ปชป. ย้ำจุดยืนวันสตรีสากล ชูนโยบายสร้างความเท่าเทียม ลดการเลือกปฏิบัติ

"กก.บห.-ส.ส.หญิง ปชป." ร่วมย้ำจุดยืนวันสตรีสากล 8 มี.ค. “ตั๊น จิตภัสร์” ลั่นขับเคลื่อน “นโยบายผู้หญิง” เปิดโอกาสให้คุณแม่วัยใส กลับเข้าระบบการศึกษา เพื่อเป็นอนาคตของชาติต่อไป ด้าน”รัชดา”ผลักดันให้ผู้หญิงมีบทบาททางการเมืองลดความเหลื่อมล้ำ ชูยึดยุทธศาสตร์ ผู้หญิงสร้างเงิน สร้างคน สร้างอนาคตได้ “มาดามเดียร์” จ่อดัน ‘วันสตรีสากล’ เป็น ‘วันแห่งความเท่าเทียม’ ชี้การแบ่งแยกชาย-หญิง คือเหตุของอคติ ตอกย้ำ ปชป.สร้างโอกาสที่ทุกคนเท่ากัน ลดการเลือกปฏิบัติทุกมิติ

8 มี.ค.2566 - เมื่อเวลา 12.00 น. ที่อาคาร ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมท พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ น.ส.รัชดา ธนาดิเรกกก.บห.พรรค น.ส. จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะรองเลขาธิการพรรค น.ส.วทันยา บุนนาค (มาดามเดียร์) ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมือง กทม. ส.ส.และอดีตส.ส. รวมถึงว่าที่ผู้สมัครส.ส.หญิงของพรรค ร่วมแถลงจุดยืนของพรรคปชป.ในวันสตรีสากล 8 มีนาคม

น.ส.รัชดา กล่าวว่า พรรคมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนพลังของผู้หญิงให้เป็นพลังของสังคมไทย ที่มีส่วนร่วมโดยเฉพาะพรรคที่เป็นสถาบันการเมืองที่จะต้องเป็นจุดยืนส่งเสริมพลังของผู้หญิงให้เป็นพลังของสังคมในการพัฒนาประเทศ ตามแนวทางของพรรคปชป. ใต้ยุทธศาสตร์สร้างเงิน สร้างคน สร้างอนาคต ทั้งนี้ หากมีการกีดกันผู้หญิง จะทำให้เกิดปัญหาสังคมเพราพปัจจุบันสังคมไทย มีประชากรผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชายถึง1 ล้านคน พรรคจึงเน้นย้ำการเดินหน้าแก้ไขความไม่เสมอภาค กีดกัน การเลือกปฏิบัติ เร่งสร้างความเข้มแข็งให้ผู้หญิงมีความมั่นคงในชีวิต จึงต้องให้ผู้หญิงมีบทบาททางการเมือง เพราะไม่มีใครเข้าใจผู้หญิงเท่ากับผู้หญิงด้วยกันเอง จำเป็นต้องมีสะพานเชื่อมกับประชาชนในการกำหนดนโยบาย และมั่นใจว่า พรรคมีความพร้อม เพราะมีว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.หญิงที่โดดเด่นจากหลายวงการ และคณะทำงานที่ทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมมานานกว่า 10 ปี ล้วนส่งเสริมความเท่าเทียมของผู้หญิง และรวมไปถึงผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ ปชป.ยังเป็นสถาบันการเมืองที่ส่งเสริมการพัฒนาบทบาทผู้หญิงมานาน ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ เพื่อให้เข้าไปมีส่วนร่วมในระดับนโยบายของพรรคที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง เด็ก ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่พรรคผลักดันมีทั้งการพัฒนาคุณภาพเด็กเล็ก , ดูแลผู้สูงอายุ , ส่งเสริมสตรีให้เป็นผู้ประกอบการของชุมชน จังหวัด กระทั่งประเทศ , ส่งเสริมสถาบันครอบครัวโดยเฉพาะที่เปราะบาง

ขณะที่น.ส. จิตภัสร์ กล่าวถึง ปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นวัยเรียน หรือ ‘คุณแม่วัยใส’ ว่า ปัจจุบันแม้จะมีกฎหมายออกมารองรับ หากเกิดภาวะการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ซึ่งจะมีหน่วยงานและข้อกฎหมายออกมารองรับ ทั้งในเรื่องของการคงสถานะความเป็นแม่ และหากยังคงอยู่ในสถานะนักเรียน นักศึกษา จะมีหน่วยงานรองรับให้สามารถกลับเข้าเรียนศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างๆได้ และไม่ถูกตัดขาดหรือถูกตัดสิทธิ์ทางการศึกษา เช่นเดียวกับสถานะของความเป็นแม่ หากต้องการความช่วยเหลือ จะมีหน่วยงานเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ในเรื่องการเลี้ยงดูลูก หรือหากต้องการที่จะยุติการตั้งครรภ์ ก็สามารถทำได้โดยมีกฎหมายรองรับ

พรรคปชป. พยายามขับเคลื่อนมาโดยตลอด รวมถึงกระทรวงศึกษาธิการเอง ได้ออกกฎกระทรวงเพื่อช่วยให้นักเรียน นักศึกษา ที่เกิดภาวะตั้งครรภ์ในขณะที่ยังเรียนหนังสืออยู่ ให้สามารถกลับเข้าเรียนได้ โดยไม่ถูกกีดกันทางการศึกษา ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็มีสถิติให้เห็นว่ากฎกระทรวงที่ออกมาทำให้คุณแม่วัยใสหรือวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ ในช่วงระหว่างการเรียนสามารถกลับเข้าเรียนได้

“จากสถิติปี 2564 มีเด็กที่ตั้งครรภ์กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา อยู่ที่ 47.5% ซึ่งตัวเลขเพิ่มจากปี 2563 อยู่ที่ 28% ที่สำคัญคือ มีแนวโน้มว่าเด็กกลุ่มนี้ กลับเข้าเรียนในสถานศึกษาเดิม โดยไม่ได้รับความกดดัน เพราะในช่วงเวลาเดียวกัน ได้มีความพยายามทำความเข้าใจกับครอบครัวของเด็กหรือคุณแม่วัยใสที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมถึงมีการปรับทัศนคติของครูผู้สอน ให้พร้อมที่จะรับเด็กเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อให้คุณแม่วัยใสได้มีโอกาสกลับมาเรียนต่อ เพื่อเป็นอนาคตของชาติต่อไป ซึ่งก็สอดคล้องกับนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ว่า สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ยังถือว่าเป็นกำลังและอนาคตของประเทศต่อไป แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีอีกหลายครอบครัว หลายโรงเรียน และหลายพื้นที่ที่ยังไม่มีความเข้าใจหรือยังไม่ให้การยอมรับหรือไม่ให้โอกาสกลุ่มวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมากนัก ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ จะเดินหน้าช่วยกันเปิดโอกาสให้กับคนกลุ่มนี้ และจะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับครอบครัวของเด็ก รวมถึงสถานศึกษาที่เด็กจะกลับเข้าเรียนด้วย” น.ส.จิตภัสร กล่าว

ด้านน.ส.วทันยา กล่าวว่า เราทุกคนต่างเป็นเหยื่อของระบบปิตาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย จะถูกความคาดหวังในสังคมกำหนดบทบาทตามเพศกำเนิด และกลายมาเป็นอุปสรรคในการทำงานหลายอย่าง ตนก็เจอกับอคติทางเพศเหล่านี้ทั้งในการทำงานด้านกีฬา และการเมือง ทั้งนี้ ยืนยันว่า การแบ่งเพศเป็นแค่ชายหญิง เหมือนในกฎหมายไทยก็ยังเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีทั้งคนที่มีสองเพศ (Intersex) และการนิยามความหลากหลายทางเพศ (LGBTQINA+) จึงเป็นเหตุให้ตนโหวตสวนมติของรัฐบาล เพื่อรับหลักการของทั้งร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม และคู่ชีวิต เพราะกฎหมายต้องปรับให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมและยุคสมัย เพื่อเอื้อให้คนที่อยู่ภายใต้กฎหมายได้รับสิทธิและเสรีภาพสูงสุด เพราะยึดหลักว่า ทุกคนคือคนเท่ากัน มีสิทธิที่จะทำอะไร หรือเป็นอะไรก็ได้ ตราบใดที่ไม่ละเมิดสิทธิของคนอื่น

“เราทุกคนควรมีสิทธิที่จะได้รัก เราทุกคนควรมีสิทธิที่จะสร้างครอบครัว เราทุกคนควรมีสิทธิที่จะได้เป็นตัวเอง เลือกแนวทางของตัวเอง ได้อย่างมีเกียรติและสมศักดิ์ศรี ภายใต้การรับรองดูแลของกฎหมาย อย่างไม่แบ่งแยก หรือเลือกปฏิบัติ เราควรเลิกเอาค่านิยมที่สังคมสร้างขึ้น ความคิดแบบปิตาธิปไตย ความคิดแบบทวิลักษณ์คือระบบสองเพศ มากดทับ ปิดกั้นศักยภาพของเราทุกคน ขอให้เราปลดปล่อยพันธนาการภายใต้กรอบการมองเพียงแค่เพศ เดียร์อยากให้ลดอคติที่เกิดจากความแตกต่างด้านอื่นด้วย เช่น ความหลากหลายทางเพศ, ความหลากหลายชาติพันธุ์และแรงงานต่างชาติ, ความแตกต่างทางชนชั้นในสังคม, ความแตกต่างเรื่องของวัยวุฒิและคุณวุฒิ, ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ หรือแม้กระทั่ง ความหลากหลายอุดมการณ์ทางการเมือง ทั้งนี้ รัฐต้องทำนโยบายหรือกฎหมายสร้างสังคมที่โอบรับทุกคน ทุกกลุ่ม ลดอคติและการเลือกปฏิบัติได้อย่างชัดเจน เปิดกว้างสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนทุกกลุ่ม ทุกความแตกต่าง รวมถึงกฎหมายหรือนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมเหล่านี้ เดียร์เชื่อว่า ‘คนเท่ากัน’ และพรรคประชาธิปัตย์จะสร้าง ‘โอกาสที่ทุกคนเท่ากัน’ ขอให้วันสตรีสากล คือจุดเริ่มต้นของวันเท่าเทียมในทุกมิติค่ะ” น.ส.วทันยา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตอกยํ้าดีลฮ่องกง ลิ่วล้อแจงแทนนาย ‘พรรคส้ม’ ยากเป็นรัฐบาล

ตอกย้ำดีลฮ่องกงเหลว! "ณัฐวุฒิ" ขยายความ "ทักษิณ" คุย "ธนาธร" แค่เล่าชะตากรรม ไม่มีการพาดพิง ม.112 กับก้าวไกล เผยตั้งแต่โหวต "พิธา"

'พิธา' คุยพรรคประชาชนแข่งเลือกตั้งมีแต่ชนะกับพัฒนา ไม่มีคำว่าแพ้

ที่จ.อุดรธานี แกนนำ สส. และผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน ร่วมเวทีปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก องค์การ​บริหาร​ส่วน​จังหวัด​ (อบจ.)​ อุดรธานี ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 พ.ย. 2567 ซึ่งพรรคประชาชนได้ส่ง คณิศร ขุริรัง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก

'ทักษิณ' คุยเลือกตั้งครั้งหน้า 'เพื่อไทย' กวาด สส. ไม่ต่ำกว่า 200 ที่นั่ง

"ทักษิณ" ประกาศถ้าเจอพ่อค้าเสพติดช่วยบอกว่าทักษิณกลับมาแล้ว ยัน รัฐบาลนี้อยู่ครบเทอม ชวนคนเสื้อแดงสีตกใส่กลับมา โว คราวหน้า ไม่มีแพ้ ไม่ต่ำกว่า 200 เสียง พร้อม เสนอตัวเอง ใช้สมองช่วยประเทศฟื้นจากความลำบาก

เด็ก ปชป.ซัดขาประจำวิจารณ์พรรคหัดคิดบวกอย่าทำตัวเป็นมลพิษไปวันๆ

'ศักดิ์สิทธิ์' เตือนขาประจำวิจารณ์ ปชป. เปิดใจ คิดบวกมองเรื่องสร้างสรรค์ อย่าเป็นตัวมลพิษทำลายสุขภาวะบ้านเมือง

'ธนกร' จี้ กกต. คุมเข้มเลือกตั้งนายก อบจ. ปูด 'เมืองคอน' เริ่มซื้อเสียง

'ธนกร' จี้ กกต. คุมเข้มหาเสียงเลือกตั้ง อบจ. หลายจังหวัด แนะทำงานเชิงรุก จับตา 'เมืองคอน' สู้ดุเดือด ชาวบ้านแจ้งเรียกเก็บบัตรประชาชนหลายพื้นที่ ขอตรวจสอบเข้มโปร่งใส