'ดร.ณัฎฐ์'​ มือกฎหมายมหาชนคนดัง ฟาดกลับผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล อย่าโชว์เหนือ จับไต๋ได้

ส่องผลโพลเดือด“ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง ฟาดกลับ “นพดล” ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล อย่าโชว์เหนือ จับไต๋ได้ การเก็บตัวอย่างประชากรทั่วประเทศไม่ครอบคลุม ทำให้แทนค่าสถิติคลาดเคลื่อน สรุปค่าไม่ได้

17 เม.ย. 2566-​จากกรณี ผศ.ดร.นพดล กรรณิการ์ ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล บริษัท ซูเปอร์โพล จำกัดออกมาตอบโต้ ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ“ดร.ณัฎฐ์”มือกฎหมายมหาชนคนดัง ถึงประเด็นการวิพากษ์วิจารณ์ ผลของการจัดทำโพลของซูเปอร์โพล เก็บตัวอย่างน้อยไปสรุปค่าไม่ได้ ส่งผลทำให้ความน่าเชื่อถือโพลน้อย ยังสรุปค่าไม่ได้ โดยนายนพดลฯได้อธิบายวิธีการจัดทำโพล ในลักษณะเชิงเสียดสี ในฐานคติลำเอียงและวิธีการจัดทำโพลของซูเปอร์โพล ผลโพลที่เผยแพร่และยกความแม่นยำของโพล
.
ล่าสุด ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง ออกมาสวนกลับทันควันว่า ต้องยอมรับว่า การจัดทำโพล เป็นการวิจัยในรูปแบบหนึ่ง เชิงวิชาการ หากทำวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ ตนยอมรับความเห็นต่างได้ ตนไม่เคยรู้จักสำนักโพลซูเปอร์โพลเอกชนรายนี้มาก่อน วิธีการจัดเก็บตัวอย่างวิจัยในทุกศาสตร์เหมือนกันหมด โดยเฉพาะบุคคลที่จบปริญญาเอก เขียนดุษฎีนิพนธ์ ต้องลงภาคสนามเก็บข้อมูลตัวอย่างงานวิจัย ผ่านร้อนผ่านหนาวมา คุณนพดล อาจไม่รู้ว่า ตนมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับค่าสถิติ ตัวเลขทางคณิตศาสตร์ เขียนกราฟ วิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ ทั้งเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาคได้ ไม่ใช่ว่า จะเชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนเพียงอย่างเดียว นักกฎหมายมหาชนมีความรู้เกี่ยวกับการการเขียนวิจัย ไม่เป็นเรื่องแปลก จะได้นำความรู้มาพัฒนาบ้านเมือง การเขียนวิจัย สุ่มเก็บตัวอย่างงานวิจัยทั้งวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณมันอยู่ในกระแสเลือด เหมือนกับกฎหมาย รู้ทันกลเม็ดวิธีการจัดทำโพลและตนมีประสบการณ์สะสมมากเพียงพอแน่นอน และที่ออกมาสับเละ ฐานคติต้องการให้ความรู้แก่ประชาชน ว่า จัดเก็บตัวอย่างทั่วประเทศไม่ครอบคลุม ไม่ถูกต้อง ไหนคุณนพดลฯเอาหลักฐานว่า โทรศัพท์สัมภาษณ์ประชาชนมาเผยแพร่ดูหน่อย โทรศัพท์หมายเลขอะไร สัมภาษณ์อย่างไร การสุ่มตัวอย่างประชากร เพศ อายุ อาชีพ ต้องเป็นการสุ่มทั่วไป คุณรู้ได้อย่างไร ประชาชนเหล่านั้นเข้าคูหา จะกาเบอร์ไหน จะเลือกใคร หากคุณไม่รู้จักมาก่อน เอาเบอร์โทรศัพท์มาจากไหน เอามาจากแก๊งค์คอลเซ็นต์เตอร์หรือไม่ อย่างไร ในทางปฎิบัติวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องไปสัมภาษณ์ด้วยตนเอง จับอากัปกิริยาของผู้ให้ข้อมูลด้วยว่า ข้อมูลที่ให้น่าเชื่อถือหรือไม่ อย่างไร และที่อ้างว่า เดินไปเคาะประตูบ้าน วิจัยเชิงปริมาณ ทีมงานไปเคาะประตู บ้านเลขที่เท่าไหร่ หมู่บ้านใด ตำบลใด อำเภอใด จังหวัดใด หรือว่า ประตูบ้านทิพย์ จังหวัดนั่งเทียน ในจำนวน 400 เขต ประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง จำนวน 165,226 คน แต่ไปถามกลุ่มตัวอย่างเฉลี่ยค่า 15 คนเศษ ผมถามพี่น้องประชาชนว่า มนุษย์สามารถแบ่งเศษคนเป็นจำนวนได้ด้วยหรืออย่างไร นักวิจัยประเภทนั่งเทียนเขียนวิเคราะห์ มีเยอะไป เพียงแต่ไม่มีคนทักท้วง ทำเป็นหมอดู หลับตา ปากยุบยิบ เหมือนพระสวดมนต์ ทำนายไปได้ การสุ่มตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างงานวิจัยจะต้องครอบคลุมให้สอดคล้องกับงานวิจัยที่ทำ โพลก็เช่นกัน คุณนพดล โต้เรื่องอื่นได้ แต่ประชากร 15.1825 ต่อเขตเลือกตั้งคิดฐาน 400 เขตทั่วประเทศ ทำไม คุณนพพลไม่เห็นตอบคำถามว่า 0.1825 คือ ค่าสถิติอะไร อย่าบอกนะว่า ประชากรเหมารวม ประชาชนจะหัวเราะเอา เพราะผลโพลซูเปอร์โพล วิจัยพื้นที่ 400 เขตเลือกตั้ง ขอบเขตราชอาณาจักรไทย คุณนพดลรู้ได้อย่างไรว่า ประชาชนเขาต้องการเลือกใคร พรรคการเมืองใด การวิจัยเชิงปริมาณ จะต้องจัดเก็บด้วย วิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก ไม่ใช่จำนวนน้อย เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ ในวิจัยเชิงคุณภาพจะต้องผ่านวัดค่า IOC และคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์หรือไม่ ไม่เห็นคุณนพดลฯบอกพี่น้องประชาชนเลย

