ทนายนกเขา อัด กกต. บื้อ-ขี้เกียจสางปมเงินดิจิทัลพรรคเพื่อไทย

22 เม.ย. 2566 -​ นายนิติธร ล้ำเหลือ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ประเทศไทยต้องมาก่อน ตอน "ต้องทันกัน" ตอนหนึ่งว่าสิ่งที่พรรคเพื่อไทยไปชี้แจงข้อมูลต่อ กกต.นั้น ตนยังยืนยันชัดเจนว่า กกต.บื้อมากเกินไป โดยหลักการสามข้อ ความคุ้มค่า ความเสี่ยง ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้น ต้องรับฟังและพิจารณาในเชิงความเป็นไปได้

“กฎหมายไม่ได้ทำให้โง่ แต่พวกคุณคงไม่มีปัญญาดูกฎหมาย หรือไม่ก็เอื้อกัน และอาจเป็นเพราะขี้เกียจทำงาน ของผู้ดูแลให้สุจริต เที่ยงธรรมของการเลือกตั้งผ่านนโยบาย ถ้าไม่ทำก็เกิดสภาพเหมือนกรณีจำนำข้าว”

รวมทั้ง เห็นว่า สิ่งสำคัญคือ ขณะนี้เมื่อไม่ใช่เงินบาท จึงไม่มีความจำเป็นเชื่อมต่อบล็อกเซน และบริษัทหน่วยงานที่เชื่อมต่อบล็อกเซนคือใคร ตรงนี้พรรคเพื่อไทยได้ชี้แจงหรือไม่ หากไม่ชี้แจงโครงการนี้ดำเนิการต่อไม่ได้ ดังนั้น การตอบว่า โครงการนี้ไม่ได้สัญญาว่าจะให้จึงเป็นคนละประเด็น แต่อยู่ที่ดำเนินการได้หรือไม่ มีความคุ้มค่าจริงหรือไม่ เงินจะมาตามนี้จริงหรือไม่ และถูกใช้ตามนี้จริงหรือไม่

อีกอย่างความเสี่ยงของโครงการนี้คือ เอาวัตถุอื่นที่กฎหมายไม่ได้รองรับมาสมมุติเป็นเงินตรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ กกต.ก็สามารถพิจารณาเงินหมื่นบาทของพรรคเพื่อไทยได้แล้ว และสิ่งที่เชื่อมไปที่บล็อเซนถ้าใม่ใช่เงินบาท เป็นเงินดิจิทัลหรือคูปอง แล้ว กกต.ไปอนุญาตให้สิ่งที่ไม่มีกฎหมายรับรองคุ้มครองไว้ให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เอามาใช้ได้อย่างไร

ดังนั้น เรื่องนี้ กกต.อย่าตอบพล่อยๆว่า ยังไม่เป็นเรื่องสัญญาว่าจะให้ ซึ่งเป็นการตอบไม่ตรงประเด็น แล้วหน่วยงานที่ดำเนินงานให้โครงการสมบูรณ์นั้นเป็นของรัฐหรือเอกชน ถ้าเป็นเอกชนจะเข้าข่ายว่าเป็นสัญญาว่าจะให้ และเป็นการซื้อเสียงโดยสัดส่วนของผู้ได้รับผลประโยชน์ตรงนี้

"พิจารณาจากตรงนี้ เมื่อพรรคเพื่อไทยชี้แจง โดย กกต.ต้องมีคำสั่งว่า เข้าข่ายสัญญาว่าจะให้ เข้าข่ายการซื้อเสียงโดยใช้งบประมาณของรัฐ รวมทั้งตรงไหน กกต.ไม่เข้าใจ ถ้าใช้งบประมาณของรัฐทั้งหมดไม่เป็นสัญญาว่าจะให้ ใช้หน่วยงานของรัฐทั้งหมดไม่เป็นสัญญาว่าจะให้"

นายนิติธร ย้ำว่า แต่ถ้าเข้าระบบบล็อกเซนโดยบริษัทที่เชื่อมข้อมูลกับบล็อกเซน บริษัทที่ทำข้อมูลเบื้องต้นในการกรอกข้อมูลเป็นใคร ข้อมูลตรงนี้ไปอยู่ที่ไหน ตรงนี้ถ้าเป็นเอกชนโครงการนี้ดำเนินการไม่ได้ ผิดกฎหมาย และจะเข้าข่ายสัญญาว่าจะให้ เพราะสัดส่วนของผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป แตกต่างกับสัดส่วนของผู้มีอายุ 16-17 ปีที่ได้รับแจกเงิน จึงเป็นสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม และขัด รธน.มาตรา 27 ที่รับรองการให้ทำได้ตามกฎหมายในเรื่องการเลือกปฏิบัติ เมื่อพิจารณาตรงนี้จึงเข้าข่ายในเรื่องการซื้อเสียง กกต.ต้องไปทำให้ถูกต้อง

ดังนั้น ตนจึงไม่เห็นตรงนี้เลย จึงบอกว่า นโยบายเศรษฐกิจจริงๆ คืออะไร สิ่งไหนจะสะท้อนในเรื่องผลผลิต พัฒนาศักยภาพของแรงงาน รายได้ของประเทส และความยั่งยืน ซึ่งไม่เห็นทุกพรรค แต่ที่วิจารณ์พรรคเพื่อไทย เพราะจะสร้างความฉิบหายให้มากกว่า เพราะมีความเสี่ยงสูง แล้วยังมีความขัดแย้งในข้อกฎหมายอยู่หลายข้อ

"กกต.พวกคุณอย่าบื้อ ทำงานออกมารับผิดชอบไม่เคยไหว ประเทศเสียเงินรอบนี้เบิกไปกว่า 6,000 ล้านบาท สิ่งที่บอกไม่มีนโยบายเศรษฐกิจชัดเจน แต่มีชุดบรรเทาทุกข์ มันจะเกิดปัญหาตามมามากมาย” นายนิติธร กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง