษตามมาตรา 162 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เจตนารมณ์ของกฎหมายเลือกตั้งในเรื่องป้ายหาเสียง เพื่อให้ทุกพรรคการเมือง ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ระเบียบ กกต.ว่าด้วยการหาเสียงฯจึงได้กำหนดขนาดป้าย จำนวนป้ายไม่เกินจากที่ กกต.กำหนด หากฝ่าฝืนมีโทษทางอาญา และเป็นเหตุแห่งการร้องเรียนว่ากระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง
.
ส่วนการหาเสียงเลือกตั้งกระทำโดยวิธีการหาเสียงอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเลือกตั้งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 70 ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กกต.กำหนด และห้ามผู้ใดหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ไม่ว่าเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร ส.ส.หรือพรรคการเมืองนับตั้งแต่เวลา 18.00 น.ของก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดการเลือกตั้ง หากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษตามมาตรา 156 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในโลกสื่อสารออนไลน์ ระเบียบ กกต.ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.พ.ศ.2561 ในหมวดที่ 2 การหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนที่ 1 วิธีการหาเสียงเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 7
.
การยิงเลเซอร์หาเสียงบนเสาสะพานพระราม 8 เป็นการหาเสียงรูปแบบใหม่ ที่ กกต.คาดไม่ถึง เพราะระเบียบไม่ได้กำหนดข้อห้ามไว้ ในหนังสือตอบข้อหารือให้พรรคการเมืองต่างๆ การขึ้นข้อความหาเสียงป้ายดิจิทัล ก็ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของประกาศ แต่กลับไม่ระบุว่า จะต้องไม่มีขนาดใหญ่กว่าป้ายหาเสียง เป็นช่องว่างของระเบียบ กกต. แต่การขึ้นข้อความโดยการยิงเลเซอร์ สะพานพระรา 8 ของนางสาวทิพานัน ศิริชนะ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค รสทช.เป็นการหาเสียงลักษณะเชิงกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ มาเป็นกลยุทธ์ในการหาเสียง โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในการเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นการหาเสียง เอาเปรียบผู้สมัครพรรคการเมืองอื่น กกต.ต้องห้ามปราม แต่นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.จะปากไว ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ไม่ผิดกฎหมายเลือกตั้งเท่านั้นไม่ได้ ต้องหาวิธีการป้องปราม เพื่อไม่ให้เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น มิฉะนั้น พรรคการเมืองอื่นย่อมกระทำได้ทั้ง 67 พรรคการเมือง ทั้งนี้ แม้ว่าจะไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำสถานที่ปิดประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งและสถานที่ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 เพราะการยิงเลเซอร์ในระยะสั้น ไม่ถือว่าเป็นป้ายหาเสียง ทั้งในระเบียบ กกต.ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.พ.ศ.2561ข้อ 7(7) การยิงเลเซอร์ขึ้นข้อความหาเสียง ถือเป็นบทเรียนแก่ กกต.ในการจัดการเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เพราะเป็นการเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่นด้วยกัน จะทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ เมื่อพรรคการเมืองนี้ ทำได้ พรรคการเมืองย่อมสามารถกระทำได้เช่นกัน
.
อีกประเด็นหนึ่งรัฐบาลรักษาการ จะต้องระมัดระวังตามรัฐธรรมนูญมาตรา 169(4) ไม่ใช่ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการอันมีผลต่อการเลือกตั้งและไม่กระทำการฝ่าฝืนข้อห้าม ตามระเบียบ กกต.ที่กำหนดไว้ แม้สะพานพระราม 8 อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ กทม.ท้องถิ่นรูปแบบปกครองพิเศษ ถือว่า เป็นทรัพยากรของรัฐ เป็นเงินมาจากภาษีของพี่น้องประชาชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้เลือกตั้งอบจ.ระอุ! 'บ้านใหญ่' ยังขลัง-บางแห่งเสื่อมตามกาลเวลา
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ การเมืองท้องถิ่น อบจ. ระอุ บ้านใหญ่ยังขลัง แต่บางแห่งเสื่อมไปตามกาลเวลา ข้าราชการการเมือง ส.ส.ช่วยหาเสียงได้
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
ดร.ณัฏฐ์ ชำแหละ 92 ปีรัฐธรรมนูญ วัฏจักรการแย่งชิงอำนาจ!
ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม ระบุครบรอบ 92 ปีวันรัฐธรรมนูญ ยังวนเวียนอยู่กับวัฏจักรการแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง มากกว่าคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
'นักกฎหมาย' โต้ยิบ 'กรมที่ดิน' ปมที่ดินเขากระโดง
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีกรมที่ดินชี้แจง 5 ประเด็นเกี่ยวกับที่ดิน 'เขากระโดง' ว่าคำแถลงของกรมที่ดิ
กระจ่าง! ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้กรณีคุณสมบัติ 'สว.หมอเกศ'
“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ กรณี สว.หมอเกศ ปริญญาเอกและตำแหน่งศาสตราจารย์ หากไม่จริง เป็นการโชว์เหนือ หลอกลวงเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร สว.ด้วยกัน เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของตนเอง