'ดร.ณัฎฐ์' โต้ 'กูรูไพศาล' ปมอำนาจการยุบสภาฯ

“ดร.ณัฎฐ์” นักกฎหมายฯ สับแหลก “ไพศาล พืชมงคล” การตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี เหตุผลในการยุบสภาไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมกำหนด

13 มี.ค.2566 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม กฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณี นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า "จับตาดูวันอังคารที่ 14 มีนาคม จะมีการเสนอยุบสภาต่อคณะรัฐมนตรีหรือไม่ เรื่องการยุบสภาครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา" ว่าเท่าที่ติดตามข่าว นายไพศาล อ้างว่าเป็นกูรูกฎหมาย รู้ทุกเรื่อง ที่ไม่รู้คือ เรื่องของตัวเอง โพสต์ไปเรื่อง ทำให้ประชาชนสับสนในข้อเท็จจริงว่าเหตุผลในการยุบสภาตามรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี สามารถยุบสภาได้หรือไม่ ด้วยเหตุผลในการยุบสภาอย่างไร พระราชกฤษฎีกาจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือไม่ ตนไม่เข้าใจว่า นักข่าวจะหยิบประเด็นนี้มานำเสนอข่าวไปทำไม ทำให้ประชาชนผู้สนใจทางการเมือง สับสน ทำให้นักการเมืองที่กำลังจะลงสนามเกิดความกลัว

ทำไมนายไพศาล ไม่เสนอตัวลงสมัคร ส.ส.อยากรู้ว่าจะได้กี่คะแนน การให้ความเห็นทางกฎหมาย สามารถกระทำได้ หากเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองและประเทศชาติโดยรวม ผมไม่เคยรู้จักกับนายไพศาลมาก่อน แต่ติดตามจากข่าว ทำให้ต้องออกมาพูดให้ประชาชนตาสว่างและมุมมองกฎหมายมหาชน ซึ่งกลไกในระบบรัฐสภา และเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง รัฐธรรมนูญได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนไว้แล้ว หากไม่ได้บัญญัติไว้ มาตรา 5 วรรคสอง เมื่อไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญใช้บังคับแก่กรณีใด ให้การกระทำนั้นตามประเพณีการปกครองของประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าการยุบสภา เป็นเครื่องมือสำคัญ ใช้เป็นกลไกทางรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 103 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีองค์ประกอบทางกฎหมาย 6 ประการ ดังนี้ ดังนี้ 1)การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนั้นได้ ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีเสนอเท่านั้น 2)การยุสภาต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา 3)การยุบสภาจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียว 4)การยุบสภาจะมีได้เฉพาะก่อนสิ้นอายุสภาผู้แทนราษฎร 5)การยุบสภาทำให้สมาชิกสภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นลง รวมถึงคณะรัฐมนตรีด้วย 6)การยุบสภานำไปสู่การเลือกตั้งใหม่

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อไปว่า อำนาจในการยุบสภา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 103 วรรคหนึ่ง พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจ ในการยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่เป็นการทั่วไป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะต้องเสนอพระราชกฤษฎีกายุบสภาเท่านั้นถึงจะใช้พระราชอำนาจได้ การยุบสภาเป็นอำนาจนาจการตัดสินใจของพล.อ.ประยุทธ์ แต่เพียงผู้เดียว เป็นเงื่อนไขบังคับก่อน ไม่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรี เพราะผลทางกฎหมาย หากยุบสภา คณะรัฐมนตรีย่อมพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167(2)

ส่วนเครื่องมือทางกฎหมาย ฝ่ายบริหารจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกายุบสภา มีสถานะต่ำกว่าพระราชบัญญัติ โดยไม่ต้องขอมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ อีกประการหนึ่ง หากพล.อ.ประยุทธ์ฯ เลือกใช้ช่องทางโดยการแถลงข่าวด้วยวาจา โดยยุบสภาผู้แทนราษฎร ย่อมมีผลผูกพันตามกฎหมาย ส่งผลให้การยุบสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีพ้นทั้งคณะ แต่รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรักษาการต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ แต่มีข้อห้ามบางประการ

ตามที่นายไพศาล อ้างว่า การตราพระราชกฤษฎีกา คณะรัฐมนตรีจึงต้องมีมติ(เห็นชอบร่วมกัน)ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระบรมราชโองการให้ทรงตราพระราชกฤษฎีกา นายไพศาล นักกฎหมาย เข้าใจระดับชั้นของการของกฎหมายและกระบวนตรากฎหมายในระดับชั้นพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ การยุบสภาโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ไม่จำต้องผ่านเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพราะเป็นชั้นความลับ

