11 เม.ย.2566 - นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีประกาศไม่ร่วมงานทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล ว่า สิ่งที่ไม่สบายใจที่จะร่วมงานกับ 2พรรคดังกล่าว เป็นเรื่องที่สังคมรับทราบชัดเจนว่าพรรคก้าวไกลประกาศนโยบาย แก้ไขมาตรา 112 และพรรคเพื่อไทยก็ไม่ได้แสดงจุดยืนว่าไม่เห็นชอบ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการที่นโยบายของพรรคการเมืองจะไปแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักรเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย และเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายในส่วนกฎหมายอาญาเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ
มาตราถัดไปคือมาตรา 113 คือเรื่องเกี่ยวกับคดีกบฏ กฎหมายเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปแตะต้อง หรือแก้ไข แต่พรรคก้าวไกลมีนโยบายเดินหน้าแก้ไข และสิ่งเหล่านี้หัวหน้าพรรคและ พปชร.แสดงความเห็นแล้วว่าไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และเห็นว่าต้องคงไว้รักษาไว้ในมาตรา 112 เพื่อจะทำให้สถาบันที่เป็นเรื่องหลักของความมั่นคงของประเทศดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ขณะที่พรรคเพื่อไทยไม่เคยมีความเห็นเรื่องนี้เลย และในอดีตเคยถูกกล่าวหาในลักษณะทำนองนี้ ดังนั้น การที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้แสดงจุดยืนอะไรออกมา ก็เป็นปัญหาแล้ว
นายไพบูลย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยยังมีกรณีออกนโยบาย ให้เงินในดิจิทัล วอลเลตคนละ 10,000 บาท ให้ประชาชนตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป ถือเป็นการเหวี่ยงแห 54 ล้านคน ถือเป็นการแจกเงิน สะท้อนวิธีคิดของพรรคเพื่อไทยและเมื่อโยงไปกับนโยบายเก่าๆ ของพรรคมักจะออกรูปแบบสุ่มเสี่ยงหรือทำให้เงินมีปัญหา และถ้าเป็นเช่นนั้นหากไปร่วมงานร่วมเป็นคณะรัฐมนตรีคงจะยุ่งไปกันใหญ่ไปไม่ได้
“พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคเห็นชอบก่อนที่ผมจะออกมาพูด และเรื่องนี้มีการดำเนินการเรื่องดังกล่าวมาหลายปีตลอดเวลาเราคัดค้านมาตลอด และมีความพยายามในชั้นของสภาที่ยังไม่เหมาะสม และยังลุกลามมาเป็นการเสนอนโยบายของพรรคการเมืองจึงถึงเวลา ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เพราะไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาถกเถียงกัน เป็นความพยายามที่ป้องกันบั่นทอน กัดเซาะให้เกิดความเสื่อมหรือมีปัญหาของสถาบัน มองว่าจงใจหรือมีจุดประสงค์หรือมีเจตนาดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาพูดคุยกัน จึงถือว่าเกินไปเรารับไม่ได้อย่างแน่นอน และพรรคก้าวไกลเป็นเจ้าของเรื่องส่วนพรรคเพื่อไทยเพิกเฉยไม่มีการแสดงอาการอะไรแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่นจึงอนุมานได้ว่าคนที่นิ่งคือไม่ได้แย้ง”นายไพบูลย์ ระบุ
เมื่อถามว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า มองเป็นความเห็นส่วนตัวที่เร็วเกินไป และบางคนอาจมองว่าสวนทางกับแนวทางก้าวข้ามความขัดแย้งของ พล.อ.ประวิตร นายไพบูลย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่หัวหน้าพรรคให้ความเห็นชอบแล้วตนจึงออกมาพูดได้ และเป็นคนละเรื่องกับเรื่องการก้าวข้ามความขัดแย้ง ที่พรรคยังคงยึดหลักดังกล่าว แต่ไม่ใช่ในลักษณะที่จะต้องไปร่วมรัฐบาลกับพรรคการเมืองที่เห็นนโยบายแล้วรับไม่ได้ จึงประกาศว่าไม่ร่วม และเพื่อให้เกิดความชัดเจน เพราะมีข่าวหรือว่ามีดีลลับว่า พปชร.จะจับมือกับพรรคเพื่อไทยและไกลไปถึงจะจับมือกับพรรคก้าวไกล จึงต้องทำให้เกิดความชัดเจนว่าจะไม่ร่วมกับพรรคที่มีนโยบายที่เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และย้ำว่าไม่ได้มีความขัดแย้ง โดยคนอื่นแล้วแต่การรับรู้แต่ส่วนตัวรับรู้มาจากหัวหน้าพรรค ซึ่งเห็นด้วย และเป็นผู้ที่ต้องมาเสนอต่อสังคมเพื่อให้เห็นชัดเจน ว่าจะไม่ร่วมงานกับทั้ง 2 พรรค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ณัฐวุฒิ’ แจงปมถูกตั้งเป็นที่ปรึกษาของนายกฯ อาจทำ ‘อิ๊งค์‘ ตกเก้าอี้
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีทั้งนักร้องและกลุ่ม
'ทักษิณ' ฟิตจัด ลุยช่วยหาเสียงนายก อบจ. 3 วัน 9 เวที พื้นที่ภาคอีสาน
สำหรับตารางการลงพื้นที่ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายกองค์การบริการส่วนจังหวัด (อบจ.) พรรคเพื่อไทย (พท.) ในพื้นที่ภาคอีสานช่วงเดือนม.ค.นี้
เพื่อไทยเปิดตัวบ้าน 'ม่วงศิริ' เข้าเป็นสมาชิกพรรค
ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ถ.วิภาวดีฯ พรรคพท.นำโดย น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย ฐานะแกนนำภาค กทม. นายจักรพงษ์ แสงมณี ที่ปรึกษานายกฯ นายพงษ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ รองหัวหน้าพร
เอาแล้ว 'อิ๊งค์' มีสิทธิ์หลุดเก้าอี้นายกฯ เซ่นตั้ง 'เลี้ยบ' นั่งรองประธานที่ปรึกษาของนายกฯ
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า “รัดแน่นกว่าเดิม”
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 43)
ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
'วิสุทธิ์' วอน สว. 80-90 เสียง หนุนร่างแก้รธน. ตัดอำนาจวุฒิสภาให้ประเทศเป็นปชต.
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์กรณีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น