รัฐสภา ถก กม.คุมสื่อ ฝ่านค้านชี้จำกัดสิทธิเสรีภาพ ด้าน "เท่าพิภพ" ส.ส.ก้าวไกล ระบุนักข่าวจะทำงานมีประสิทธิภาพ ปากท้องและสวัสดิการต้องสมเหตุสมผล
7 ก.พ.2566 - เวลา 12.45 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภา นัดพิเศษ ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ... ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ ในวาระแรก สำหรับสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมสื่อฯ คือ ให้มีสภาผู้ประกอบการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนระดับชาติ ทำหน้าที่กำกับดูแลกันเองของผู้ประกอบการและผู้ประกอบวิชาชีพ ทั้งยังรับรองให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีเสรีภาพเสนอข่าวหรือแสดงความเห็นแต่ต้องไม่ขัดหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโดยเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น ทั้งนี้ยังกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐสามารถปฏิเสธการปฏิบัติตามคำสั่งที่มีผลเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมสื่อฯ โดยไม่ถือว่าขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่การใช้สิทธิต้องคำนึงถึงภารกิจหน่วยงานที่สังกัด เป็นต้น
โดยส.ส.ฝ่ายค้าน อภิปรายไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะไม่ได้ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นอย่างถี่ถ้วน และพบว่าตลอด 16 วันที่เปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย ก็มีแค่ 1 คนที่มาแสดงความเห็น
นอกจากนี้ยังมองว่ากฎหมายฉบับนี้วางโครงสร้างและกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมการทำหน้าที่ และจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ในการนำเสนอข้อมูลตามสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงการแสดงความกังวลต่อการตีความประเด็นจริยธรรมสื่อ เพราะไม่มีมาตรฐานในการวัดที่ชัดเจน
ด้านนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย (พท.) อภิปรายว่า เป็นเรื่องตกยุคล้าสมัย และเป็นภาพลวงตา สื่อในฐานะฐานันดรที่ 4 ของสังคม มีหน้าที่เสนอข้อเท็จจริงหรือตรวจสอบข้อมูลให้สังคมได้รับรู้ แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ผิดฝาผิดตัว เพราะมีเรื่องจริยธรรมที่วัดกันยาก ตอนนี้มีกฎหมายควบคุมสื่อมวลชน 30 กว่าฉบับ ทำให้สื่อถูกดำเนินคดีไม่หวาดไม่ไหว กฎหมายนี้ออกมาควบคุมสื่อที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐโดยเฉพาะ ตามหลักนานาชาติวิเคราะห์ถึงการกำกับดูแลสื่อ ไว้ 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 การตั้งองค์กรดูแลตัวเอง ประเภทที่ 2 การกำกับดูแลร่วมกับรัฐ และ กฎหมายฉบับนี้อยู่ประเภทที่ 3 ที่ถูกควบคุมโดยรัฐ เพราะมีการบังคับ และทำเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการ เหมือนกับประเทศ ลาว เวียดนาม และจีน แล้วเราจะล้าหลังถึงขนาดนี้หรือ เหตุการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม ที่นายกฯ ไปให้การสนับสนุนพูดออกอากาศบอกว่าช่องทีวีช่องหนึ่งนั้นดี สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดการเลือกข้างและแตกแยกหรือไม่ เพราะถ้าปล่อยให้กฎหมายนี้ออกไปจะทำให้มีการดำเนินการกับสื่อที่อยู่ตรงข้ามหรือไม่เชียร์ท่าน ทั้งที่ ควรจะให้สื่อมีสิทธิเสรีภาพ และนำเสนอข้อมูลหลายด้าน การเมืองตอนนี้เรารู้อยู่แล้วว่าจะมีเลือกตั้ง ดังนั้นท่านอย่ามาเอาเปรียบให้สื่อมาเชียร์ท่านอย่างเดียว
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล (ก.ก.) อภิปรายว่า เมื่อสักครู่ตนเดินลงไปหาพี่น้องสื่อมวลชนรัฐสภา ตนจึงจะขอสะท้อนเสียงจากใต้ภุนสภาฯ จากการพูดคุย 30 นาที ได้ข้อมูลมากกว่าที่กฤษฎีกาไปฟังมา 1 คน จริยธรรมสามารถตีความได้หลากหลาย เป็นเรื่องแปลกที่คนคาดหวังจากสื่อมาก แต่ไม่มีใครทำหน้าที่เป็นปากเสียงให้สื่อเลย ทุกคนรู้หรือไม่ว่า หลายครั้งที่ไปทำข่าว โดยเฉพาะข่าวการชุมนุม สื่อไม่กล้าห้อยป้ายว่าอยู่สำนักไหน แม้ว่าเขาอาจจะสนับสนุนการชุมนุม แต่ต้นสังกัดของเขาอยากได้อีกแบบหนึ่ง จึงอยากให้ประชาชนเข้าใจ เพราะสื่อมีหมด ทั้งสื่อซ้าย สื่อขวา สื่อกลาง สื่อเสี้ยม สื่อตบทรัพย์ ซึ่งคิดว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีน่าจะเข้าใจในคำนี้ ไม่ว่าจะเป็นสื่ออย่างไรก็ไม่ควรควบคุมเขา เพราะสังคมประชาธิปไตยมีฟรีสปีช
เรื่องที่สำคัญกว่านี้คือเรามามองปัญหาให้ชัดเจน งานนักข่าวลำบากมาก เงินเดือนน้อย โอทีไม่มี สวัสดิการให้ไปสมัครประกันสังคมเองเอง ไม่มีวันทำงานที่ชัดเจน จนทำให้เกิดข่าวเศร้าเหมือนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา บางที่ทำงาน 5 ปี เงินเดือนขึ้นมา 500 บาท ถูกไม่ให้ตั้งสหภาพ เพื่อไม่ให้เรียกร้อง เมื่อปากท้องไม่ดี จริยธรรมไม่เกิด การจะทำให้นักข่าวทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปากท้องและสวัสดิการต้องสมเหตุสมผล
“เมื่อสื่อดีขึ้น ประเทศไทยจะมีอนาคต ทุกคนจะได้รับรู้ความเห็นที่แท้จริง และถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนนำไปคิดต่อว่า จะตัดสินเหตุการณ์นั้นอย่างไร จนอาจจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ดังนั้น เมื่อร่างพ.ร.บ.นี้ไม่มีเรื่องที่ผมพูดมา ผมและพรรค ก.ก. จึงไม่สามารถเห็นชอบกับร่างกฎหมายฉบับนี้ได้” นายเท่าพิภพ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เฉลย! อภิปรายตี 5 ไม่สนสี่สนห้า ใครบ้างที่เดือดร้อน
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อภิปรายตีห้า ใครท่าจะเดือดร้อน
รัฐสภา มีมติ 304 เสียง เห็นชอบส่ง 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ตีความแก้รธน.
ที่ประชุมรัฐสภามีมติเสียงข้างมากเห็นชอบ จากจำนวนสมาชิกที่แสดงตนทั้งหมด 579 คน เห็นชอบ 304 เสียง
เปิดผลโหวต รัฐสภาตีตกร่างกฎหมาย ป.ป.ช. โอนคดีทุจริตกองทัพไปศาลพลเรือน
ผู้สื่อข่าวรายงานผลการลงมติที่ประชุมรัฐสภา มีมติเสียงข้างมาก 415 เสียง ตีตกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่. ... พ.ศ. ...) ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
'วิสุทธิ์' เผย 'ภูมิใจไทย' ไม่ขัดข้อง ญัตติด่วนยื่นศาลตีความแก้ รธน.
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 17 มี.ค.
'รทสช.' มีมติหนุนส่งศาลตีความ ปมอำนาจสภาแก้รธน.
'รทสช.' มีมติเห็นชอบส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ปมอำนาจสภาแก้รัฐธรรมนูญ ย้ำเรื่องใหญ่ ทำประชามติใช้งบ 4 พันล้าน จำเป็นต้องรอบคอบชัดเจน
'ภูมิธรรม' โต้หลังถูกวิจารณ์เลือกสื่อสั่งได้ไปดูชีวิตชาวอุยกูร์
'ภูมิธรรม' โต้หลังถูกวิจารณ์จิ้มสื่อบินไปจีน ติดตามชาวอุยกูร์ แจงคัดเลือกจากทุกแพลตฟอร์ม ขออย่าดูถูกสื่อ ให้รอดูผลลัพธ์