'วิษณุ' ยัน กกต.มีแผนรองรับคำตัดสินศาล รธน. 3 มี.ค.ไว้หมดแล้ว

วิษณุชี้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปมแบ่งเขต กกต. 3 มี.ค.ถือว่าเร็ว เชื่อไม่กระทบไทม์ไลน์ลต. ยัน 7 พ.ค.เหมาะแล้ว แนะข้าราชการวางตัวปกติช่วงรัฐบาลรักษาการ

22 ก.พ.2566 - นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)เกี่ยวกับการคำนวณสัดส่วนประชากรต่อการแบ่งเขตเลือกตั้ง จะนับรวมคนต่างด้าวด้วยหรือไม่ โดยนัดอภิปรายหารือ และลงมติวันที่ 3 มี.ค.ถือว่าช้าหรือไม่ ว่า หากศาลรัฐธรรมนูญ สามารถชี้ขาดได้ในวันที่ 3 มี.ค.นี้ ถือว่าเร็ว แต่ไม่ทราบว่าสามารถชี้ขาดได้เลยหรือไม่

ผู้สื่อข่าวถามย้ำหากเป็นไปตามกระแสข่าวออกมาที่ระบุว่าศาลจะลงมติในวันที่ 3 มี.ค.นี้ นายวิษณุ กล่าวว่า ก็ได้ยินเช่นนั้น หากเป็นไปตามนั้นจริง ถือว่าเป็นการดี ส่วนจะกระทบไทม์ไลน์เลือกตั้งหรือไม่ยังไม่รู้ เพราะยังไม่รู้ว่าคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไร จึงตอบไม่ถูก อยู่ที่ว่าคำวินิจฉัยออกมาอย่างไร และจากการหารือกับ กกต.ทราบว่าได้เตรียมแผนไว้ทุกรูปแบบ หากคำวินิจฉัยระบุว่าให้นับคนที่ไม่มีสัญชาติไทยรวมด้วยนั้นถูกต้องแล้ว กกต.ก็เดินแผนหนึ่ง ถ้าไม่ถูกก็เดินอีกแผนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดอยู่ในกรอบเวลาที่คิดไว้

ผู้สื่อข่าวถามว่ากรอบเวลาวันเลือกตั้ง ยังเป็นวันที่ 7 พ.ค.นี้นายวิษณุ กล่าวว่า แนวโน้มเป็นอย่างนั้น ส่วนที่นายกฯระบุวันที่ 7 พ.ค.นี้ ไม่ได้ยืนยันเองเพราะนายกฯ ไม่มีสิทธิ์ แต่เป็นการพูดตามที่ กกต.ที่พูดไว้ และดูว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุด เหมือนที่เคยอธิบายไว้ว่าการเลือกตั้งต้องเป็นวันอาทิตย์ ห่างจากวันยุบสภาไม่เกิน 60 วัน เร็วเกินไปไม่ได้ และช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือกว่า 50 วัน จะตกวันที่ 7 พ.ค.นี้ ไม่ว่าจะยุบสภาวันใดก็ตาม แต่หากจะให้เร็วกว่าวันที่ 7 พ.ค.ก็จะไปตรงกับวันที่ 30 เม.ย.ซึ่งก็ทำได้ แต่อาจจะมีเสียงโอดครวญว่าเหลือเวลาหาเสียงได้สั้นลง ส่วน ส.ส.ที่เตรียมการย้ายพรรค เวลานี้ยังทำได้เพราะการสังกัดพรรคใหม่ในกรณีที่ยุบสภา กำหนดว่าต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 30 วัน นับจนถึงวันเลือกตั้ง

เมื่อถามว่าหากศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย วันที่ 3 มี.ค.จะสามารถยุบสภาได้ทันที หรือไม่นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่แน่ใจ อยู่ที่นายกฯ ซึ่งนายกฯ เปรยว่าจะคุยกับพรรครัฐบาล โดยจะเป็นการหารือภายใน เพราะสาเหตุการยุบไม่ใช่เพราะรัฐบาลขัดแย้งกับสภา ไม่ใช่คุยในคณะรัฐมนตรี จึงมีเวลาคิดกันได้ และการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภา เป็นพระราชกฤษฎีกาเดียวที่ออกโดยไม่ต้องนำเข้าครม.

ผู้สื่อข่าวถามว่าในช่วงรัฐบาลรักษาการ มีข้อกังวลว่าการทำงานของข้าราชการจะสะดุด หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ข้าราชการต้องทำงานตามปกติเพราะไม่เกี่ยวอะไรกับใคร จะเลือกตั้งใหม่ หรือตั้งรัฐบาลใหม่ไม่เกี่ยวกับข้าราชการประจำ ยังต้องทำงานตามปกติ แต่ที่ต้องเตือน คือข้าราชการการเมือง

เมื่อถามถึงการทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รักษาการ จะไปนับรวมการดำรงตำแหน่งนายกฯ 8 ปี หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ธรรมนูญกำหนดไว้ว่าการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของนายกรัฐมนตรี ไม่นับรวมถึงระยะเวลารักษาการ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง

ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง

'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา

มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ

สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร  ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก

ดร.เสรี หวังศาลเป็นที่พึ่งปชช. ลุ้น 22 พ.ย. รับไม่รับคำร้อง ‘ทักษิณ-เพื่อไทย’ ล้มล้างฯ

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถูกสงสัยว่าป่วยทิพย์ ณ ห้อง VVIP ชั้น 14 โรงพ

'ธนกร' ชี้หลัง 22 พ.ย.ประเทศก็ยังเดินหน้าต่อ!

'ธนกร' มองทุกคดีศาล รธน.ยึดตามหลักกฎหมาย เชื่อการเมืองหลัง 22 พ.ย.นี้ประเทศต้องเดินหน้าต่อ ขอทุกฝ่ายอย่าคาดเดาจนอาจก้าวล่วงอำนาจ ฝากรัฐบาลเร่งทำผลงาน