ตนไม่ได้ล้ำเส้นใคร ไม่ได้เกินขอบเขตเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เพราะการวิจัยไม่ได้กำหนดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พี่น้องประชาชนเรียนจบสาขาอะไรก็ได้ หากมีความสนใจระเบียบวิจัย สามารถศึกษาลงรากลึกได้ และที่สำคัญ ตั้งเป็นบริษัททำโพล สร้างรายได้ แต่จะแม่นหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะผลโพล ถือเป็นการชี้นำพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะผลโพลทางการเมือง คะแนนนิยมพรรคนั้น พรรคนี้ หากจัดทำผลโพลลำเอียง ไม่เป็นไปตามหลักวิจัย หลักวิทยาศาสตร์ ค่าวิจัยของผลโพลจะคลาดเคลื่อน ในเมื่อตนมีความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย ต้องมาชี้ให้เห็นความไม่ถูกต้อง หรือว่าคุณนพดลฯรับความเห็นต่างไม่ได้กับนักวิชาการที่ออกมาท้วงติง ในเมื่อไม่ถูกต้อง คุณต้องน้อมรับ แล้วไปปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน แล้วแบบนี้ จะให้พี่น้องประชาชนเชื่อถือผลพลของซูเปอร์โพลได้อย่างไร ตนไม่เคยเห็นใครออกมาโต้แย้งโพล จะเห็นเลือกตั้งในครั้งนี้ พอตนกล้าออกมาพูด เห็นหลายคนออกมาพูดกันเยอะ ให้พี่น้องประชาชนลองไปค้นหาอ่านเอาเอง ส่วนโพลอื่น คะแนนนิยม ใครจะมานั่งนายรัฐมนตรี เป็นเพียงสีสันทางการเมือง เพราะสมาชิกวุฒิสภา 250 คนมีสิทธิโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ข้อกฎหมายมันล๊อคไว้แล้ว ส่วนของจริง ใครจะนั่งนายกรัฐมนตรีหลังเลือกตั้ง ตนเคยวิเคราะห์ไว้แล้ว ให้พี่น้องประชาชนไปหาอ่านเอาเอง เดี๋ยวจะหาว่า ไม่เป็นกลาง ฐานคติลำเอียง ขนาดให้ความรู้แก่ประชาชนนะเนี่ย ที่ตนออกมาพูดไม่ได้ไปรับกล้วยใคร ไม่ได้เอาใจใคร พูดในฐานะนักวิชาการ ที่ผ่านมา ฟันธงถูกแทบทุกเรื่อง ตนไม่รู้จักซูเปอร์โพล ไม่รู้จักนายนพดล ผู้ก่อตั้งเอแบคโพลหรือซูเปอร์โพล แล้วจะมีฐานอคติกับสำนักโพลแห่งนี้ได้อย่างไร หากคุณใจเป็นกลาง ยอมรับความเห็นต่างทางวิชาการ อย่ามาทำเป็นโชว์เหนือ นักวิจัยในประเทศไทยมีหลายสำนักโพล สามารถตรวจทาน ตรวจสอบดูได้ ว่า ตัวอย่างเพียงเท่านี้ ไม่สามารถสรุปค่าสถิติทางคณิตศาสตร์ ยังไม่ผ่านการทดสอบสมมติฐานและยังไม่สามารถสรุปผลค่าวิจัยใดๆได้ โดยเฉพาะผลโพลทำนายว่า พรรคเพื่อไทย ไม่แลนด์สไลด์ จนว่า เด็กๆทั่วไป ยังสามารถทำนายได้อย่างแม่นยำ ไม่ต้องทำโพล

ปัจจัยกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย อยู่ที่ปลายปากกาพี่น้องประชาชน อย่าให้ผลโพลเป็นเครื่องชี้นำ ประชาธิปไตยอยู่ที่มือของเรา มีสิทธิมีเสียงเท่ากันคนละหนึ่งเสียง จำนวนประชากรที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 53 ล้านกว่าคน อยากถามว่า เอาคนต่างด้าวไปคิดคำนวณด้วยหรือไม่ เพราะสถิติประชากร ที่มีสิทธิเลือกตั้งมีเพียง 52 ล้านกว่าคน ตามข้อมูลสถิติประชากร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยล่าสุด ให้พี่น้องประชาชนค้นหาข้อมูลกดเสริจหาทางกูเกิล แต่ซูเปอร์โพลทำวิจัย ระหว่างวันที่ 5-13 เมษายน 2566 แต่กลับไปอ้างอิง ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถามว่า เป็นข้อมูลล่าสุดหรือไม่ ตัวเลขประชากรให้นับถึงวันเลือกตั้ง จำนวนประชากรของกรมการปกครองกับซูเปอร์โพล มีจำนวนห่างกันถึงล้านกว่าคน เป็นไปได้อย่างไร เพียงแค่ประชากร ยังอ้างอิงไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลเฉพาะเขต จาก 400 เขต สุ่มเก็บตัวอย่างมา 15 ตัวอย่างต่อเขตเลือกตั้ง สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทีมงานคนไหนไปเคาะประตูบ้าน เกิดความสงสัยขึ้นมา แล้วประชากรแต่ละเขตเลือกตั้ง เป็นแสนกว่าคน วิจัยเชิงปริมาณ จะต้องเก็บตัวอย่างให้มากที่สุด ที่ตนตั้งคำถาม มันผิดตรงไหน การสุ่มตัวอย่างประชากรในการเขียนวิจัย สรุปค่าวิจัย ประชากรทั่วประเทศ เอามาเพียงน้อยนิดเนี่ยนะ จะมีน้ำหนักให้ใครเชื่อผลโพล เพราะยังวัดค่าไม่ได้ ไม่ผ่านผลการทดสอบสมมติฐาน ยังสรุปค่าไม่ได้ มันถูกหลักการทำวิจัยแล้วหรือไม่ อย่างไร ให้พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะปัญญาชน ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ทุกสาขา ที่เขียนวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ แสดงผลงานวิจัยนานาชาติ ตีพิมพ์ผลงานวิจัยหรือเขียนผลงานวิจัยเพื่อขอตำแหน่งทางวิชการ เขามองออกว่า การเก็บตัวอย่างข้อมูลวิจัย เชิงปริมาณ เพียง 6,073 ตัวอย่าง โดยวิจัยจำนวน 400 เขตเลือกตั้ง ทั่วประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างกลุ่มตัวอย่าง 15.1825 ตัวอย่าง หมายถึง ไปสอบถาม เขตละ 15 คน นายนพดล จะตอบพี่น้องประชาชน ค่าเฉลี่ย 0.1825 ได้อย่างไร ในเขตเลือกตั้ง กี่อำเภอ กี่ตำบล กี่หมู่บ้าน กี่ชุมชน จะเอาคำตอบประชาชนเพียง 15 คนมาเป็นคำตอบ วัดผลโพล ให้พี่น้องประชาชนชั่งน้ำหนักเอาเองว่า การจัดทำโพล เก็บตัวอย่าง ครอบคลุมหรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะประเด็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ การประมาณการ ยิ่งไปกันใหญ่เลย การสุ่มตัวอย่างแค่หยิบมือ ไม่สามารถสรุปค่าเฉลี่ย ไม่สามารถวัดค่าทางสถิติคณิตศาสตร์ใดๆได้ เรียกว่า ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ไม่ใช่หมอเดา

ตนต้องขอบคุณ คุณนพดลฯ ผู้ก่อตั้งสำนักซูเปอร์โพล ที่ชื่นชมตนว่า เป็นนักกฎหมายมหาชนที่เก่งคนหนึ่ง ตนไม่ได้สนใจคำชม แต่การเผยแพร่ความรู้กฎหมาย ไม่เกรงใจใคร ตรงไป ตรงมา เป็นการให้ความรู้แก่ประชาชน ประชาชนที่ขาดความรู้ จะได้เป็นที่พึ่งพา เพื่อเป็นทางออกของบ้านเมือง แทบทุกเรื่อง ตนไม่ได้มีส่วนได้เสีย แต่นำความรู้มาเผยแพร่ให้แก่ประชาชน เมื่อสื่อมาสัมภาษณ์ ก็จะต้องตอบคำถาม ที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เพื่อติดอาวุธทางปัญญา โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร อยู่ข้างประชาชน หากสำนักโพลซูเปอร์โพล เผยแพร่ผลโพล อาจเป็นข้อดี สำหรับพรรคการเมืองในการกระตุ้นให้หาเสียงให้เข้มข้นขึ้น แต่จะอ้างว่า สถิติที่ผ่านมาของซูเปอร์โพล แม่นอย่างนั้น แม่นอย่างนี้ ตรงนี้ ตนไม่ขอรับรอง ไม่ทราบ เพราะมีผลโดยตรงต่อธุรกิจรายได้ของซูเปอร์โพล เพราะเป็นบริษัทเอกชน ไม่เกี่ยวกับความเห็นทางวิชาการของตน ที่เป็นประโยชน์สาธารณะต้องแยกจากกัน ไม่เกี่ยวกัน ต้องมองถึงประโยชน์สาธารณะไม่ใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