จะให้เห็นภาพได้ชัดเจน กรณีร้อยเอกธรรมนัส พรมเผ่า อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงแรงงาน ถูกปลดจากตำแหน่งโดยนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 171 ไม่เห็นต้องไปขอคำปรึกษารัฐมนตรีรายใด ทั้งการยุบสภาไม่ใช่เป็นการตราพระราชกำหนดอันเนื่องความจำเป็นเร่งด่วน ภัยพิบัติของประเทศ ถือว่าเป็นกลไกลระบบรัฐสภา โดยรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับที่เขียนไว้ รวมถึงฉบับปัจจุบันนี้ด้วย

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่าส่วนเหตุผลในการยุบสภา ในรัฐธรรมนูญมาตรา 103 วรรคสอง หาได้มีบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติไว้ไม่ จึงต้องเป็นไปตามประเพณีการปกครองของประเทศไทย ตลอดจนถึงสภาวการณ์ของประเทศในบริบทขณะนั้น ตนจะยกตัวอย่างเหตุผลในการยุบสภาให้นายไพศาล และพี่น้องประชาชนเห็นให้ชัดแจ้ง จะได้ไม่สับสบในปัญหาข้อกฎหมาย

ยกตัวอย่าง 1)เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538ส มัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี อ้างเหตุผลในการยุบสภาเพราะเหตุขัดแย้งภายในรัฐบาล

2)เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 รัฐบาลสมัยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี อ้างเหตุผลในการยุบสภาเพราะปฎิบัติภารกิจตามเป้าหมายเสร็จแล้ว เหตุผลที่ยกตัวอย่างของนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะในครั้งหลัง ท่านใช้เหตุผลในการยุบสภาและวันยุบสภาใกล้ครบอายุรัฐบาล ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้

เท่าที่ตนติดตามข่าว เห็นนายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมายและนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต.และสมาชิกพรรคเสรีรวมไทย พยายามตีกินทางการเมือง ไม่ได้อยู่บนหลักการของกฎหมาย ทำให้สังคมสับสน ว่าเหตุผลในการยุบสภาไม่มีแล้ว ตกเป็นโมฆะ เวลานายไพศาลและนายสมชัย อ่านรัฐธรรมนูญ อ่านไม่ครบทุกมาตรา โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 175 เป็นพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย เป็นการยับยั้งอำนาจฝ่ายบริหาร เป็นกลไกระบบรัฐสภา เป็นกระบวนการกลั่นกรองก่อนลงนามพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์

"ถามกลับนายไพศาล และนายสมชั สมัยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ไม่เห็นใครไปคัดค้านเลยว่า เหตุผลในการยุบสภาตกเป็นโมฆะ เท่าที่ติดตามข่าว ผมเห็นมีเหตุผลเดียว คือ ดิสเครดิสทางการเมือง พรรคการเมืองที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปสังกัดเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ผมขอท้าดีเบตรัฐธรรมนูญประเด็นยุบสภากับเหตุผลในการยุบสภากับนายไพศาลและนายสมชัย มาพร้อมกันทั้งสองคนเลย ผมไม่เกี่ยง ทีวีช่องไหน วันเวลาใด ให้สื่อมวลชนและพี่น้องประชาชนช่วยแชร์ข่าวให้ถึงนายไพศาลและนายสมชัยด้วย ขอย้ำว่า เหตุผลในการยุบสภา รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติเหตุการณ์ไว้ พล.อ.ประยุทธ์ฯ นายกรัฐมนตรี สามารถอ้างเหตุผลในการยุบสภาตามบริบทสภาวการณ์ของประเทศในขณะนี้ได้"

นักกฎหมายผู้นี้ กล่าวด้วยว่าส่วนในกรณีนายไพศาล อ้างว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีแถลงต่อว่า การประชุมที่ผ่านมายังไม่มีการพิจารณาเรื่องยุบสภา เท่าที่ติดตามข่าว นักข่าวถามเรื่องวันยุบสภา นายวิษณุฯ ก็ตอบคำถามถูกต้องแล้ว เพราะการกำหนดวันยุบสภาและเหตุผลในการยุบสภา เป็นความลับและเป็นดุลพินิจของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่จำต้องเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ พูดภาษาชาวบ้าน คือ เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี โดยวันยุบสภาและเหตุผลในการยุบสภาไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพราะการยุบสภา มีผลทำให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสภาพตามมาตรา 170

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง