รายงาน'กมธ.' ชำแหละ 'เนื้อหาอันตราย' สอดไส้ทำประชามติ

แฟ้มภาพ

วุฒิสภา นัดพิจารณารายงานก่อนโหวต ญัตติเสนอ ครม.ทำประชามติ ยกร่างรธน.ใหม่ 21ก.พ.นี้ “สมชาย” เผยรายงานกมธ.ไม่ชี้นำการโหวต แต่พบเนื้อหาไม่ชัด ห่วงกระทบการปกครอง

19 ก.พ.2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมวุฒิสภา วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ซึ่ง คณะกรรมาธิการกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ได้มีมติให้บรรจุเรื่อง การพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบผลการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรในญัตติขอให้สภามีมติส่งเรื่องที่มีเหตุสมควรจะให้มีการออกเสียงประชามติให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการ ทั้งนี้ก่อนการลงมติดังกล่าว ที่ประชุมวุฒิสภา จะต้องพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญพิจารณาญัตติดังกล่าว ที่มีนายสมชาย แสวงการ ส.ว. เป็นประธานกมธ.ก่อน

โดยสาระสำคัญของรายงานกมธ.ฯ ที่เตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภา ซึ่งระบุไว้ในส่วนของบทสรุปผู้บริหาร ระบุว่า ตามที่สภาฯ พิจารณาและลงมติเห็นชอบกับญัตติที่มีสาระให้ส่งเรื่องต่อครม. เพื่อดำเนินกาารตามที่สภาฯ มีมติในการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับความเห็นของประชาชนต่อการจัดการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมคำถามประชามติแนบท้าย คือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ แทนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน” นั้น จากการศึกษาของกมธ.  พบจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือการทำประชามติเพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ซึ่่งกรณีดังกล่าวอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรรัฐ กระทบต่อหน้าที่และอำนาจขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงอัตลักษณ์สำคัญของชาติ และคุณค่าร่วมกันของสังคมไทยที่พึงปกป้องรักษาไว้

การศึกษาของกมธ.ได้กำหนดกรอบการพิจารณา และสรุปผลศึกษาได้คือ 1.พิจารณาเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เห็นว่าการพิจารณาความเหมาะสมของรัฐธรรมนูญ สิ่งสำคัญคือเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ หากมีประเด็นที่ควรแก้ไข สามารถใช้วิธีแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสม ไม่ต้องจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นอกจากนั้นในเหตุผลที่เสนอต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะมีที่มาจากการรัฐประหาร ไม่ถือเป็นเหตุผลอันสมควรที่จำจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ส่วนประเด็นคำถามประชามติที่ไม่ได้ระบุขอบเขตจัดทำไว้ชัดเจนเพียงพอ อาจกระทบหลักการปกครอง  โดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว รวมถึงโครงสร้างสถาบันทางการเมือง ความมั่นคงของรัฐ สิทธิเสรีภาพของประชาชน การตรวจสอบถ่วงอุลการใช้อำนาจรัฐ ขณะที่กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญต้องกำหนดความชัดเจนที่เป็นหลักประกันว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่สามารถตอบสนองความต้องการสังคมและประเทศ รวมถึงสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน

2.ประเด็นญัตติและคำถามประชามติ กมธ.เห็นว่าญัตติด่วนของสภาฯ อาจขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564ที่กำหนดให้อำนาจรัฐสภาเป็นผู้มีหน้าที่และอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับ ส.ส.ร. ดังนั้นการออกเสียงประชามติจึงปรากฏองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนด

“ญัตติของสภาฯ ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเสนอให้ ครม. พิจารณาให้มีการออกเสียงประชามติ เนื่องจากเป็นการตั้งคำถาม ที่ไม่มีสาระซึ่งแสดงถึงความบกพร่องในเนื้อหา เหตุจำเป็นวิธีการทำรัฐธรรมนูญใหม่แทนแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับเดิม ขณะที่แนวทางจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ชัดเจนเพียงพอให้ประชาชนเข้าใจเนื้อหาสำคัญได้โดยสะดวก” รายงานของกมธ.ระบุ

3.ประเด็นการออกเสียงประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งทั่วไป กมธ.เห็นว่า แม้กฎหมายไม่มีข้อห้าม แต่เมื่อพิจารณาถึงระยะเวลาและสถานการณ์ปัจจุบัน โอกาสเกิดขึ้นจึงเป็นไปได้น้อย เพราะตามขั้นตอนกฎหมายเจ้าหน้าที่ที่จัดการเลือกตั้งและออกเสียงประชามติต้องเป็นไปตามกฎหมายที่แตกต่างกัน

4.ประเด็นผลกระทบและการดำเนินการภายหลังออกเสียงประชามติ กมธ. ระบุว่าการออกเสียงประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ต้องมีการรออกเสียงประชามติไม่น้อยกว่า2 ครั้ง ต้องใช้งบรวมกันไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท  หากประชานเห็นชอบกับคำถามประชามติ ต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยกร่างรัฐธรรมนูญอีกไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท  ดังนั้นเป็นจึงเป็นภาระทางงบประมาณแผ่นดินที่มาจากเงินภาษีประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากมธ.มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะประกอบการพิจารณาของวุฒิสภา  อีกว่า ญัตติขอให้ทำประชามติ ขาดสาระสำคัญชัดเจนเพียงพอต่อเรื่องที่จะขอทำประชามติ, คำถามประชามติมุ่งหมายถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปัจจุบัน โดยส.ส.ร. ก่อให้เกิดการตีความหลายนัย เช่น องค์ประกอบของส.ส.ร. อำนาจ หน้าที่ หรือ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง  ทั้งที่การเลือกตั้งไม่ทราบวิธีที่ชัดเจน, คำถามประชามติเกี่ยวกับการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้นซับซ้อนและต้องทำความเข้าใจจำนวนมาก หน่วยงานจึงควรมีเวลาเพียงพอต่อการทำความเข้าใจ


ทั้งนี้นายสมชาย ให้สัมภาษณ์ ยืนยันว่าการศึกษาของกมธ. ไม่มีการชี้นำต่อการลงมติของส.ว. ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นี้ อีกทั้งยืนยันว่าการศึกษาของกมธ. เป็นการศึกษาทางวิชาการที่ศึกษาแล้วอย่างรอบด้าน  ที่เป็นกลาง และพร้อมที่จะให้ทุกหน่วยงานนำไปพิจารณาประกอบกับการจัดทำรัฐธรรมนูญในอนาคต. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม. ไฟเขียว 'กม.กาสิโน' สั่งกฤษฎีกาดูข้อห่วงใย ก่อนส่งสภา

ที่ประชุม ครม. เห็นชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

'ประมงพื้นบ้าน' ตบหน้าสภาไทย เปิดเตาปิ้งปลาล็อตสุดท้ายถามหาหัวขโมย

ประมงพื้นบ้านทั่วประเทศ 22 จังหวัด พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย  จ่อยื่นหนังสือ ทบทวนรกฎหมายประมงฉบับใหม่ พร้อมทำกิจกรรมใครขโมยปลาปิ้งหน้าสภา

รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?

ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา

'ครูหยุย' แนะรัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ เป็นของขวัญวันเด็ก แทนให้คำขวัญ

'ครูหยุย' แนะรัฐบาลเปลี่ยนจากให้คำขวัญวันเด็ก เป็นมอบของขวัญที่มีค่า ประกาศเจตนารมณ์ 'ไม่โกง-ซื่อสัตย์สุจริต-ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ลวงเด็ก'

'ธนกร' ค้าน 'ปชน.' แก้รธน.สุดซอย เตือนระวังโดนฟ้อง 157 ผิดกราวรูด

'ธนกร' ปักธงค้าน 'ปชน.' ชงแก้มาตรา 256 ชี้ตัดอำนาจ สว. ชัดขัดเจตนารมณ์ รธน. ทำเสียสมดุล 2 สภา หนักข้อสุดซอยเอื้อมแตะหมวด 1-2 พ่วงอำนาจองค์กรอิสระ เตือนระวังถูกฟ้อง 157 เจอผิดกราวรูด