ส่วนข้อความภาษาอังกฤษที่ระบุว่าแปลจากวิจัยเชิงคุณภาพ น่าจะเกิดจากพิมพ์ผิดพลาด เกิดจากการนำข้อมูลต้นฉบับของซูเปอร์โพลมาให้สัมภาษณ์ นักข่าวอาจเขียนคัดลอกมาจากต้นฉบับของซูเปอร์โพลจากสำนักข่าวต่างๆ ไม่ได้เกิดจากตน หากจะเขียนผิด มาจากแหล่งซูเปอร์โพล สามารถตรวจสอบได้ ตรงนี้ ตนไม่ติดใจ เพราะเป็นพลความ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ สาระสำคัญอยู่ที่ว่า 400 เขตเลือกตั้ง กับ 100 ปาร์ตี้ลิสต์ การเลือกตั้งปี 2566 ใช้ฐานประชากรทั่วประเทศ วิจัยเชิงปริมาณ เน้นสำรวจประชากรจำนวนมา ไม่ใช่สัดส่วนน้อยนิด การจัดเก็บตัวอย่างงานวิจัยเพื่อทำโพลสำรวจ ข้อมูลสุ่มตัวอย่างไม่เพียงพอ ให้ครอบคลุมรอบด้าน โดยเฉพาะกลุ่มประชากรทั่วประเทศ ตรงนี้ ตนติเพื่อก่อ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ได้เกิดก่อน หมายความว่าจะต้องรู้มากกว่า หรือว่าเหนือกว่า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดร.ณัฏฐ์ มองการเมืองไทยปี 68 'รัฐบาลอิ๊งค์' มีเสถียรภาพ อยู่ยาวถึงปี 70

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้การเมืองไทยปี 2568 “รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร” กุมเสียงข้างมาก รัฐบาลมีเสถียรภาพ แม้เจอโรครุมเร้า นักร้องเรียนรายวัน ยังไม่มีตัวแปรใดล้มรัฐบาล ฟันธง รัฐบาลอยู่ยาวถึงปี 2570

'ดร.ณัฏฐ์' ชี้เลือกตั้งอบจ.ระอุ! 'บ้านใหญ่' ยังขลัง-บางแห่งเสื่อมตามกาลเวลา

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ การเมืองท้องถิ่น อบจ. ระอุ บ้านใหญ่ยังขลัง แต่บางแห่งเสื่อมไปตามกาลเวลา ข้าราชการการเมือง ส.ส.ช่วยหาเสียงได้

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน  

‘อนุทิน’ ปลื้มโพลสะท้อน ปชช. ยก ‘มหาดไทย’ กระทรวง-รัฐมนตรี มีผลงานด้านสังคม

‘อนุทิน’ ขอบคุณประชาชนให้คะแนนมหาดไทยอันดับ 1 กระทรวงและรัฐมนตรีมีผลงานด้านสังคม เผยเป็นทั้งกำลังใจและแรงกระตุ้นให้ทำงานหนักขึ้นเพื่อประชาชนและประเทศชาติ

ดร.ณัฏฐ์ ชำแหละ 92 ปีรัฐธรรมนูญ วัฏจักรการแย่งชิงอำนาจ!

ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม ระบุครบรอบ 92 ปีวันรัฐธรรมนูญ ยังวนเวียนอยู่กับวัฏจักรการแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง มากกว่าคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

โพลจี้ตูด แก้ปัญหา 'ปากท้อง-ค่าครองชีพ' คลองหลอดขึ้นแท่นชาวบ้านตามข่าว

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจข่าวที่ปชช.สนใจ ยาเสพติดชายแดนมาอันดับแรก ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ปชช.สนใจติดตามข่าวมากที่สุด ด้านปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพแพง เรื่องสำคัญให้รัฐบาลแก้ปัญหาหลัก